ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประ เทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม 2538 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตามที่กระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมส่งเจ้าหน้าที่และนักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 2 คน ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม 2538 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้ช่วยเหลือให้คนไทยเดินทางกลับประ เทศไทยแล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,231 ราย นอกจากนี้ได้ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อ เยี่ยมและช่วยเหลือคนไทยที่เจ็บป่วย ซึ่งเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ติดต่อประสานงานกับสถานีตำ รวจต่าง ๆ เพื่อรับอัฐิคนไทยที่เสียชีวิตในประเทศญี่ปุ่น ส่งกลับประเทศไทย และได้เดินทางไปศาลเพื่อ ฟังคดีหญิงไทย 3 คน ฆ่ามาม่าซังคนไทยตาย ซึ่งอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ติดต่อประสานงานกับองค์กร เอกชนต่าง ๆ ทั้งในเขตโตเกียวและเขตคันไซ เพื่อให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือคนไทยซึ่งตกทุกข์ ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น
2. ปัญหาแรงงานหญิงที่ทำงานบริการใช้แทค (หนี้) เมื่อหนี้สินใกล้จะหมดจะถูกมาม่าซัง ขายต่ออีก 2 - 3 ทอด ทำให้ต้องทำงานชดใช้หนี้สินเพิ่มขึ้น มีสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบาก เนื่องจากทำ งานอยู่โดยไม่มีวีซ่า ผู้ที่เป็นนายจ้างหรือนายหน้า ทั้งที่เป็นชาวญี่ปุ่นหรือชาติอื่นก็ตามไม่ปฏิบัติตามกฎ หมาย หรือข้อบังคับต่อคนไทยให้ทัดเทียมกับคนชาติอื่น หญิงไทยที่มีสามีเป็นชาวญี่ปุ่นไม่สามารถจดทะ เบียนสมรสได้ เนื่องจากไม่มีวีซ่า ไม่มีหนังสือเดินทาง เอกสารต่าง ๆ ไม่พร้อม หญิงไทยบางคนที่ แต่งงานกับชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีรายได้ไม่ดีก็จะถูกบังคับให้ไปทำงานหาเลี้ยงสามีชาวญี่ปุ่นจึงจะยินยอมในการ ขอต่อวีซ่า กรณีหญิงไทยที่มีบุตรกับชายญี่ปุ่น โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย บุตรจะไม่ได้รับ สิทธิตามกฎหมายญี่ปุ่น บุตรต้องใช้นามสกุล ได้สัญชาติไทยตามมารดา และเดินทางกลับประเทศไทยพร้อม มารดา แต่ถ้าหญิงนั้นจดทะเบียนสมรสกับชายไทยไว้ โดยมิได้หย่าตามกฎหมาย เด็กที่เกิดมาจะเป็น บุตรของชายคนนั้นตามกฎหมาย ถึงแม้จะเป็นบุตรของชายญี่ปุ่นก็ตาม (เด็กเกิดในระหว่างสมรส) กรณี เด็กถูกทอดทิ้ง เมื่อหญิงไทยมีบุตรนอกสมรส จะจ้างคนไทยช่วยเลี้ยงดูบุตรของตนแล้วทอดทิ้งไว้กับคน เลี้ยงโดยขาดการติดต่อ ทำให้เด็กไม่มีสัญชาติ เนื่องจากขาดหลักฐานต่าง ๆ หญิงไทยที่ทำงานทั้งบริ การและรับจ้าง ในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ เนื่องจากไม่มีวีซ่าจะไม่ กล้าติดต่อขอความช่วยเหลือ หรือขอคำแนะนำปรึกษาจากทางเจ้าหน้าที่รัฐทั้งของญี่ปุ่นและของไทยเมื่อ เกิดปัญหา
3. ปัญหาในการทำงานของแรงงานชายนั้น แม้จะเสียเงินค่านายหน้าที่เมืองไทยแล้วก็ตาม แต่ถ้าต้องการทำงานในแต่ละแห่งของประเทศญี่ปุ่น จะต้องเสียเงินค่านายหน้า (ค่าโชงาน) อีกครั้งละ ประมาณ 100,000 - 200,000 เยน ไม่ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ จากนายจ้าง ต้องเสียเงินค่าเช่า บ้านเอง และมีสภาพที่ไม่ค่อยดี นายจ้างโกงค่าแรง แรงงานชายบางรายไม่ได้รับเงินเดือนตามที่กำ หนด ในกรณีที่ต้องการเดินทางกลับประเทศไทย คนงานจะไม่ทราบว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง จะติดต่อ ขอความช่วยเหลือจากที่ใดได้บ้าง ในกรณีที่แรงงานชายตกงาน ถูกไล่ออกจากงาน หรือเจ็บป่วยระ หว่างรอการเดินทางกลับประเทศไทย จะไม่มีที่พักอาศัยชั่วคราว
