ทำเนียบรัฐบาล--27 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบงบดุลและรายงานประจำปี 2537 ขององค์การสะพานปลา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการองค์การสะพานปลาได้กำหนดนโยบายสำหรับปี 2537 ไว้ดังนี้
1.1 พัฒนาระบบการขนถ่ายและระบบตลาดสินค้าสัตว์น้ำ
1.2 พัฒนาการทำประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยการให้สินเชื่อเพื่อการประมง 1.3 ส่งเสริมอาชีพและสวัสดิการชาวประมงโดยใช้เงินทุนส่งเสริมการประมง
1.4 หารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
1.5 พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
2. การลงทุนเพื่อขยายงานและซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างซึ่งใช้ขนถ่ายและจำหน่ายสัตว์น้ำ ค่าจ้างเหมาเป็นเงินทั้งสิ้น 3.551 ล้านบาท
2.1 สะพานปลากรุงเทพ ปรับปรุงชั้นลอยโรงประมูลเป็นร้านอาหารและห้องพัสดุ เป็นเงิน 1.000 ล้านบาท
2.2 สะพานปลาสมุทรปราการ ปรับปรุงซ่อมแซมโรงประมูล ทาสีสำนักงานและบ้านพัก เป็นเงิน 0.577 ล้านบาท
2.3 ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ปรับปรุงพื้นที่แผงลอยเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และบริเวณพื้นที่ว่างระหว่างบ่อบาดาล และอื่น ๆ เป็นเงิน 1.235 ล้านบาท
2.4 ท่าเทียบเรือประมงระนอง ปรับปรุงท่อระบายน้ำ บ่อพัก และอื่น ๆ เป็นเงิน 0.739 ล้านบาท
3. ขยายการดำเนินธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่ม โดยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงในปี 2537 มีผลการจำหน่ายน้ำมัน ดังนี้
3.1 รายได้ค่าขายน้ำมัน (รวมดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร) เป็นเงิน 21.347 ล้านบาท
3.2 รายจ่ายค่าซื้อน้ำมัน (รวมค่าขนส่ง) เป็นเงิน 20.568 ล้านบาท
3.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ เป็นเงิน 0.779 ล้านบาท
4. ในปีงบประมาณ 2537 องค์การสะพานปลามีผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
4.1 งานส่วนกลาง สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง ให้บริการสถานที่ขนถ่ายและจำหน่ายสัตว์น้ำที่สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีปริมาณสัตว์น้ำขนถ่ายทั้งสิ้น 899,335 ตัน มูลค่า 17,050.31 ล้านบาท รายได้จากการดำเนินงานสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง (รวมส่วนกลาง) จำนวน 107.364 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร 2.197 ล้านบาท)รายจ่ายทั้งสิ้น 103.904 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3.460 ล้านบาท ต่ำกว่ากำไรสุทธิของปีงบประมาณ 2536 (5.689 ล้านบาท) อยู่ 2.229ล้านบาท
4.2 งานโครงการพัฒนาการประมง มีรายได้จากการดำเนินงาน 6.814 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร 0.396 ล้านบาท) มีรายจ่ายดำเนินงานทั้งสิ้น 104.767 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 97.953 ล้านบาท
4.3 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีกำไร 0.779 ล้านบาท
4.4 งานส่งเสริมการประมงในปี 2537 กองทุนส่งเสริมการประมงมีรายได้ทั้งสิ้น 5.269 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายทั้งสิ้น 3.414 ล้านบาท รายได้สูงกว่ารายจ่าย 1.855 ล้านบาท
5. โครงการและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไป (ปี 2538)
5.1 ขยายงานและซ่อมแซมบำรุงรักษาตัวท่าเทียบเรือ ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ของสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงทั้ง 14 แห่ง เป็นวงเงินทั้งสิ้น 15.113 ล้านบาท และสำรองไว้สำหรับรายการที่ไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ และมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องจัดสร้างหรือซ่อมแซมเพิ่มเติมระหว่างปีเป็นวงเงิน 2.000 ล้านบาท
5.2 ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวประมงเรื่องแหล่งเงินทุนทำประมง เพื่อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ทำประมงที่ทันสมัย ในอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องจากปี 2536 วงเงิน 17.924 ล้านบาท
5.3 ให้การส่งเสริมอาชีพและสวัสดิการแก่ชาวประมง ตลอดจนสถาบันประมงต่าง ๆ โดยใช้เงินทุนส่งเสริมการประมงสมทบเพิ่มเติมของปี 2538 วงเงินทั้งสิ้น 0.820 ล้านบาท
อนึ่ง การนำเสนองบดุลและรายงานประจำปี 2537 ขององค์การสะพานปลาล่าช้ากว่าปกติ เนื่องจากองค์การสะพานปลาอยู่ระหว่างทบทวนนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการตัดสำรองหนี้สูญให้แสดงมูลค่าลูกหนี้สุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่คาดว่าจะเก็บหนี้ได้ของโครงการพัฒนาการประมง ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 27 พฤษภาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบงบดุลและรายงานประจำปี 2537 ขององค์การสะพานปลา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการองค์การสะพานปลาได้กำหนดนโยบายสำหรับปี 2537 ไว้ดังนี้
