คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งเสริม สื่อสร้างสรรค์สังคมไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งรัดการดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายได้ดำเนินงาน ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย ครั้งที่ 1 / 2548 มีความก้าวหน้าดังนี้
1. การเร่งรัดการป้องกันและปราบปราม
1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจบริหารจัดการการป้องกันปราบปรามสื่อลามกอนาจาร (ศบปส.) โดยให้ประชาชนแจ้งเบาะแสหมายเลข 02 — 205 — 1445 และ 02 — 251 — 8967 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และได้ดำเนินการ X-RAY สื่อลามกทั่วทุกพื้นที่ โดยได้จับกุมสิ่งพิมพ์ลามกจำนวน 7,613 เล่ม แผ่น CD ลามก 2,802 แผ่น แท่นพิมพ์ 1 เครื่อง ใน 4 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 1 — 19 ธันวาคม 2548)
2) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้จัดทำร่างบันทึกข้อตกลง ว่าด้วย ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม กับผู้ประกอบการ ISP ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดวันลงนาม นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้ลงนามร่วมกับผู้จัดทำเว็บไซต์ชั้นนำ 30 ราย ในการติดตั้ง Source Cyber Clean เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมแจ้งเบาะแสผ่าน www.cyberclean.org ซึ่งได้ดำเนินการปิดกั้นไปแล้ว 3,000 เว็บไซต์
2. การรณรงค์ผ่านสื่อ กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกสถาบันที่เปิดสอนสาขานิเทศศาสตร์จำนวน 16 สถาบัน ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยพร้อมให้ความร่วมมือจัดทำรายการรูปแบบสารคดีชุดเด็กไทยเด็กดี โดยให้นักศึกษาร่วมผลิตและดำเนินรายการ
3. การดำเนินงานในระยะต่อไป
1) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งดำเนินการปราบปรามสื่อลามกทุกประเภทให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
2) ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เร่งดำเนินการในการปิดเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมทั้งในและต่างประเทศให้หมดสิ้นโดยเร็ว
3) ให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาคัดเลือกสถาบันการศึกษา และองค์กรภาคเอกชนที่จะเป็นผู้ผลิตรายการสื่อสร้างสรรค์ โดยให้รัฐวิสาหกิจจัดสรรรายได้ ส่วนหนึ่งมาสนับสนุนการผลิต
4) ให้กระทรวงวัฒนธรรม จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดระดับความเหมาะสมของสื่อแต่ละประเภท (Rating) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
5) ให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยและกรมประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์การสร้างสื่อสร้างสรรค์ โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามข้อ 1) และ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และรายงานต่อสาธารณชนในงานวันเด็กแห่งชาติ (วันที่ 14 มกราคม 2549)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายได้ดำเนินงาน ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมไทย ครั้งที่ 1 / 2548 มีความก้าวหน้าดังนี้
1. การเร่งรัดการป้องกันและปราบปราม
1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจบริหารจัดการการป้องกันปราบปรามสื่อลามกอนาจาร (ศบปส.) โดยให้ประชาชนแจ้งเบาะแสหมายเลข 02 — 205 — 1445 และ 02 — 251 — 8967 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และได้ดำเนินการ X-RAY สื่อลามกทั่วทุกพื้นที่ โดยได้จับกุมสิ่งพิมพ์ลามกจำนวน 7,613 เล่ม แผ่น CD ลามก 2,802 แผ่น แท่นพิมพ์ 1 เครื่อง ใน 4 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 1 — 19 ธันวาคม 2548)
2) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้จัดทำร่างบันทึกข้อตกลง ว่าด้วย ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม กับผู้ประกอบการ ISP ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดวันลงนาม นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้ลงนามร่วมกับผู้จัดทำเว็บไซต์ชั้นนำ 30 ราย ในการติดตั้ง Source Cyber Clean เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมแจ้งเบาะแสผ่าน www.cyberclean.org ซึ่งได้ดำเนินการปิดกั้นไปแล้ว 3,000 เว็บไซต์
2. การรณรงค์ผ่านสื่อ กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกสถาบันที่เปิดสอนสาขานิเทศศาสตร์จำนวน 16 สถาบัน ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยพร้อมให้ความร่วมมือจัดทำรายการรูปแบบสารคดีชุดเด็กไทยเด็กดี โดยให้นักศึกษาร่วมผลิตและดำเนินรายการ
3. การดำเนินงานในระยะต่อไป
1) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งดำเนินการปราบปรามสื่อลามกทุกประเภทให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
2) ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เร่งดำเนินการในการปิดเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมทั้งในและต่างประเทศให้หมดสิ้นโดยเร็ว
3) ให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาคัดเลือกสถาบันการศึกษา และองค์กรภาคเอกชนที่จะเป็นผู้ผลิตรายการสื่อสร้างสรรค์ โดยให้รัฐวิสาหกิจจัดสรรรายได้ ส่วนหนึ่งมาสนับสนุนการผลิต
4) ให้กระทรวงวัฒนธรรม จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดระดับความเหมาะสมของสื่อแต่ละประเภท (Rating) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
5) ให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยและกรมประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์การสร้างสื่อสร้างสรรค์ โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามข้อ 1) และ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และรายงานต่อสาธารณชนในงานวันเด็กแห่งชาติ (วันที่ 14 มกราคม 2549)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--