4. ข้อเสนอแนะ
4.1 ในกรณีที่แรงงานไทยทั้งชายและหญิงเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว เห็นสมควรให้มี การติดตามผลเยี่ยมบ้านที่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไป
4.2 เห็นสมควรที่จะให้มีนักสังคมสงเคราะห์หรือเจ้าหน้าที่ออกไปเยี่ยมเยียนคนไทยยังจัง หวัดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้รับทราบปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ได้ทันท่วงที
4.3 เห็นสมควรให้มีการจัดเตรียมที่พักฉุกเฉินไว้ เพื่อให้การช่วยเหลือคนไทยเหล่านี้เป็น การชั่วคราวก่อนเดินทางกลับประเทศไทย
4.4 กรณีที่หญิงไทยแต่งงานกับชายญี่ปุ่น ควรจะมีการเข้มงวดและตรวจสอบให้ชัดเจนใน การออกหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันมิให้หญิงเหล่านี้แอบแฝงมาทำงานบริการในญี่ปุ่น
4.5 เห็นสมควรจัดประชุมกับกรมตำรวจ โดยเฉพาะสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อหา ทางสกัดกั้นการเดินทางไปต่างประเทศของแรงงานไทยและหญิงไทยให้รัดกุมขึ้น
4.6 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำโครง การสร้างชีวิตใหม่ให้แก่คนในชนบทอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
4.7 จากการหารือและประสานงานกับเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว แล้ว เห็น สมควรส่งนักสังคมสงเคราะห์และเจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ไปปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อ เนื่อง เพื่อคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากจะได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วขึ้น อีกทั้งได้รับคำแนะนำอื่น ๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อคนไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 31 ตุลาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประ เทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม 2538 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตามที่กระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมส่งเจ้าหน้าที่และนักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 2 คน ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือคนไทยผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม 2538 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้ช่วยเหลือให้คนไทยเดินทางกลับประ เทศไทยแล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,231 ราย นอกจากนี้ได้ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อ เยี่ยมและช่วยเหลือคนไทยที่เจ็บป่วย ซึ่งเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ติดต่อประสานงานกับสถานีตำ รวจต่าง ๆ เพื่อรับอัฐิคนไทยที่เสียชีวิตในประเทศญี่ปุ่น ส่งกลับประเทศไทย และได้เดินทางไปศาลเพื่อ ฟังคดีหญิงไทย 3 คน ฆ่ามาม่าซังคนไทยตาย ซึ่งอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ติดต่อประสานงานกับองค์กร เอกชนต่าง ๆ ทั้งในเขตโตเกียวและเขตคันไซ เพื่อให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือคนไทยซึ่งตกทุกข์ ได้ยากในประเทศญี่ปุ่น
