ทำเนียบรัฐบาล--5 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานผลการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินทร สรุปได้ดังนี้
1. การขุดคูคลองระบายน้ำควรจะเป็นโครงการประเภทสูบน้ำและส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรของนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย โดยถือว่าเป็นโครงการใหม่ไม่เกี่ยวกับโครงการชลประทาน คาดว่าจะก่อสร้างได้ในปีงบประมาณ 2541 และในส่วนของโครงการชลประทานขนาดเล็กที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นิคมฯ จำนวน 4 โครงการ นั้น จะชะลอการก่อสร้างไว้ก่อน แต่จะดำเนินการเตรียมความพร้อมในเรื่องการสำรวจและออกแบบรายละเอียดซึ่งจะพิจารณาเป็นองค์ประกอบของระบบส่งน้ำโดยท่อในลักษณะของที่พักน้ำ
2.ในเรื่องการจัดรูปที่ดินมีความเหมาะสมกับโครงการของเขื่อนสิรินธรเนื่องจากเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการกระจายน้ำชลประทาน ถนนลำเลียงผลผลิตและปัจจัยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมต่อเนื่องในด้านการดูแลรักษาและการพัฒนาเกษตรครบวงจร ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดรูปที่ดินเป็นแปลงตัวอย่างประมาณ 1,000 ไร่ เรียบร้อยแล้ว
2.2 ในปีงบประมาณ 2540 - 2541 จะดำเนินการจัดประชุมแกนนำเกษตรกรโดยพาไปดูงานจัดรูปที่ดินที่ดำเนินการไปแล้ว และประชุมเกษตรกรบริเวณแปลงตัวอย่างพร้อมกับการบันทึกยินยอม/ไม่ยินยอม ในการจัดรูปที่ดินการขออนุมัติวางโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดิน พ.ศ. 2517 ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
2.3 แผนงานจัดรูปที่ดินในปีงบประมาณ 2542 - 2544 แบ่งได้ดังนี้
1) ปี 2542 จำนวน 5,000 ไร่
2) ปี 2543 จำนวน 10,000 ไร่
3) ปี 2544 จำนวน 10,000 ไร่
3. จะได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคและกระบือ ซึ่งประกอบด้วย
3.1 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมือง โดยการสนับสนุนโคเพศเมียพันธุ์พื้นเมืองให้เกษตรกรยืมเพื่อการผลิตจำนวน 345 ราย ๆ ละ 5 ตัว รวม 1,725 ตัว และสนับสนุนพ่อพันธุ์โคพันธุ์ผสมบราห์มัน จำนวน 69 ตัว ดังนี้
1) อำเภอสิรินธร เกษตรกร 265 ราย โคแม่พันธุ์ 1,325 ตัว โคพ่อพันธุ์ 56 ตัว
2) อำเภอบุณฑริก เกษตรกร 36 ราย โคแม่พันธุ์ 180 ตัว โคพ่อพันธุ์ 6 ตัว
3) อำเภอพิบูลมังสาหาร เกษตรกร 44 ราย โคแม่พันธุ์ 220 ตัว โคพ่อพันธุ์ 7 ตัว
3.2 โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยให้การสนับสนุนโค - กระบือแก่เกษตรกรยืมเพื่อการผลิตตามระเบียบของโครงการ ดังนี้
1) อำเภอสิรินธร โค 20 ตัว/ราย และกระบือ 230 ตัว/ราย
2) อำเภอบุณฑริก กระบือ 12 ตัว/ราย
3) อำเภอพิบูลมังสาหาร โค 4 ตัว/ราย และกระบือ 7 ตัว/ราย
นอกจากนั้นจะได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางส่งเสริมอาชีพด้านการปศุสัตว์แขนงอื่น ๆ
4. ได้เข้าไปดำเนินการสำรวจดินและมีข้อมูลดิน ปรากฏว่าสภาพโดยทั่วไปพื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีการชะล้างพังทลายและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งต้องดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้พื้นที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก และได้มอบให้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด เพื่อร่วมปรึกษาหารือในการจัดทำแผนงานดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
5. ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพเกษตรให้แก่ราษฎร ดังนี้
5.1 สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมี ประมาณไร่ละ700 บาท เน้นการส่งเสริมการปลูกพืชตามสัญญาข้อตกลงล่วงหน้าและการปลูกพืชเพื่อป้อนตลาดในท้องถิ่นจำนวน 9 ชนิด คือ ข้าวโพด ฝักสด หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วเหลือง พืชผัก ถั่วลิสง และไร่นาส่วนผสม
5.2 ประสานงานกับภาคเอกชนในการจัดหาปัจจัยการผลิต การตลาด และส่งเสริมให้เกษตรกรทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า
5.3 พัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำและสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง โดยเกษตรกรจะต้องรับผิดชอบในการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรจัดหาปัจจัยการผลิตและดำเนินการด้านการตลาดได้เอง
5.4 พัฒนาบุคลากร เกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความรู้เรื่องการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมและดูงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 5 พฤศจิกายน 2539--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานผลการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินทร สรุปได้ดังนี้
