ทำเนียบรัฐบาล--3 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบงบทำการ และให้ความเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2540 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. รับทราบงบทำการประจำปี 2540 ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ ซึ่งประมาณการรายได้จากการดำเนินงาน 134,935.53 ล้านบาท รายจ่ายจากการดำเนินงาน 108,831.74 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 26,103.79 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 18,878.92 ล้านบาท โดยเป็นประมาณการที่มีกำไรสุทธิลดลงจากปี 2539 ถึงร้อยละ 29 เนื่องจากเป็นการประมาณตามการพยากรณ์ของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ผู้ใช้ไฟ ประกอบกับแผนการใช้เชื้อเพลิง แผนการผลิตและซื้อกระแสไฟ
2. ให้ความเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2540 จำนวน 58,980.84 ล้านบาท ประกอบด้วย งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ จำนวน 15,961.95 ล้านบาท และงบลงทุนที่ทำเป็นโครงการ 43,018.89 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการลงทุนปรับปรุงและขยายงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบผลิตและระบบส่งพลังงานไฟฟ้าเกือบทั้งสิ้น ประกอบกับมีฐานะเงินสดเพียงพอที่จะรองรับการลงทุนในปีนี้ได้ สำหรับงานร่วมทุนกับบริษัทเอกชน วงเงิน 43.46 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 วงเงิน 398.07 ล้านบาท และให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับความเห็นชอบตามขั้นตอนการพิจารณาแล้ว
นอกจากนี้ ให้ กฟผ. รับข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ดังนี้
1. ให้ กฟผ. เร่งรัดการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมายที่ประมาณไว้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณต่อไป เห็นควรให้ กฟผ. ปรับลดยอดการลงทุนให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการดำเนินงาน คือ ร้อยละ 75
2. ให้ กฟผ. ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 ที่กำหนดเป็นนโยบายสำหรับการลงทุนในโครงการพัฒนาที่มีขนาดวงเงินลงทุนเกินกว่า 10,000 ล้านบาทขึ้นไป หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการต้องจัดเตรียมงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการลงทุนโครงการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนให้องค์กร/สถาบันของภาครัฐและ/หรือเอกชนใช้ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนระบบการผลิตที่สามารถทำได้ภายในประเทศ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ได้เองในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 3 มีนาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบงบทำการ และให้ความเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2540 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. รับทราบงบทำการประจำปี 2540 ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ ซึ่งประมาณการรายได้จากการดำเนินงาน 134,935.53 ล้านบาท รายจ่ายจากการดำเนินงาน 108,831.74 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 26,103.79 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 18,878.92 ล้านบาท โดยเป็นประมาณการที่มีกำไรสุทธิลดลงจากปี 2539 ถึงร้อยละ 29 เนื่องจากเป็นการประมาณตามการพยากรณ์ของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ผู้ใช้ไฟ ประกอบกับแผนการใช้เชื้อเพลิง แผนการผลิตและซื้อกระแสไฟ
2. ให้ความเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2540 จำนวน 58,980.84 ล้านบาท ประกอบด้วย งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ จำนวน 15,961.95 ล้านบาท และงบลงทุนที่ทำเป็นโครงการ 43,018.89 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการลงทุนปรับปรุงและขยายงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบผลิตและระบบส่งพลังงานไฟฟ้าเกือบทั้งสิ้น ประกอบกับมีฐานะเงินสดเพียงพอที่จะรองรับการลงทุนในปีนี้ได้ สำหรับงานร่วมทุนกับบริษัทเอกชน วงเงิน 43.46 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 วงเงิน 398.07 ล้านบาท และให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับความเห็นชอบตามขั้นตอนการพิจารณาแล้ว
นอกจากนี้ ให้ กฟผ. รับข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ กฟผ. ดังนี้
1. ให้ กฟผ. เร่งรัดการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมายที่ประมาณไว้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณต่อไป เห็นควรให้ กฟผ. ปรับลดยอดการลงทุนให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการดำเนินงาน คือ ร้อยละ 75
2. ให้ กฟผ. ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 ที่กำหนดเป็นนโยบายสำหรับการลงทุนในโครงการพัฒนาที่มีขนาดวงเงินลงทุนเกินกว่า 10,000 ล้านบาทขึ้นไป หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการต้องจัดเตรียมงบประมาณไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการลงทุนโครงการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนให้องค์กร/สถาบันของภาครัฐและ/หรือเอกชนใช้ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนระบบการผลิตที่สามารถทำได้ภายในประเทศ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ได้เองในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 3 มีนาคม 2540--