ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานสภาพคล่องและอัตรา
ดอกเบี้ย สรุปได้ดังนี้
สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2541 การแข่งขันระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จึงเริ่มลดลง
และเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง และลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเป็น
ต้นมา และหลังจากนั้นธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อด้วย โดยเฉพาะหลังจากทางการประกาศมาตรการ
แก้ไขปัญหาสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินดีขึ้นมาก ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบจึง
ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่
5 แห่ง ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.00 - 6.75 ต่อปีในขณะนี้ (24 พ.ย. 41) เทียบกับอัตราร้อยละ 10.00 - 12.00 ต่อปีเมื่อ
สิ้นเดือนมิถุนายน และอัตราดอกเบี้ย MLR ลดลงเหลือร้อยละ 11.75 - 13.25 ต่อปี จากอัตราร้อยละ 15.25 - 16.00 ต่อปี ใน
ช่วงเวลาเดียวกัน
การที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูงในขณะนี้ เนื่องจากเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ระดมได้นั้น แม้ส่วนหนึ่งจะนำไป
ชำระคืนหนี้เงินกู้อย่างต่อเนื่องแล้ว สภาพคล่องส่วนเกินก็ยังคงเหลืออยู่ เนื่องจากส่วนที่จะนำมาสร้างรายได้จากการปล่อยกู้กลับมี
ปริมาณลดน้อยลง อันเนื่องมาจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพราะในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงใน
ขณะนี้สินเชื่อที่จะปล่อยออกไปแนวโน้มมีแต่จะกลายเป็น NPL เพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ L/D Ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์จึงลดลงเป็น
ลำดับ โดยเฉพาะ L/D Ratio ที่ไม่รวมธุรกรรมของกิจการวิเทศธนกิจอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 100 แล้ว เทียบกับระดับร้อยละ
106 เมื่อสิ้นครึ่งแรกปี 2541 และร้อยละ 110 เมื่อสิ้นปี 2540
อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ไทยปรับสภาพคล่องส่วนเกินด้วยการนำเงินไปลงทุนในตลาด R/P แม้ผลตอบแทนจะอยู่ใน
เกณฑ์ต่ำเพียงร้อยละ 5.50 - 6.13 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 และเหลือร้อยละ 4.50 ต่อปี ในขณะนี้ก็ตาม เทียบกับที่เคยได้รับผลตอบ
แทนในอัตราร้อยละ 16.50 - 19.75 ต่อปีในครึ่งแรกปี 2541
การแก้ไขปัญหาภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง
ในครึ่งหลังปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาภาคธุรกิจขาดสภาพคล่องที่สำคัญ ได้แก่
1. ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน
วัตถุประสงค์ - เพื่อแก้ไขเพิ่มสภาพคล่องในระบบ ช่วยให้มีการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น
วิธีการ - เพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อจัดสรรเงินกู้เสริมสภาพคล่องแก่ภาค
เกษตรและภาคอุตสาหกรรม
- เพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ทรงตั๋วตามโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วสถาบันการเงิน 56 ราย
- สนับสนุนการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภค สินเชื่อกาารค้า และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
2. การแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ - สร้างความมั่นใจให้มีเงินทุนใหม่กลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน วิธีการ
- เร่งรัดกระบวนการประนอมหนี้ระหว่างภาคธุรกิจกับเจ้าหน้าที่ทั้งในและต่างประเทศ
- เร่งรัดกฎหมายล้มละลาย กฎหมายชำนัญพิเศษ และกฎหมายบังคับหลักประกัน
3. ปรับปรุงองค์ประกอบสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมระยะสั้นจากต่างประเทศต่ำกว่า 1 ปี
วัตถุประสงค์ - เพื่อลดต้นทุนของเงินในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน
วิธีการ - ให้ธนาคารพาณิชย์และ BIBF ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2
เป็นเงินสดไม่เกินร้อยละ 2.5 และส่วนที่เหลือเป็นหลักทรัพย์ภาครัฐ และให้บริษัทเงินทุนฯ ดำรง
เป็นเงินฝากที่ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 เป็นหลักทรัพย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 และส่วนที่เหลือ
เป็นเงินฝากธนาคาร บัตรเงินฝากธนาคารพาณิชย์ และเงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกแก่ธนาคาร จากเดิมที่
ต้องดำรงเป็นเงินฝากที่ ธปท. ทั้งหมด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6
4. ปรับปรุงองค์ประกอบการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
วัตถุประสงค์ - เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับสถาบันการเงิน
วิธีการ - ปรับลดอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์จากเดิมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 เป็นไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 4.25 และของบริษัทเงินทุนฯ จากเดิมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ทั้งนี้
อัตรารวมยังคงเท่าเดิม (ร้อยละ 8.5 สำหรับธนาคารพาณิชย์ และร้อยละ 8 สำหรับบริษัทเงินทุนฯ)
5. ปรับปรุงการดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ - เพื่อจูงใจให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามาลงทุนในสถาบันการเงินไทยเพิ่มมากขึ้น
วิธีการ - กำหนดให้สาขาธนาคารต่างประเทศดำรงสินทรัพย์ตามมาตรา 6 เพิ่มเติมได้ในรูปเงินลงทุนใน
นิติบุคคล ซึ่งในที่สุดจะนำไปลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานสภาพคล่องและอัตรา
