คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - สหรัฐอเมริกา ตามที่กระทรวง
คมนาคมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบการจัดทำความตกลงเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ก่อนมอบหมาย
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศและแลกเปลี่ยน
หนังสือทางการทูตกันต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์
ต่อฝ่ายไทยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้
กระทรวงคมนาคมชี้แจงว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดให้มีการเจรจาการบินระหว่างคณะผู้แทนรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยและคณะผู้แทนรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2548 ณ กรุงวอชิงตัน
ดีซี เพื่อหารือกันในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงเปิดเสรีการบินโดยผลการเจรจาครั้งนี้ คณะผู้แทน
ของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจัดทำความตกลงเปิดเสรีการบินขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และบริการผสม แทนที่ความตกลง
ว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ และบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลแห่งราช-
อาณาจักรไทย ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 รวมทั้งพิธีสารต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งทาง
อากาศ ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2546 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งคนโดยสาร ทั้งสองฝ่ายตกลงให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ
ทำการบินระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดจำนวนสายการบิน จำนวนเที่ยวบิน แบบ
เครื่องบิน และเส้นทางบิน
สำหรับเที่ยวบินรับขนจราจรเสรีภาพที่ 5 ทั้งสองฝ่ายตกลงจะอนุญาตให้สายการบินของทั้งสองฝ่าย
มีสิทธิทำการบินได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดจำนวนสายการบิน จำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินเช่นกัน แต่โดยมีบท
เฉพาะระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของไทย มีเวลาเพียงพอในการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน
ในตลาดเสรี ในระยะเวลา 5 ปีนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงเพิ่มสิทธิโดยให้สายการบินทำการบินรับขนจราจรเสรีภาพ
ที่ 5 ได้เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ จนถึง 49 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในจำนวนนี้ ให้แวะจุดระหว่างทางได้ไม่เกิน 35
เที่ยวบินต่อสัปดาห์ต่อจุด หลังจากนั้นให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายทำการบินเสรีได้อย่างไม่มีข้อจำกัดได้ตั้งแต่
ปลายปี 2553 และหลังจากการเปิดเสรีเที่ยวบินนี้ไปแล้ว 3 ปี ฝ่ายไทยจะจัดให้มีการประเมินผลของการเปิด
เสรีว่าได้ประโยชน์สมตามความประสงค์ของการเปิดบินเสรีหรือไม่เพียงใด ซึ่งฝ่ายสหรัฐแสดงความพร้อมที่จะให้
ความร่วมมือในการประเมินผลด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
เที่ยวบิน/ สัปดาห์ เที่ยวบิน/สัปดาห์/จุด
ระยะเวลา 5 ปี มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2005 (2548) 31 14
(จำนวนเที่ยวบินปัจจุบัน)
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2006 (2549) 35 14
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2007 (2550) 42 28
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2008 (2551) 42 28
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2009 (2552) 49 35
ระยะเวลา 3 ปี กำหนดการบินประจำฤดูหนาว 2013 (2556) ประเมินผล ประเมินผล
2. ร่างตัวบทความตกลงฯ ทั้งสองฝ่ายใช้ร่างความตกลงฉบับมาตรฐานของฝ่ายสหรัฐ ฯ เป็น
พื้นฐานในการเจรจา ซึ่งข้อบทโดยส่วนใหญ่จะคล้ายกับความตกลงฯ ปี 1996 และนำข้อบทในส่วนที่มีการเปิดเสรี
เที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้าไว้แล้ว ตามพิธีสารปี 2546 มาใส่รวมไว้ในความตกลงคราวนี้ด้วย โดยมีการแก้ไข
เพิ่มเติมในสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
ข้อ 9 ภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียม ฝ่ายสหรัฐฯ ขอให้ฝ่ายไทยยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับ
งพิมพ์ที่ใช้ในการโฆษณาและการขายให้กับสายการบินของสหรัฐฯ แต่เนื่องจากการยกเว้นภาษีดังกล่าวอาจต้องแก้ไข
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายไทยจึงรับจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าว
ต่อไป
ข้อ 12 การกำหนดราคา (Pricing) ทั้งสองฝ่ายตกลงให้สายการบินเรียกเก็บค่าโดยสารได้
อย่างเสรี แต่เนื่องจากกฎหมายของประเทศทั้งสองกำหนดไว้แตกต่างกัน ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงให้มีบทเฉพาะกาล
ระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้เวลาแก่ภาคีทั้งสองฝ่ายในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (หากมี) ในกรณีที่
กระบวนการแก้ไขกฎหมายใช้เวลามากกว่า 5 ปี ที่กำหนดข้างต้น ทั้งสองฝ่ายตกลงจะพบหารือกันเพื่อหาหาทาง
