ทำเนียบรัฐบาล--30 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรายงานผลการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 และรายงานการปฏิบัติราชการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 ก่อนเสนอรัฐสภา พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสอบ โดยสรุปดังนี้
1. รายงานผลการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539
1.1 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการเงินทั่วไปของหน่วยงานของราชการส่วนกลาง หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค และหน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น รวม 3,510 แห่ง ปรากฏผลการตรวจสอบโดยสรุป ดังนี้
1) มีข้อบกพร่องที่สำคัญและสามารถคำนวณค่าเสียหายได้ ส่วนใหญ่เป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับเงินขาดบัญชี ไม่มีหลักฐานการจ่ายให้ตรวจสอบ เบิกเงินเกินสิทธิประเภทเงินสวัสดิการค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าตอบแทน
2) ข้อบกพร่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ คือ จัดทำบัญชีไม่เรียบร้อย และไม่ครบถ้วนตามระเบียบของทางราชการ ลูกหนี้เงินยืมค้างชำระนานเป็นจำนวนมาก บางรายยืมเงินมากเกินความจำเป็น หลักฐานการจ่ายไม่เรียบร้อย การบริหารและควบคุมพัสดุไม่รัดกุม
3) การควบคุมภายใน ผู้ตรวจสอบภายในยังปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน ไม่ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการรับจ่ายเงินที่บันทึกไว้ในบัญชี กับหลักฐานแต่ละวันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ มีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนเดียวกันทำหน้าที่รับจ่ายเงินและบันทึกบัญชี
โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะได้ดำเนินการใช้มาตรการเสริมเพื่อให้หน่วยรับตรวจปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสร้างเกณฑ์ชี้วัดเพื่อจัดกลุ่มหน่วยรับตรวจ แยกเป็นกลุ่มระดับดี ปานกลาง และต้องแก้ไข ซึ่งอาจจะให้มีการประกาศลำดับของการจัดกลุ่มดังกล่าวให้ทราบด้วย เพื่อกระตุ้นให้หน่วยรับตรวจที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องแก้ไขเร่งรัดปรับปรุงการทำงานเพื่อยกระดับให้ดีขึ้น ข้อมูลในการชี้วัดอาจจะพิจารณาจากความเพียงพอของระบบการตรวจทานภายใน ระบบการตรวจสอบภายใน และระบบการประเมินผลงานภายใน ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบ ตลอดจนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในรายงานการตรวจสอบ
1.2 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง และติดตามรายงานผลการตรวจสอบแผนฯ ของผู้ตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2539 สรุปได้ดังนี้
1) กระทรวงศึกษาธิการประมวลแผนฯ ไม่เสร็จ
2) บางหน่วยงานทำแผนฯ ไม่ครบถ้วนทุกรายการ บางหน่วยงานจัดทำแผนฯ โดยกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินงานข้ามปีงบประมาณทั้งที่มิใช่รายการงบผูกพัน สำหรับรายการงบผูกพันหลายปี มิได้แสดงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานในแผนฯ ประจำปี ทำให้ไม่อาจตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานแต่ละปีได้
3) ผลการดำเนินงานในแต่ละเดือนไม่เป็นไปตามแผนฯ ประมาณร้อยละ 20 - 30
4) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2539 ผู้ตรวจสอบภายในจัดส่งรายงานจำนวนน้อยมากโดยจากหน่วยงานที่จัดทำแผนฯ แล้วเสร็จทั้งสิ้น 164 หน่วยงาน มีหน่วยงานที่จัดส่งรายงานครบทุกเดือนเพียง 30 หน่วยงานคิดเป็นร้อยละ 18.42 และมี 23 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 14.02 มิได้จัดส่งรายงานเลย
