ทำเนียบรัฐบาล-9 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการโครงการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการ สาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธรณสุข เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ รวมทั้งจัดจ้างก่อสร้าง อาคารต่าง ๆ ให้แก่สถานบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคทุกระดับ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขร่วม กับกระะทรวงการคลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาแห่งเงิน ทั้งที่เป็นงบประมาณและเงินกู้ที่มีเงื่อนไขการชำระเงินที่ผ่อน ปรนอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมีการผ่อนชำระคืนระยะยาว เป็นค่าก่อสร้างที่จำเป็นและขาดแคลนในวงเงิน ประมาณ 9,735,906,000 บาท ดังนี้
1. โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ในวงเงิน 4,331,349,000 บาท
2. โรงพยาบาลชุมชน ในวงเงิน 2,851,997,000 บาท
3. สถานีอนามัย ในวงเงิน 2,552,560,000 บาท
นอกจากนี้ ให้รับข้อสังเกตไปดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานที่ และพิจารณากำหนดพื้นที่ เป้าหมายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาให้ชัดเจน
2. ควรเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการแพทย์ และสาธารณสุขควบคู่ไปกับการ ปรับแผนอัตรากำลัง และการพัฒนาระบบเครือข่ายการให้บริการเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. ควรให้มีการประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ สถานบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค และรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ทั้งนี้ ในการจัดซื้อครุภัณฑ์จากต่างประเทศให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการต่อรองให้ ประเทศผู้ขายสินค้าในลักษณะต่างตอบแทนด้วย
เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ซึ่งส่งผลกระทบให้ความ ต้องการด้านบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น ทำให้แบบแผนการเจ็บป่วยเปลี่ยนแปลงจาก เดิมที่เป็นโรคติดเชื้อเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสาธารณสุข กลายเป็นโรคไม่ติดเชื้อที่ทวีความสำคัญมากขึ้น ร่วมกับปัญหาสุขภาพจิต และอุบัติเหตุในขณะที่โรคติดเชื้อก็ยังไม่ถูกขจัดให้หมดไป และโรคที่เป็นปัญหาสำ คัญมีลักษณะเรื้อรังมากขึ้น ปรากฎว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนได้รับ การกระตุ้นจากแบบอย่างการให้บริการโดยภาคเอกชน จากปัญหาและความต้องการของประชาชนต่อ บริการ และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้อง เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเพื่อให้สอด คล้องกับมาตรฐานการให้บริการ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้ประชาชนในส่วนภูมิภาค มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเดินทางไปรับบริการใน สถานบริการสาธารณสุขในกรุงเทพมหานครโดยไม่จำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการโครงการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการ สาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธรณสุข เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ รวมทั้งจัดจ้างก่อสร้าง อาคารต่าง ๆ ให้แก่สถานบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคทุกระดับ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขร่วม กับกระะทรวงการคลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาแห่งเงิน ทั้งที่เป็นงบประมาณและเงินกู้ที่มีเงื่อนไขการชำระเงินที่ผ่อน ปรนอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมีการผ่อนชำระคืนระยะยาว เป็นค่าก่อสร้างที่จำเป็นและขาดแคลนในวงเงิน ประมาณ 9,735,906,000 บาท ดังนี้
1. โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ในวงเงิน 4,331,349,000 บาท
2. โรงพยาบาลชุมชน ในวงเงิน 2,851,997,000 บาท
3. สถานีอนามัย ในวงเงิน 2,552,560,000 บาท
นอกจากนี้ ให้รับข้อสังเกตไปดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานที่ และพิจารณากำหนดพื้นที่ เป้าหมายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาให้ชัดเจน
2. ควรเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการแพทย์ และสาธารณสุขควบคู่ไปกับการ ปรับแผนอัตรากำลัง และการพัฒนาระบบเครือข่ายการให้บริการเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. ควรให้มีการประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ สถานบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค และรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ทั้งนี้ ในการจัดซื้อครุภัณฑ์จากต่างประเทศให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการต่อรองให้ ประเทศผู้ขายสินค้าในลักษณะต่างตอบแทนด้วย
เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ซึ่งส่งผลกระทบให้ความ ต้องการด้านบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น ทำให้แบบแผนการเจ็บป่วยเปลี่ยนแปลงจาก เดิมที่เป็นโรคติดเชื้อเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสาธารณสุข กลายเป็นโรคไม่ติดเชื้อที่ทวีความสำคัญมากขึ้น ร่วมกับปัญหาสุขภาพจิต และอุบัติเหตุในขณะที่โรคติดเชื้อก็ยังไม่ถูกขจัดให้หมดไป และโรคที่เป็นปัญหาสำ คัญมีลักษณะเรื้อรังมากขึ้น ปรากฎว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนได้รับ การกระตุ้นจากแบบอย่างการให้บริการโดยภาคเอกชน จากปัญหาและความต้องการของประชาชนต่อ บริการ และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้อง เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเพื่อให้สอด คล้องกับมาตรฐานการให้บริการ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้ประชาชนในส่วนภูมิภาค มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเดินทางไปรับบริการใน สถานบริการสาธารณสุขในกรุงเทพมหานครโดยไม่จำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537--