แก้ไขปัญหาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--
คมนาคมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบการจัดทำความตกลงเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ก่อนมอบหมาย
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศและแลกเปลี่ยน
หนังสือทางการทูตกันต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์
ต่อฝ่ายไทยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้
กระทรวงคมนาคมชี้แจงว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดให้มีการเจรจาการบินระหว่างคณะผู้แทนรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยและคณะผู้แทนรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2548 ณ กรุงวอชิงตัน
ดีซี เพื่อหารือกันในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงเปิดเสรีการบินโดยผลการเจรจาครั้งนี้ คณะผู้แทน
ของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจัดทำความตกลงเปิดเสรีการบินขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และบริการผสม แทนที่ความตกลง
ว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ และบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลแห่งราช-
อาณาจักรไทย ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 รวมทั้งพิธีสารต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งทาง
อากาศ ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2546 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งคนโดยสาร ทั้งสองฝ่ายตกลงให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ
ทำการบินระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดจำนวนสายการบิน จำนวนเที่ยวบิน แบบ
เครื่องบิน และเส้นทางบิน
สำหรับเที่ยวบินรับขนจราจรเสรีภาพที่ 5 ทั้งสองฝ่ายตกลงจะอนุญาตให้สายการบินของทั้งสองฝ่าย
มีสิทธิทำการบินได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดจำนวนสายการบิน จำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินเช่นกัน แต่โดยมีบท
เฉพาะระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของไทย มีเวลาเพียงพอในการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน
ในตลาดเสรี ในระยะเวลา 5 ปีนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงเพิ่มสิทธิโดยให้สายการบินทำการบินรับขนจราจรเสรีภาพ
ที่ 5 ได้เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ จนถึง 49 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในจำนวนนี้ ให้แวะจุดระหว่างทางได้ไม่เกิน 35
เที่ยวบินต่อสัปดาห์ต่อจุด หลังจากนั้นให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายทำการบินเสรีได้อย่างไม่มีข้อจำกัดได้ตั้งแต่
ปลายปี 2553 และหลังจากการเปิดเสรีเที่ยวบินนี้ไปแล้ว 3 ปี ฝ่ายไทยจะจัดให้มีการประเมินผลของการเปิด
เสรีว่าได้ประโยชน์สมตามความประสงค์ของการเปิดบินเสรีหรือไม่เพียงใด ซึ่งฝ่ายสหรัฐแสดงความพร้อมที่จะให้
ความร่วมมือในการประเมินผลด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
เที่ยวบิน/ สัปดาห์ เที่ยวบิน/สัปดาห์/จุด
ระยะเวลา 5 ปี มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2005 (2548) 31 14
(จำนวนเที่ยวบินปัจจุบัน)
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2006 (2549) 35 14
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2007 (2550) 42 28
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2008 (2551) 42 28
มีผลตั้งแต่กำหนดการบินประจำฤดูหนาวของ 2009 (2552) 49 35
ระยะเวลา 3 ปี กำหนดการบินประจำฤดูหนาว 2013 (2556) ประเมินผล ประเมินผล
2. ร่างตัวบทความตกลงฯ ทั้งสองฝ่ายใช้ร่างความตกลงฉบับมาตรฐานของฝ่ายสหรัฐ ฯ เป็น
พื้นฐานในการเจรจา ซึ่งข้อบทโดยส่วนใหญ่จะคล้ายกับความตกลงฯ ปี 1996 และนำข้อบทในส่วนที่มีการเปิดเสรี
เที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้าไว้แล้ว ตามพิธีสารปี 2546 มาใส่รวมไว้ในความตกลงคราวนี้ด้วย โดยมีการแก้ไข
เพิ่มเติมในสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
ข้อ 9 ภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียม ฝ่ายสหรัฐฯ ขอให้ฝ่ายไทยยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับ
งพิมพ์ที่ใช้ในการโฆษณาและการขายให้กับสายการบินของสหรัฐฯ แต่เนื่องจากการยกเว้นภาษีดังกล่าวอาจต้องแก้ไข
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายไทยจึงรับจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าว
ต่อไป
ข้อ 12 การกำหนดราคา (Pricing) ทั้งสองฝ่ายตกลงให้สายการบินเรียกเก็บค่าโดยสารได้
อย่างเสรี แต่เนื่องจากกฎหมายของประเทศทั้งสองกำหนดไว้แตกต่างกัน ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงให้มีบทเฉพาะกาล
ระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้เวลาแก่ภาคีทั้งสองฝ่ายในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (หากมี) ในกรณีที่
กระบวนการแก้ไขกฎหมายใช้เวลามากกว่า 5 ปี ที่กำหนดข้างต้น ทั้งสองฝ่ายตกลงจะพบหารือกันเพื่อหาหาทาง
แก้ไขปัญหาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--