ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ในการตั้งชื่อสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองว่า "สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์" และนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต่อไป เนื่องจากกรมโยธาธิการได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล. ข้ามแม่น้ำแม่กลองเชื่อมระหว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา กับเขตเทศบาลตำบลอำพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2537 และสิ้นสุดสัญญาเดือนธันวาคม 2539 ซึ่งที่ประชุมจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณา แล้วเห็นว่า เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกร จึงได้พิจารณาคัดเลือกชื่อสะพานเป็นจำนวน 5 ชื่อเพื่อตั้งเป็นชื่อสะพานดังกล่าวและกรมศิลปากรได้พิจารณารายชื่อสะพานทั้ง5 แล้ว เห็นว่าพระนาม ลำดับที่ 2 คือ "สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์" เหมาะสมที่สุดทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และความสอดคล้องกับชื่อ สะพานที่มีอยู่เดิม คือ ในแง่ประวัติศาสตร์ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพ ณ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นสถานที่ตามเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และสอดคล้องกับชื่อ สะพานเดิม คือ สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า และสะพานสมเด็จพระอมรินทร์ ซึ่งได้ตั้งชื่อเป็นพระนาม ย่อเช่นเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 5 กันยายน 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ในการตั้งชื่อสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองว่า "สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์" และนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต่อไป เนื่องจากกรมโยธาธิการได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล. ข้ามแม่น้ำแม่กลองเชื่อมระหว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา กับเขตเทศบาลตำบลอำพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2537 และสิ้นสุดสัญญาเดือนธันวาคม 2539 ซึ่งที่ประชุมจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณา แล้วเห็นว่า เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกร จึงได้พิจารณาคัดเลือกชื่อสะพานเป็นจำนวน 5 ชื่อเพื่อตั้งเป็นชื่อสะพานดังกล่าวและกรมศิลปากรได้พิจารณารายชื่อสะพานทั้ง5 แล้ว เห็นว่าพระนาม ลำดับที่ 2 คือ "สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์" เหมาะสมที่สุดทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และความสอดคล้องกับชื่อ สะพานที่มีอยู่เดิม คือ ในแง่ประวัติศาสตร์ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพ ณ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นสถานที่ตามเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และสอดคล้องกับชื่อ สะพานเดิม คือ สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า และสะพานสมเด็จพระอมรินทร์ ซึ่งได้ตั้งชื่อเป็นพระนาม ย่อเช่นเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 5 กันยายน 2538--