1. การขุดคูคลองระบายน้ำควรจะเป็นโครงการประเภทสูบน้ำและส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรของนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย โดยถือว่าเป็นโครงการใหม่ไม่เกี่ยวกับโครงการชลประทาน คาดว่าจะก่อสร้างได้ในปีงบประมาณ 2541 และในส่วนของโครงการชลประทานขนาดเล็กที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นิคมฯ จำนวน 4 โครงการ นั้น จะชะลอการก่อสร้างไว้ก่อน แต่จะดำเนินการเตรียมความพร้อมในเรื่องการสำรวจและออกแบบรายละเอียดซึ่งจะพิจารณาเป็นองค์ประกอบของระบบส่งน้ำโดยท่อในลักษณะของที่พักน้ำ
2.ในเรื่องการจัดรูปที่ดินมีความเหมาะสมกับโครงการของเขื่อนสิรินธรเนื่องจากเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการกระจายน้ำชลประทาน ถนนลำเลียงผลผลิตและปัจจัยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมต่อเนื่องในด้านการดูแลรักษาและการพัฒนาเกษตรครบวงจร ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดรูปที่ดินเป็นแปลงตัวอย่างประมาณ 1,000 ไร่ เรียบร้อยแล้ว
2.2 ในปีงบประมาณ 2540 - 2541 จะดำเนินการจัดประชุมแกนนำเกษตรกรโดยพาไปดูงานจัดรูปที่ดินที่ดำเนินการไปแล้ว และประชุมเกษตรกรบริเวณแปลงตัวอย่างพร้อมกับการบันทึกยินยอม/ไม่ยินยอม ในการจัดรูปที่ดินการขออนุมัติวางโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดิน พ.ศ. 2517 ต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
2.3 แผนงานจัดรูปที่ดินในปีงบประมาณ 2542 - 2544 แบ่งได้ดังนี้
1) ปี 2542 จำนวน 5,000 ไร่
2) ปี 2543 จำนวน 10,000 ไร่
3) ปี 2544 จำนวน 10,000 ไร่
3. จะได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคและกระบือ ซึ่งประกอบด้วย
3.1 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมือง โดยการสนับสนุนโคเพศเมียพันธุ์พื้นเมืองให้เกษตรกรยืมเพื่อการผลิตจำนวน 345 ราย ๆ ละ 5 ตัว รวม 1,725 ตัว และสนับสนุนพ่อพันธุ์โคพันธุ์ผสมบราห์มัน จำนวน 69 ตัว ดังนี้
1) อำเภอสิรินธร เกษตรกร 265 ราย โคแม่พันธุ์ 1,325 ตัว โคพ่อพันธุ์ 56 ตัว
2) อำเภอบุณฑริก เกษตรกร 36 ราย โคแม่พันธุ์ 180 ตัว โคพ่อพันธุ์ 6 ตัว
3) อำเภอพิบูลมังสาหาร เกษตรกร 44 ราย โคแม่พันธุ์ 220 ตัว โคพ่อพันธุ์ 7 ตัว
3.2 โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยให้การสนับสนุนโค - กระบือแก่เกษตรกรยืมเพื่อการผลิตตามระเบียบของโครงการ ดังนี้
1) อำเภอสิรินธร โค 20 ตัว/ราย และกระบือ 230 ตัว/ราย
2) อำเภอบุณฑริก กระบือ 12 ตัว/ราย
3) อำเภอพิบูลมังสาหาร โค 4 ตัว/ราย และกระบือ 7 ตัว/ราย
นอกจากนั้นจะได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางส่งเสริมอาชีพด้านการปศุสัตว์แขนงอื่น ๆ
4. ได้เข้าไปดำเนินการสำรวจดินและมีข้อมูลดิน ปรากฏว่าสภาพโดยทั่วไปพื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีการชะล้างพังทลายและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งต้องดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้พื้นที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก และได้มอบให้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด เพื่อร่วมปรึกษาหารือในการจัดทำแผนงานดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
5. ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพเกษตรให้แก่ราษฎร ดังนี้
5.1 สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมี ประมาณไร่ละ700 บาท เน้นการส่งเสริมการปลูกพืชตามสัญญาข้อตกลงล่วงหน้าและการปลูกพืชเพื่อป้อนตลาดในท้องถิ่นจำนวน 9 ชนิด คือ ข้าวโพด ฝักสด หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วเหลือง พืชผัก ถั่วลิสง และไร่นาส่วนผสม
5.2 ประสานงานกับภาคเอกชนในการจัดหาปัจจัยการผลิต การตลาด และส่งเสริมให้เกษตรกรทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า
5.3 พัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำและสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง โดยเกษตรกรจะต้องรับผิดชอบในการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรจัดหาปัจจัยการผลิตและดำเนินการด้านการตลาดได้เอง
5.4 พัฒนาบุคลากร เกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความรู้เรื่องการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมและดูงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 5 พฤศจิกายน 2539--