1.1 พัฒนาระบบการขนถ่ายและระบบตลาดสินค้าสัตว์น้ำ
1.2 พัฒนาการทำประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยการให้สินเชื่อเพื่อการประมง 1.3 ส่งเสริมอาชีพและสวัสดิการชาวประมงโดยใช้เงินทุนส่งเสริมการประมง
1.4 หารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
1.5 พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
2. การลงทุนเพื่อขยายงานและซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างซึ่งใช้ขนถ่ายและจำหน่ายสัตว์น้ำ ค่าจ้างเหมาเป็นเงินทั้งสิ้น 3.551 ล้านบาท
2.1 สะพานปลากรุงเทพ ปรับปรุงชั้นลอยโรงประมูลเป็นร้านอาหารและห้องพัสดุ เป็นเงิน 1.000 ล้านบาท
2.2 สะพานปลาสมุทรปราการ ปรับปรุงซ่อมแซมโรงประมูล ทาสีสำนักงานและบ้านพัก เป็นเงิน 0.577 ล้านบาท
2.3 ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ปรับปรุงพื้นที่แผงลอยเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และบริเวณพื้นที่ว่างระหว่างบ่อบาดาล และอื่น ๆ เป็นเงิน 1.235 ล้านบาท
2.4 ท่าเทียบเรือประมงระนอง ปรับปรุงท่อระบายน้ำ บ่อพัก และอื่น ๆ เป็นเงิน 0.739 ล้านบาท
3. ขยายการดำเนินธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่ม โดยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงในปี 2537 มีผลการจำหน่ายน้ำมัน ดังนี้
3.1 รายได้ค่าขายน้ำมัน (รวมดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร) เป็นเงิน 21.347 ล้านบาท
3.2 รายจ่ายค่าซื้อน้ำมัน (รวมค่าขนส่ง) เป็นเงิน 20.568 ล้านบาท
3.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ เป็นเงิน 0.779 ล้านบาท
4. ในปีงบประมาณ 2537 องค์การสะพานปลามีผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
4.1 งานส่วนกลาง สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง ให้บริการสถานที่ขนถ่ายและจำหน่ายสัตว์น้ำที่สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีปริมาณสัตว์น้ำขนถ่ายทั้งสิ้น 899,335 ตัน มูลค่า 17,050.31 ล้านบาท รายได้จากการดำเนินงานสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง (รวมส่วนกลาง) จำนวน 107.364 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร 2.197 ล้านบาท)รายจ่ายทั้งสิ้น 103.904 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3.460 ล้านบาท ต่ำกว่ากำไรสุทธิของปีงบประมาณ 2536 (5.689 ล้านบาท) อยู่ 2.229ล้านบาท
4.2 งานโครงการพัฒนาการประมง มีรายได้จากการดำเนินงาน 6.814 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคาร 0.396 ล้านบาท) มีรายจ่ายดำเนินงานทั้งสิ้น 104.767 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 97.953 ล้านบาท
4.3 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีกำไร 0.779 ล้านบาท
4.4 งานส่งเสริมการประมงในปี 2537 กองทุนส่งเสริมการประมงมีรายได้ทั้งสิ้น 5.269 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายทั้งสิ้น 3.414 ล้านบาท รายได้สูงกว่ารายจ่าย 1.855 ล้านบาท
5. โครงการและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไป (ปี 2538)
5.1 ขยายงานและซ่อมแซมบำรุงรักษาตัวท่าเทียบเรือ ตลอดจนสถานที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ของสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงทั้ง 14 แห่ง เป็นวงเงินทั้งสิ้น 15.113 ล้านบาท และสำรองไว้สำหรับรายการที่ไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ และมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องจัดสร้างหรือซ่อมแซมเพิ่มเติมระหว่างปีเป็นวงเงิน 2.000 ล้านบาท
5.2 ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวประมงเรื่องแหล่งเงินทุนทำประมง เพื่อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ทำประมงที่ทันสมัย ในอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องจากปี 2536 วงเงิน 17.924 ล้านบาท
5.3 ให้การส่งเสริมอาชีพและสวัสดิการแก่ชาวประมง ตลอดจนสถาบันประมงต่าง ๆ โดยใช้เงินทุนส่งเสริมการประมงสมทบเพิ่มเติมของปี 2538 วงเงินทั้งสิ้น 0.820 ล้านบาท
อนึ่ง การนำเสนองบดุลและรายงานประจำปี 2537 ขององค์การสะพานปลาล่าช้ากว่าปกติ เนื่องจากองค์การสะพานปลาอยู่ระหว่างทบทวนนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการตัดสำรองหนี้สูญให้แสดงมูลค่าลูกหนี้สุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่คาดว่าจะเก็บหนี้ได้ของโครงการพัฒนาการประมง ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 27 พฤษภาคม 2540--