แท็ก
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงศึกษาธิการ
พระพุทธศาสนา
คณะรัฐมนตรี
จุฬา
ทำเนียบรัฐบาล--24 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติมหา วิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการ พระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้วและอยู่ระหว่างรอการพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน
สรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวมี ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นนิติบุคคลอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัยส่ง เสริม และให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. มหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือ กฎหมายอื่น
3. กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ผู้ปฏิบัติงาน ของมหาวิทยาลัยต้องได้รับการคุ้มครองแรงงานไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ให้กระทรวงการคลังมี อำนาจค้ำประกันหนี้เงินกู้ หรือหนี้ใด ๆ ของมหาวิทยาลัยได้เสมือนมหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจ กระทรวงการคลังในการค้ำประกัน
4. ให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย รายได้ ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ใน กรณีรายได้ไม่เพียงพอให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินให้แก่มหาวิทยาลัยเท่าจำนวนที่จำเป็น
5. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยได้
6. ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์พิเศษ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย
7. ปริญญามีสามชั้น คือ ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี
สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขความในมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกำหนด วิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 ดังนี้
1. วิชาการพระพุทธศาสนา คือ วิชาการซึ่งจัดให้พระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง
2. ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงเปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี
3. อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 24 ธันวาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติมหา วิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการ พระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้วและอยู่ระหว่างรอการพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน
สรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวมี ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นนิติบุคคลอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัยส่ง เสริม และให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. มหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือ กฎหมายอื่น
3. กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ผู้ปฏิบัติงาน ของมหาวิทยาลัยต้องได้รับการคุ้มครองแรงงานไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ให้กระทรวงการคลังมี อำนาจค้ำประกันหนี้เงินกู้ หรือหนี้ใด ๆ ของมหาวิทยาลัยได้เสมือนมหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจ กระทรวงการคลังในการค้ำประกัน
4. ให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย รายได้ ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ใน กรณีรายได้ไม่เพียงพอให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินให้แก่มหาวิทยาลัยเท่าจำนวนที่จำเป็น
5. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยได้
6. ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์พิเศษ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย
7. ปริญญามีสามชั้น คือ ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี
สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขความในมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกำหนด วิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 ดังนี้
1. วิชาการพระพุทธศาสนา คือ วิชาการซึ่งจัดให้พระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง
2. ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงเปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี
3. อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 24 ธันวาคม 2539--