คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2548 (ครั้งที่ 101) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ รับทราบการออกพันธบัตรและจะดูแลให้มีการบริหารสภาพคล่องของกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง เพื่อให้กองทุนฯ สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
2. คณะกรรมการฯ จะบริหารรายรับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับภาระจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นของพันธบัตรในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจะบริหารรายจ่ายโดยให้มีการประกาศแจ้งแผนการใช้จ่ายเงินของกองทุนล่วงหน้าเป็นเวลา 5 ปี เพื่อให้ทราบล่วงหน้าว่ากองทุนจะมีเงินคงเหลือสะสมไว้ชำระหนี้เท่าใดอย่างชัดเจน
3. ในกรณีที่รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของกองทุนฯ คณะกรรมการฯ จะประสานงานกับรัฐบาลเพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิของ เจ้าหน้าที่ของกองทุนฯ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายให้ตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เพื่อลดความผันผวนจากราคาน้ำมัน ในต่างประเทศ ไม่ให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ และการครองชีพของประชาชน ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาใช้จ่ายในการตรึงราคาน้ำมันตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนกรกฎาคม 2548 จำนวนเงิน 71,000 ล้านบาท และปัจจุบันอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องเก็บหนี้คืนจากประชาชน และในขณะเดียวกันได้มีการขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวออกไปเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี โดยออกพันธบัตรของกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีเวลาพอที่จะเก็บหนี้คืนอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนมากเกินไป แต่เนื่องจากพันธบัตรดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันหนี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและไม่เข้ามาซื้อ หรือซื้อแต่จะต้องให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าปกติ ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้สนับสนุน การออกพันธบัตรดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--
1. คณะกรรมการฯ รับทราบการออกพันธบัตรและจะดูแลให้มีการบริหารสภาพคล่องของกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง เพื่อให้กองทุนฯ สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
2. คณะกรรมการฯ จะบริหารรายรับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับภาระจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นของพันธบัตรในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจะบริหารรายจ่ายโดยให้มีการประกาศแจ้งแผนการใช้จ่ายเงินของกองทุนล่วงหน้าเป็นเวลา 5 ปี เพื่อให้ทราบล่วงหน้าว่ากองทุนจะมีเงินคงเหลือสะสมไว้ชำระหนี้เท่าใดอย่างชัดเจน
3. ในกรณีที่รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของกองทุนฯ คณะกรรมการฯ จะประสานงานกับรัฐบาลเพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิของ เจ้าหน้าที่ของกองทุนฯ ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายให้ตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เพื่อลดความผันผวนจากราคาน้ำมัน ในต่างประเทศ ไม่ให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ และการครองชีพของประชาชน ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาใช้จ่ายในการตรึงราคาน้ำมันตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนกรกฎาคม 2548 จำนวนเงิน 71,000 ล้านบาท และปัจจุบันอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องเก็บหนี้คืนจากประชาชน และในขณะเดียวกันได้มีการขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวออกไปเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี โดยออกพันธบัตรของกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีเวลาพอที่จะเก็บหนี้คืนอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนมากเกินไป แต่เนื่องจากพันธบัตรดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันหนี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและไม่เข้ามาซื้อ หรือซื้อแต่จะต้องให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าปกติ ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้สนับสนุน การออกพันธบัตรดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--