คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีดังนี้
1. มหาวิทยาลัยนเรศวรมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
2. มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยอาจแบ่งส่วนงานเป็น สำนักงานมหาวิทยาลัย วิทยาเขต และสถาบัน และอาจมีส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าส่วนงานดังกล่าว
3. ในกรณีที่มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะดำเนินการรัฐต้องจัดสรรงบประมาณ นอกจากเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอื่น ๆ แก่มหาวิทยาลัยเพื่อให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ได้
4. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดไม่อาจยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และการจัดการเงินและทรัพย์สินซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขที่ผู้อุทิศกำหนด ต้องได้รับความยินยอมจากผู้อุทิศหรือทายาท หากไม่ปรากฏบุคคลดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย
5. ให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการบริหาร โดยให้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก
6. กำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย เว้นแต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรืออาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ถอดถอน ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเภทนั้น ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
7. ให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของมหาวิทยาลัยและอาจมีรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี ตามจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด โดยให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งรองอธิการบดีตามคำแนะนำของอธิการบดี ให้มีคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย สภาพนักงาน และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นองค์กรที่ปรึกษาของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี
8. กำหนดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินส่วนงาน การดำเนินงานโดยรวมของมหาวิทยาลัย และหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดผลของหลักสูตรนั้น
9. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย และเป็นผู้เสนอเรื่องของมหาวิทยาลัยต่อคณะรัฐมนตรี
10. มหาวิทยาลัยมีอำนาจกำหนดครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะให้กับผู้ได้รับวุฒิการศึกษาที่กำหนด รวมทั้งตรา เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงานของมหาวิทยาลัย และเครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือ เครื่องแต่งกายของนิสิตและผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยได้ โดยทำเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
11. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน เงินงบประมาณ และรายได้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรมาเป็นของมหาวิทยาลัยนเรศวรตามพระราชบัญญัตินี้
12. กำหนดมาตรการรองรับข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ การรับเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของข้าราชการและลูกจ้าง สิทธิการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และสิทธิการเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้าง
13. กำหนดมาตรการรองรับสิทธิของข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ และพนักงานของมหาวิทยาลัย ที่แสดงเจตนาโอนมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนสวัสดิการ และประโยชน์อย่างอื่นไม่น้อยกว่าเดิม และให้ถือว่าผู้นั้นออกจากงานเพราะทางราชการยุบเลิกตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและได้รับบำเหน็จตามกฎหมายและกำหนดให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีดังนี้
1. มหาวิทยาลัยนเรศวรมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
2. มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยอาจแบ่งส่วนงานเป็น สำนักงานมหาวิทยาลัย วิทยาเขต และสถาบัน และอาจมีส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าส่วนงานดังกล่าว
3. ในกรณีที่มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะดำเนินการรัฐต้องจัดสรรงบประมาณ นอกจากเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอื่น ๆ แก่มหาวิทยาลัยเพื่อให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ได้
4. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดไม่อาจยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และการจัดการเงินและทรัพย์สินซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขที่ผู้อุทิศกำหนด ต้องได้รับความยินยอมจากผู้อุทิศหรือทายาท หากไม่ปรากฏบุคคลดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย
5. ให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการบริหาร โดยให้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก
6. กำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย เว้นแต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรืออาจได้รับเลือกใหม่อีกได้ โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ถอดถอน ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเภทนั้น ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
7. ให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของมหาวิทยาลัยและอาจมีรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี ตามจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด โดยให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งรองอธิการบดีตามคำแนะนำของอธิการบดี ให้มีคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย สภาพนักงาน และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นองค์กรที่ปรึกษาของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี
8. กำหนดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินส่วนงาน การดำเนินงานโดยรวมของมหาวิทยาลัย และหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดผลของหลักสูตรนั้น
9. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย และเป็นผู้เสนอเรื่องของมหาวิทยาลัยต่อคณะรัฐมนตรี
10. มหาวิทยาลัยมีอำนาจกำหนดครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะให้กับผู้ได้รับวุฒิการศึกษาที่กำหนด รวมทั้งตรา เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงานของมหาวิทยาลัย และเครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือ เครื่องแต่งกายของนิสิตและผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยได้ โดยทำเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
11. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน เงินงบประมาณ และรายได้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรมาเป็นของมหาวิทยาลัยนเรศวรตามพระราชบัญญัตินี้
12. กำหนดมาตรการรองรับข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ การรับเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของข้าราชการและลูกจ้าง สิทธิการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และสิทธิการเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้าง
13. กำหนดมาตรการรองรับสิทธิของข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ และพนักงานของมหาวิทยาลัย ที่แสดงเจตนาโอนมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนสวัสดิการ และประโยชน์อย่างอื่นไม่น้อยกว่าเดิม และให้ถือว่าผู้นั้นออกจากงานเพราะทางราชการยุบเลิกตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและได้รับบำเหน็จตามกฎหมายและกำหนดให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--