ทำเนียบรัฐบาล--9 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณา การ Refinance เงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในส่วนที่รัฐบาลรับภาระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงิน จำนวน 8,600 ล้านบาท จากตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
2. ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
3. ให้สำนักงบประมาณจัดสสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ โดยให้พิจารณาความเหมาะสมในการนำรายได้ที่เก็บจากค่าผ่านทางมาพิจารณาประกอบหลักการชำระคืนดอกเบี้ย
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้แจ้งข้อสรุปจากการประชุมพิจารณากำหนดวงเงิน และแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ว่า จำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระต้นเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้ปรับลดเฉพาะต้นเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 8,600 ล้านบาท มีรายละเอียดังนี้
1) เงินกู้จากธนาคารออมสิน จำนวน 5,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดใช้เงินยืมในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป รวมทั้งดอกเบี้ยที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องจ่ายไป
2) เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จำนวน 2,300 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 1 ธันวาคม 2542 และ 20 มีนาคม 2543 ตามลำดับ เป็นการกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วน สายรามอินทรา- อาจณรงค์ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2537 โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ย และเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าก่อสร้างในส่วนที่เป็นเงินยืมไม่มีดอกเบี้ย เพื่อสมทบโครงการที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่ครบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2537
3) เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 7 จำนวน 1,300 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 28 สิงหาคม 2543 เป็นการกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ในส่วนที่ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 4,363.40 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้สำนัก-งบประมาณตั้งงบประมาณเป็นเงินยืมให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำไปชำระเป็นค่าต้นเงิน และดอกเบี้ยของพันธบัตรดังกล่าวเมื่อครบกำหนด ทั้งนี้ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยส่งใช้คืนเงินยืมให้แก่รัฐบาลเมื่อฐานะการเงินดีขึ้น หรือเมื่อได้รับเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการคืนจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณา การ Refinance เงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในส่วนที่รัฐบาลรับภาระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงิน จำนวน 8,600 ล้านบาท จากตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
2. ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
3. ให้สำนักงบประมาณจัดสสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนดชำระ โดยให้พิจารณาความเหมาะสมในการนำรายได้ที่เก็บจากค่าผ่านทางมาพิจารณาประกอบหลักการชำระคืนดอกเบี้ย
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้แจ้งข้อสรุปจากการประชุมพิจารณากำหนดวงเงิน และแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ว่า จำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระต้นเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้ปรับลดเฉพาะต้นเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 8,600 ล้านบาท มีรายละเอียดังนี้
1) เงินกู้จากธนาคารออมสิน จำนวน 5,000 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 เป็นภาระหนี้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กู้เงินเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดใช้เงินยืมในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป รวมทั้งดอกเบี้ยที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องจ่ายไป
2) เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จำนวน 2,300 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 1 ธันวาคม 2542 และ 20 มีนาคม 2543 ตามลำดับ เป็นการกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วน สายรามอินทรา- อาจณรงค์ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2537 โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ย และเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าก่อสร้างในส่วนที่เป็นเงินยืมไม่มีดอกเบี้ย เพื่อสมทบโครงการที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่ครบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2537
3) เงินกู้จากการออกพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 7 จำนวน 1,300 ล้านบาท ครบกำหนดชำระต้นเงินวันที่ 28 สิงหาคม 2543 เป็นการกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ในส่วนที่ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 4,363.40 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้สำนัก-งบประมาณตั้งงบประมาณเป็นเงินยืมให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำไปชำระเป็นค่าต้นเงิน และดอกเบี้ยของพันธบัตรดังกล่าวเมื่อครบกำหนด ทั้งนี้ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยส่งใช้คืนเงินยืมให้แก่รัฐบาลเมื่อฐานะการเงินดีขึ้น หรือเมื่อได้รับเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการคืนจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542--