ดอกเบี้ย สรุปได้ดังนี้
สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2541 การแข่งขันระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จึงเริ่มลดลง
และเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง และลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเป็น
ต้นมา และหลังจากนั้นธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อด้วย โดยเฉพาะหลังจากทางการประกาศมาตรการ
แก้ไขปัญหาสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินดีขึ้นมาก ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบจึง
ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่
5 แห่ง ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.00 - 6.75 ต่อปีในขณะนี้ (24 พ.ย. 41) เทียบกับอัตราร้อยละ 10.00 - 12.00 ต่อปีเมื่อ
สิ้นเดือนมิถุนายน และอัตราดอกเบี้ย MLR ลดลงเหลือร้อยละ 11.75 - 13.25 ต่อปี จากอัตราร้อยละ 15.25 - 16.00 ต่อปี ใน
ช่วงเวลาเดียวกัน
การที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูงในขณะนี้ เนื่องจากเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ระดมได้นั้น แม้ส่วนหนึ่งจะนำไป
ชำระคืนหนี้เงินกู้อย่างต่อเนื่องแล้ว สภาพคล่องส่วนเกินก็ยังคงเหลืออยู่ เนื่องจากส่วนที่จะนำมาสร้างรายได้จากการปล่อยกู้กลับมี
ปริมาณลดน้อยลง อันเนื่องมาจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพราะในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงใน
ขณะนี้สินเชื่อที่จะปล่อยออกไปแนวโน้มมีแต่จะกลายเป็น NPL เพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ L/D Ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์จึงลดลงเป็น
ลำดับ โดยเฉพาะ L/D Ratio ที่ไม่รวมธุรกรรมของกิจการวิเทศธนกิจอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 100 แล้ว เทียบกับระดับร้อยละ
106 เมื่อสิ้นครึ่งแรกปี 2541 และร้อยละ 110 เมื่อสิ้นปี 2540
อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ไทยปรับสภาพคล่องส่วนเกินด้วยการนำเงินไปลงทุนในตลาด R/P แม้ผลตอบแทนจะอยู่ใน
เกณฑ์ต่ำเพียงร้อยละ 5.50 - 6.13 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 และเหลือร้อยละ 4.50 ต่อปี ในขณะนี้ก็ตาม เทียบกับที่เคยได้รับผลตอบ
แทนในอัตราร้อยละ 16.50 - 19.75 ต่อปีในครึ่งแรกปี 2541
การแก้ไขปัญหาภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง
ในครึ่งหลังปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาภาคธุรกิจขาดสภาพคล่องที่สำคัญ ได้แก่
1. ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน
วัตถุประสงค์ - เพื่อแก้ไขเพิ่มสภาพคล่องในระบบ ช่วยให้มีการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น
วิธีการ - เพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อจัดสรรเงินกู้เสริมสภาพคล่องแก่ภาค
เกษตรและภาคอุตสาหกรรม
- เพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ทรงตั๋วตามโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วสถาบันการเงิน 56 ราย
- สนับสนุนการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภค สินเชื่อกาารค้า และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
2. การแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ - สร้างความมั่นใจให้มีเงินทุนใหม่กลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน วิธีการ
- เร่งรัดกระบวนการประนอมหนี้ระหว่างภาคธุรกิจกับเจ้าหน้าที่ทั้งในและต่างประเทศ
- เร่งรัดกฎหมายล้มละลาย กฎหมายชำนัญพิเศษ และกฎหมายบังคับหลักประกัน
3. ปรับปรุงองค์ประกอบสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมระยะสั้นจากต่างประเทศต่ำกว่า 1 ปี
วัตถุประสงค์ - เพื่อลดต้นทุนของเงินในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน
วิธีการ - ให้ธนาคารพาณิชย์และ BIBF ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2
เป็นเงินสดไม่เกินร้อยละ 2.5 และส่วนที่เหลือเป็นหลักทรัพย์ภาครัฐ และให้บริษัทเงินทุนฯ ดำรง
เป็นเงินฝากที่ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 เป็นหลักทรัพย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 และส่วนที่เหลือ
เป็นเงินฝากธนาคาร บัตรเงินฝากธนาคารพาณิชย์ และเงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกแก่ธนาคาร จากเดิมที่
ต้องดำรงเป็นเงินฝากที่ ธปท. ทั้งหมด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6
4. ปรับปรุงองค์ประกอบการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
วัตถุประสงค์ - เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับสถาบันการเงิน
วิธีการ - ปรับลดอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์จากเดิมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 เป็นไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 4.25 และของบริษัทเงินทุนฯ จากเดิมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ทั้งนี้
อัตรารวมยังคงเท่าเดิม (ร้อยละ 8.5 สำหรับธนาคารพาณิชย์ และร้อยละ 8 สำหรับบริษัทเงินทุนฯ)
5. ปรับปรุงการดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ - เพื่อจูงใจให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามาลงทุนในสถาบันการเงินไทยเพิ่มมากขึ้น
วิธีการ - กำหนดให้สาขาธนาคารต่างประเทศดำรงสินทรัพย์ตามมาตรา 6 เพิ่มเติมได้ในรูปเงินลงทุนใน
นิติบุคคล ซึ่งในที่สุดจะนำไปลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2541--