ทำเนียบรัฐบาล--2 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนัก-เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการ สรุปได้ดังนี้
1. ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน มีความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ ได้แก่
1.1 การจัดทำแผนที่ทางวิชาการ
- จัดทำแผนที่แสดงข้อจำกัดในการกำหนดเขตให้และห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาตราส่วน 1 : 250,000 จำนวน 41จังหวัด โดยแจกจ่ายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแจกจ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- จัดทำแผนที่กำหนดเขตความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาตราส่วน 1 : 50,000 จำนวน 25 จังหวัด 1.2 การฟื้นฟูสภาพพื้นที่นากุ้งร้าง จัดทำโครงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยของบประมาณ 2 แห่ง คือ
1) โครงการแก้ไขปัญหาจากการยกเลิกการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดของ 3 หน่วยงานได้แก่ กรมประมง (ด้านประมง) กรมพัฒนาที่ดิน (ด้านฟื้นฟูที่ดิน) และกรมส่งเสริมการเกษตร (ด้านปศุสัตว์และพืช) จากกองทุนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่งการพิจารณางบประมาณ 107.71 ล้านบาท
2) โครงการฟื้นฟูที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป้าหมาย 700 ไร่ เสนอขอตั้งงบประมาณ 35.15 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดิน
2. ในส่วนของกรมประมง มีความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ ได้แก่
2.1 การกำหนดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
2.2 การจัดตั้งกองทุนวิจัยแลพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งอยู่ในช่วงการร่างระเบียบโครงการจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกรมบัญชีกลาง
2.3 ให้มีคำสั่งกรมประมง ที่ 903/2542 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี
3. ในส่วนของกรมชลประทาน มีความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำอยู่นอกเขตชลประทาน เมื่อกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำร้องขอให้จัดสรรน้ำชลประทานให้ จะพิจารณาปรับปรุงระบบชลประทาน การจัดสรรน้ำชลประทานให้บริเวณนั้น ๆ ตามศักยภาพน้ำต้นทุนที่มี โดยให้ติดต่อกับโครงการชลประทานในพื้นที่โดยตรง
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่ากุ้งกุลาดำเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ มีมูลค่าส่งออกสูงมาก การจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาราคากุ้งและการรักษาตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มของการแข่งขันที่รุนแรง จึงเห็นควรเร่งรัดให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนัก-เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการ สรุปได้ดังนี้
1. ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน มีความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ ได้แก่
1.1 การจัดทำแผนที่ทางวิชาการ
- จัดทำแผนที่แสดงข้อจำกัดในการกำหนดเขตให้และห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาตราส่วน 1 : 250,000 จำนวน 41จังหวัด โดยแจกจ่ายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแจกจ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- จัดทำแผนที่กำหนดเขตความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาตราส่วน 1 : 50,000 จำนวน 25 จังหวัด 1.2 การฟื้นฟูสภาพพื้นที่นากุ้งร้าง จัดทำโครงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยของบประมาณ 2 แห่ง คือ
1) โครงการแก้ไขปัญหาจากการยกเลิกการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดของ 3 หน่วยงานได้แก่ กรมประมง (ด้านประมง) กรมพัฒนาที่ดิน (ด้านฟื้นฟูที่ดิน) และกรมส่งเสริมการเกษตร (ด้านปศุสัตว์และพืช) จากกองทุนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่งการพิจารณางบประมาณ 107.71 ล้านบาท
2) โครงการฟื้นฟูที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป้าหมาย 700 ไร่ เสนอขอตั้งงบประมาณ 35.15 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดิน
2. ในส่วนของกรมประมง มีความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ ได้แก่
2.1 การกำหนดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
2.2 การจัดตั้งกองทุนวิจัยแลพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งอยู่ในช่วงการร่างระเบียบโครงการจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกรมบัญชีกลาง
2.3 ให้มีคำสั่งกรมประมง ที่ 903/2542 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี
3. ในส่วนของกรมชลประทาน มีความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำอยู่นอกเขตชลประทาน เมื่อกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำร้องขอให้จัดสรรน้ำชลประทานให้ จะพิจารณาปรับปรุงระบบชลประทาน การจัดสรรน้ำชลประทานให้บริเวณนั้น ๆ ตามศักยภาพน้ำต้นทุนที่มี โดยให้ติดต่อกับโครงการชลประทานในพื้นที่โดยตรง
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่ากุ้งกุลาดำเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ มีมูลค่าส่งออกสูงมาก การจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาราคากุ้งและการรักษาตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มของการแข่งขันที่รุนแรง จึงเห็นควรเร่งรัดให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542--