ทำเนียบรัฐบาล--22 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้ออกจากงาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้โดยมีหลักการ เป้าหมาย วิธีการ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปรับปรุงดังนี้
1. หลักการ กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งออกตามความในกฎหมาย ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ปัจจุบันกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยสำหรับการออกจากงานตามช่วงระยะเวลาที่ทำงานตั้งแต่ 1 เดือน จนถึง 10 เดือน เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ แต่ไม่จำกัดเกณฑ์ค่าชดเชยขั้นสูงไว้ โดยในการบรรเทาภาระภาษีเงินได้ของผู้ที่ถูกให้ออกจากงานจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเนื่องจากเหตุที่ต้องออกจากงาน โดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างหรือพนักงาน และโดยมิใช่ความสมัครใจของลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้องออกจากงานดังกล่าว
(2) เงินค่าชดเชยที่จะได้รับยกเว้นตาม (1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย และไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้เพื่อปิดช่องโหว่ กรณีผู้ที่ออกจากงานโดยสมัครใจ
(3) สนับสนุนให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นี้เป็นแบบถาวร โดยให้มีผลสำหรับเงินชดเชยที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
2. เป้าหมาย การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งออกตามความในกฎหมาย ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มีเป้าหมายคือ
(1) เป็นการบรรเทาภาระเงินได้ให้กับผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน โดยไม่มีความผิด
(2) เป็นการใช้นโยบายภาษีทางภาษีเพื่อช่วยเหลือสังคม เพื่อเป็นการชดเชยให้กับกลุ่มผู้มีเงินได้เหล่านี้ ซึ่งเคยมีรายได้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ
(3) เป็นการช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้โดยผู้ออกจากงานเหล่านี้จะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการบริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการผลิตและการจ้างงานต่อไป
3. วิธีการ การกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อให้การยกเว้นภาษีข้างต้นจะต้องมีการดำเนินการโดยการตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยตราเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
4. รายละเอียดข้อเสนอ กรณีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานข้างต้นจะต้องมีการตราเป็น กฎกระทรวงเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ธันวาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้ออกจากงาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้โดยมีหลักการ เป้าหมาย วิธีการ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปรับปรุงดังนี้
1. หลักการ กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งออกตามความในกฎหมาย ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ปัจจุบันกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยสำหรับการออกจากงานตามช่วงระยะเวลาที่ทำงานตั้งแต่ 1 เดือน จนถึง 10 เดือน เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ แต่ไม่จำกัดเกณฑ์ค่าชดเชยขั้นสูงไว้ โดยในการบรรเทาภาระภาษีเงินได้ของผู้ที่ถูกให้ออกจากงานจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเนื่องจากเหตุที่ต้องออกจากงาน โดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างหรือพนักงาน และโดยมิใช่ความสมัครใจของลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้องออกจากงานดังกล่าว
(2) เงินค่าชดเชยที่จะได้รับยกเว้นตาม (1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย และไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้เพื่อปิดช่องโหว่ กรณีผู้ที่ออกจากงานโดยสมัครใจ
(3) สนับสนุนให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นี้เป็นแบบถาวร โดยให้มีผลสำหรับเงินชดเชยที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
2. เป้าหมาย การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งออกตามความในกฎหมาย ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มีเป้าหมายคือ
(1) เป็นการบรรเทาภาระเงินได้ให้กับผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน โดยไม่มีความผิด
(2) เป็นการใช้นโยบายภาษีทางภาษีเพื่อช่วยเหลือสังคม เพื่อเป็นการชดเชยให้กับกลุ่มผู้มีเงินได้เหล่านี้ ซึ่งเคยมีรายได้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ
(3) เป็นการช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้โดยผู้ออกจากงานเหล่านี้จะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการบริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการผลิตและการจ้างงานต่อไป
3. วิธีการ การกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อให้การยกเว้นภาษีข้างต้นจะต้องมีการดำเนินการโดยการตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยตราเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
4. รายละเอียดข้อเสนอ กรณีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานข้างต้นจะต้องมีการตราเป็น กฎกระทรวงเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ธันวาคม 2541--