ทำเนียบรัฐบาล--26 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมติของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออก ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปัญหาค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูงกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ในเรื่องค่าจ้างแรงงานนั้นเป็นไปตามกลไกของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะปรับตามภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และรายได้ซึ่งเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานกลุ่มอื่นส่วนเรื่องประสิทธิภาพแรงงานนั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างแรงงานที่ปรับสูงขึ้น โดยการสนับสนุนให้สถานประกอบการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบการของตนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการฝึกอาชีพ ปี 2537 รวมทั้งการนำมาตรการทางภาษีมาจูงใจให้มีการลงทุนในการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่แรงงานของตนและทั่วไป
2. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทุกระดับฝีมือในเกือบทุกอุตสาหกรรมได้มีการเร่งรัดการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 เร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงานให้กำลังแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีศักยภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อให้สามารถพัฒนาฝีมือแรงงานได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน
2.2 ได้ประสานการดำเนินงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในระดับชาติ ด้วยกลไกของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) และในระดับจังหวัดด้วยกลไกของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) เพื่อให้สามารถผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในทุกระดับและทุกพื้นที่
2.3 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้มีนโยบายส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดฝึกอาชีพภายในกิจการหรือส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับสถานศึกษา จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาฝืมือแรงงานสนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
2.4 เพื่อให้การบริการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นไปอย่างทั่วถึงและสามารถรองรับโครงการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงมีโครงการจัดตั้งสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้วส่วนหนึ่งและคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ครบทุกจังหวัดในปีงบประมาณ 2541
3. ปัญหาคุณภาพฝีมือแรงงาน ได้มีการเร่งรัดการดำเนินการโดย
3.1 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานการศึกษาสายสามัญอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้แรงงานไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิตเพื่อส่งเสริมการส่งออก จึงจำเป็นที่จะต้องให้แรงงานไทยได้ยกระดับความรู้สายสามัญและได้ประสานงานกับกรมการศึกษานอกโรงเรียนให้สอนวิชาสามัญควบคู่ไปกับการฝึกวิชาชีพ เพื่อให้แรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมีคุณภาพพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีทักษะที่สูงขึ้น
3.2 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เร่งจัดทำหลักสูตรเพื่อสนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในสาขาช่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ขณะนี้มีหลักสูตรที่จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วและมีความพร้อมในการจัดฝึกจำนวน 250 หลักสูตร นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับกรมอาชีวศึกษาในการจัดหลักสูตรการฝึกให้แก่นักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. โดยมีการฝึกภาคปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเสริมให้นักศึกษาวิชาชีพมีทักษะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3.3 ในส่วนของการควบคุมคุณภาพฝีมือแรงงานนั้น ได้ดำเนินการจัดทดสอบความสามารถของช่างฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับวุฒิบัตรรับรองมาตรฐานฝีมือในสาขาช่างที่ทดสอบ ช่วยให้หางานทำได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในการทำงานและได้รับอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมกับระดับฝีมือ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 26 พฤศจิกายน 2539--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมติของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออก ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปัญหาค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูงกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ในเรื่องค่าจ้างแรงงานนั้นเป็นไปตามกลไกของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะปรับตามภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และรายได้ซึ่งเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานกลุ่มอื่นส่วนเรื่องประสิทธิภาพแรงงานนั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างแรงงานที่ปรับสูงขึ้น โดยการสนับสนุนให้สถานประกอบการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบการของตนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการฝึกอาชีพ ปี 2537 รวมทั้งการนำมาตรการทางภาษีมาจูงใจให้มีการลงทุนในการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่แรงงานของตนและทั่วไป
2. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทุกระดับฝีมือในเกือบทุกอุตสาหกรรมได้มีการเร่งรัดการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 เร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงานให้กำลังแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีศักยภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อให้สามารถพัฒนาฝีมือแรงงานได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน
2.2 ได้ประสานการดำเนินงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในระดับชาติ ด้วยกลไกของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) และในระดับจังหวัดด้วยกลไกของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) เพื่อให้สามารถผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในทุกระดับและทุกพื้นที่
2.3 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้มีนโยบายส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดฝึกอาชีพภายในกิจการหรือส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับสถานศึกษา จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาฝืมือแรงงานสนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
2.4 เพื่อให้การบริการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นไปอย่างทั่วถึงและสามารถรองรับโครงการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงมีโครงการจัดตั้งสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้วส่วนหนึ่งและคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ครบทุกจังหวัดในปีงบประมาณ 2541
3. ปัญหาคุณภาพฝีมือแรงงาน ได้มีการเร่งรัดการดำเนินการโดย
3.1 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานการศึกษาสายสามัญอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เพื่อให้แรงงานไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิตเพื่อส่งเสริมการส่งออก จึงจำเป็นที่จะต้องให้แรงงานไทยได้ยกระดับความรู้สายสามัญและได้ประสานงานกับกรมการศึกษานอกโรงเรียนให้สอนวิชาสามัญควบคู่ไปกับการฝึกวิชาชีพ เพื่อให้แรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมีคุณภาพพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีทักษะที่สูงขึ้น
3.2 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เร่งจัดทำหลักสูตรเพื่อสนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในสาขาช่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ขณะนี้มีหลักสูตรที่จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วและมีความพร้อมในการจัดฝึกจำนวน 250 หลักสูตร นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับกรมอาชีวศึกษาในการจัดหลักสูตรการฝึกให้แก่นักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. โดยมีการฝึกภาคปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเสริมให้นักศึกษาวิชาชีพมีทักษะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3.3 ในส่วนของการควบคุมคุณภาพฝีมือแรงงานนั้น ได้ดำเนินการจัดทดสอบความสามารถของช่างฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับวุฒิบัตรรับรองมาตรฐานฝีมือในสาขาช่างที่ทดสอบ ช่วยให้หางานทำได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในการทำงานและได้รับอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมกับระดับฝีมือ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 26 พฤศจิกายน 2539--