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่าสาเหตุที่ส่วนราชการไม่สามารถใช้แผนฯ เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณ เพื่อลดการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีให้เหลือน้อยที่สุดได้ตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากระดับกระทรวงขาดการเร่งรัดติดตามหน่วยงานในสังกัดให้จัดทำแผนฯ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ระดับหน่วยงาน ขาดการเตรียมพร้อมในการจัดทำแผนฯ และการปฏิบัติตามแผนฯ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรายการจากที่กำหนดไว้ในแผนฯ จำนวนมาก ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถแก้ไขได้หากทุกส่วนราชการได้เตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนฯ และการปฏิบัติตามแผนฯ และผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ พร้อมทั้งเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนฯ ให้มากกว่าที่เป็นอยู่
2. รายงานการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 มีปัญหาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบ ดังนี้
2.1 การควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ ไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยต้องปฏิบัติตามระเบียบกลาง ซึ่งยังมิได้กำหนดหลักการให้ผู้บริหารใช้ดุลพินิจในการออกแบบหรือปรับปรุงระบบการควบคุม เป็นผลให้ประสิทธิผลการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่สูงเท่าที่ควร
2.2 การประเมินผลภายในของหน่วยรับตรวจ ไม่เป็นรูปธรรมตามที่ควร เนื่องจากหน่วยรับตรวจไม่มีมูลเป้าหมายและข้อมูลจริงที่จำเป็นต้องใช้ในกาารประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ความประหยัด และความคุ้มค่าของการใช้เงินและทรัพย์สินอื่น
2.3 การตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ปัจจุบันสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่อาจตรวจสอบสำนวนเพื่อประเมินภาษีอากรได้ เนื่องจากกรมสรรพากรได้ซ้อมความเข้าใจว่า "การตรวจสอบไม่รวมถึงการตรวจสอบสำนวนเพื่อประเมินภาษีอากร
2.4 การตรวจสอบหน่วยรับตรวจในสังกัดกระทรวงกลาโหม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะเข้าตรวจสอบได้ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงของหน่วยรับตรวจอนุญาต นอกจากนี้ยังไม่มีข้อยุติว่าจะตรวจสอบเงินราชการลับได้เพียงใดหรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ธันวาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรายงานผลการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 และรายงานการปฏิบัติราชการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 ก่อนเสนอรัฐสภา พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสอบ โดยสรุปดังนี้
1. รายงานผลการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539
1.1 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการเงินทั่วไปของหน่วยงานของราชการส่วนกลาง หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค และหน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น รวม 3,510 แห่ง ปรากฏผลการตรวจสอบโดยสรุป ดังนี้
1) มีข้อบกพร่องที่สำคัญและสามารถคำนวณค่าเสียหายได้ ส่วนใหญ่เป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับเงินขาดบัญชี ไม่มีหลักฐานการจ่ายให้ตรวจสอบ เบิกเงินเกินสิทธิประเภทเงินสวัสดิการค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าตอบแทน
2) ข้อบกพร่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ คือ จัดทำบัญชีไม่เรียบร้อย และไม่ครบถ้วนตามระเบียบของทางราชการ ลูกหนี้เงินยืมค้างชำระนานเป็นจำนวนมาก บางรายยืมเงินมากเกินความจำเป็น หลักฐานการจ่ายไม่เรียบร้อย การบริหารและควบคุมพัสดุไม่รัดกุม
3) การควบคุมภายใน ผู้ตรวจสอบภายในยังปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน ไม่ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการรับจ่ายเงินที่บันทึกไว้ในบัญชี กับหลักฐานแต่ละวันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ มีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนเดียวกันทำหน้าที่รับจ่ายเงินและบันทึกบัญชี
โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะได้ดำเนินการใช้มาตรการเสริมเพื่อให้หน่วยรับตรวจปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสร้างเกณฑ์ชี้วัดเพื่อจัดกลุ่มหน่วยรับตรวจ แยกเป็นกลุ่มระดับดี ปานกลาง และต้องแก้ไข ซึ่งอาจจะให้มีการประกาศลำดับของการจัดกลุ่มดังกล่าวให้ทราบด้วย เพื่อกระตุ้นให้หน่วยรับตรวจที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องแก้ไขเร่งรัดปรับปรุงการทำงานเพื่อยกระดับให้ดีขึ้น ข้อมูลในการชี้วัดอาจจะพิจารณาจากความเพียงพอของระบบการตรวจทานภายใน ระบบการตรวจสอบภายใน และระบบการประเมินผลงานภายใน ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบ ตลอดจนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในรายงานการตรวจสอบ
1.2 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง และติดตามรายงานผลการตรวจสอบแผนฯ ของผู้ตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2539 สรุปได้ดังนี้
1) กระทรวงศึกษาธิการประมวลแผนฯ ไม่เสร็จ
2) บางหน่วยงานทำแผนฯ ไม่ครบถ้วนทุกรายการ บางหน่วยงานจัดทำแผนฯ โดยกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินงานข้ามปีงบประมาณทั้งที่มิใช่รายการงบผูกพัน สำหรับรายการงบผูกพันหลายปี มิได้แสดงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานในแผนฯ ประจำปี ทำให้ไม่อาจตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานแต่ละปีได้
3) ผลการดำเนินงานในแต่ละเดือนไม่เป็นไปตามแผนฯ ประมาณร้อยละ 20 - 30
4) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2539 ผู้ตรวจสอบภายในจัดส่งรายงานจำนวนน้อยมากโดยจากหน่วยงานที่จัดทำแผนฯ แล้วเสร็จทั้งสิ้น 164 หน่วยงาน มีหน่วยงานที่จัดส่งรายงานครบทุกเดือนเพียง 30 หน่วยงานคิดเป็นร้อยละ 18.42 และมี 23 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 14.02 มิได้จัดส่งรายงานเลย
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่าสาเหตุที่ส่วนราชการไม่สามารถใช้แผนฯ เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณ เพื่อลดการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีให้เหลือน้อยที่สุดได้ตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากระดับกระทรวงขาดการเร่งรัดติดตามหน่วยงานในสังกัดให้จัดทำแผนฯ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ระดับหน่วยงาน ขาดการเตรียมพร้อมในการจัดทำแผนฯ และการปฏิบัติตามแผนฯ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรายการจากที่กำหนดไว้ในแผนฯ จำนวนมาก ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถแก้ไขได้หากทุกส่วนราชการได้เตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนฯ และการปฏิบัติตามแผนฯ และผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ พร้อมทั้งเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนฯ ให้มากกว่าที่เป็นอยู่
2. รายงานการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 มีปัญหาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบ ดังนี้
2.1 การควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ ไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยต้องปฏิบัติตามระเบียบกลาง ซึ่งยังมิได้กำหนดหลักการให้ผู้บริหารใช้ดุลพินิจในการออกแบบหรือปรับปรุงระบบการควบคุม เป็นผลให้ประสิทธิผลการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่สูงเท่าที่ควร
2.2 การประเมินผลภายในของหน่วยรับตรวจ ไม่เป็นรูปธรรมตามที่ควร เนื่องจากหน่วยรับตรวจไม่มีมูลเป้าหมายและข้อมูลจริงที่จำเป็นต้องใช้ในกาารประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ความประหยัด และความคุ้มค่าของการใช้เงินและทรัพย์สินอื่น
2.3 การตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ปัจจุบันสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่อาจตรวจสอบสำนวนเพื่อประเมินภาษีอากรได้ เนื่องจากกรมสรรพากรได้ซ้อมความเข้าใจว่า "การตรวจสอบไม่รวมถึงการตรวจสอบสำนวนเพื่อประเมินภาษีอากร
2.4 การตรวจสอบหน่วยรับตรวจในสังกัดกระทรวงกลาโหม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะเข้าตรวจสอบได้ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงของหน่วยรับตรวจอนุญาต นอกจากนี้ยังไม่มีข้อยุติว่าจะตรวจสอบเงินราชการลับได้เพียงใดหรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ธันวาคม 2540--