2. ปัญหาแรงงานหญิงที่ทำงานบริการใช้แทค (หนี้) เมื่อหนี้สินใกล้จะหมดจะถูกมาม่าซัง ขายต่ออีก 2 - 3 ทอด ทำให้ต้องทำงานชดใช้หนี้สินเพิ่มขึ้น มีสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบาก เนื่องจากทำ งานอยู่โดยไม่มีวีซ่า ผู้ที่เป็นนายจ้างหรือนายหน้า ทั้งที่เป็นชาวญี่ปุ่นหรือชาติอื่นก็ตามไม่ปฏิบัติตามกฎ หมาย หรือข้อบังคับต่อคนไทยให้ทัดเทียมกับคนชาติอื่น หญิงไทยที่มีสามีเป็นชาวญี่ปุ่นไม่สามารถจดทะ เบียนสมรสได้ เนื่องจากไม่มีวีซ่า ไม่มีหนังสือเดินทาง เอกสารต่าง ๆ ไม่พร้อม หญิงไทยบางคนที่ แต่งงานกับชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีรายได้ไม่ดีก็จะถูกบังคับให้ไปทำงานหาเลี้ยงสามีชาวญี่ปุ่นจึงจะยินยอมในการ ขอต่อวีซ่า กรณีหญิงไทยที่มีบุตรกับชายญี่ปุ่น โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย บุตรจะไม่ได้รับ สิทธิตามกฎหมายญี่ปุ่น บุตรต้องใช้นามสกุล ได้สัญชาติไทยตามมารดา และเดินทางกลับประเทศไทยพร้อม มารดา แต่ถ้าหญิงนั้นจดทะเบียนสมรสกับชายไทยไว้ โดยมิได้หย่าตามกฎหมาย เด็กที่เกิดมาจะเป็น บุตรของชายคนนั้นตามกฎหมาย ถึงแม้จะเป็นบุตรของชายญี่ปุ่นก็ตาม (เด็กเกิดในระหว่างสมรส) กรณี เด็กถูกทอดทิ้ง เมื่อหญิงไทยมีบุตรนอกสมรส จะจ้างคนไทยช่วยเลี้ยงดูบุตรของตนแล้วทอดทิ้งไว้กับคน เลี้ยงโดยขาดการติดต่อ ทำให้เด็กไม่มีสัญชาติ เนื่องจากขาดหลักฐานต่าง ๆ หญิงไทยที่ทำงานทั้งบริ การและรับจ้าง ในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ เนื่องจากไม่มีวีซ่าจะไม่ กล้าติดต่อขอความช่วยเหลือ หรือขอคำแนะนำปรึกษาจากทางเจ้าหน้าที่รัฐทั้งของญี่ปุ่นและของไทยเมื่อ เกิดปัญหา
3. ปัญหาในการทำงานของแรงงานชายนั้น แม้จะเสียเงินค่านายหน้าที่เมืองไทยแล้วก็ตาม แต่ถ้าต้องการทำงานในแต่ละแห่งของประเทศญี่ปุ่น จะต้องเสียเงินค่านายหน้า (ค่าโชงาน) อีกครั้งละ ประมาณ 100,000 - 200,000 เยน ไม่ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ จากนายจ้าง ต้องเสียเงินค่าเช่า บ้านเอง และมีสภาพที่ไม่ค่อยดี นายจ้างโกงค่าแรง แรงงานชายบางรายไม่ได้รับเงินเดือนตามที่กำ หนด ในกรณีที่ต้องการเดินทางกลับประเทศไทย คนงานจะไม่ทราบว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง จะติดต่อ ขอความช่วยเหลือจากที่ใดได้บ้าง ในกรณีที่แรงงานชายตกงาน ถูกไล่ออกจากงาน หรือเจ็บป่วยระ หว่างรอการเดินทางกลับประเทศไทย จะไม่มีที่พักอาศัยชั่วคราว
4. ข้อเสนอแนะ
4.1 ในกรณีที่แรงงานไทยทั้งชายและหญิงเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว เห็นสมควรให้มี การติดตามผลเยี่ยมบ้านที่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไป
4.2 เห็นสมควรที่จะให้มีนักสังคมสงเคราะห์หรือเจ้าหน้าที่ออกไปเยี่ยมเยียนคนไทยยังจัง หวัดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้รับทราบปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ได้ทันท่วงที
4.3 เห็นสมควรให้มีการจัดเตรียมที่พักฉุกเฉินไว้ เพื่อให้การช่วยเหลือคนไทยเหล่านี้เป็น การชั่วคราวก่อนเดินทางกลับประเทศไทย
4.4 กรณีที่หญิงไทยแต่งงานกับชายญี่ปุ่น ควรจะมีการเข้มงวดและตรวจสอบให้ชัดเจนใน การออกหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันมิให้หญิงเหล่านี้แอบแฝงมาทำงานบริการในญี่ปุ่น
4.5 เห็นสมควรจัดประชุมกับกรมตำรวจ โดยเฉพาะสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อหา ทางสกัดกั้นการเดินทางไปต่างประเทศของแรงงานไทยและหญิงไทยให้รัดกุมขึ้น
4.6 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำโครง การสร้างชีวิตใหม่ให้แก่คนในชนบทอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
4.7 จากการหารือและประสานงานกับเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว แล้ว เห็น สมควรส่งนักสังคมสงเคราะห์และเจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ไปปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อ เนื่อง เพื่อคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากจะได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วขึ้น อีกทั้งได้รับคำแนะนำอื่น ๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อคนไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 31 ตุลาคม 2538--