ทำเนียบรัฐบาล--21 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดห้ามติดหรือกำหนด ความเข้มของวัสดุเพื่อบังคับหรือกรองแสงแดด (ฟิล์มกรองแสง) ของรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ตามที่ กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.สมควรกำหนดให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคลติด ฟิล์มกรองแสงได้ ซึ่งเมื่อวัดรวมกับสีของกระจกแล้วแสงต้องผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
2.สมควรกำหนดห้ามมิให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการและรถยนต์ส่วน บุคคลติดฟิล์มกรองแสง ซึ่งเมื่อวัดรวมกับสีและแสงสะท้อนของกระจกแล้วก่อให้เกิดแสงสะท้อนเกินกว่า ร้อยละ 15
3.สมควรอนุญาตให้เจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถยนตร์อื่นเช่น รถพยาบาล หรือ รถยนต์ของบุคคลสำคัญที่มีความประสงค์จะติดฟิล์มกรองแสง หรือเครื่องหมาย หรือเอกสารอื่นใดที่แตก ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ให้ขออนุญาตได้เป็นการเฉพาะราย
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฏกระทรวงฉบับที่..(พ.ศ. ....) ออก ตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 (กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการวัสดุเพื่อบังหรือกรองแสง แดด(ฟิล์มกรองแสง)ติดไว้บนกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงที่เป็นส่วนประกอบของตัวถังรถ) และให้ส่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป โดยมีสาระสำคัญให้แก้ไขเพิ่มเติม กฏกระทรวงฉบับที่5 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อกำหนด ลักษณะขนาดหรือกำลังของเครื่องยนต์ และของรถสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์ บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นไปตามสาระสำคัญของรายงานดังกล่าวข้างต้น
เนื่องจากปัจจุบันเป็นเจ้าของรถจำนวนมากนิยมนำวัสดุเพื่อบังคับหรือกรองแสงแดดประเภท ต่างๆ มาติดไว้บนกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงที่เป็นส่วนประกอบของตัวถังรถ ซึ่งหากวัสดุดังกล่าวมีความ ทึบแสงมากเกินไปย่อมก่อให้เกิดอันตรายและไม่ปลอดภัยต่อการใช้รถและในกรณีที่มีการนำรถไปใช้ใน การกระทำความผิด ย่อมจะทำให้บุคคลภายนอกไม่สามารถมองหรือแลเห็นบุคคลภายในรถได้อย่างชัดเจน ประกอบกับวัสุดที่นำมาใช้บางชนิดเป็นชนิดที่สะท้อนแสง จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่รายอื่นได้ และ นำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 ธันวาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดห้ามติดหรือกำหนด ความเข้มของวัสดุเพื่อบังคับหรือกรองแสงแดด (ฟิล์มกรองแสง) ของรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ตามที่ กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.สมควรกำหนดให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคลติด ฟิล์มกรองแสงได้ ซึ่งเมื่อวัดรวมกับสีของกระจกแล้วแสงต้องผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
2.สมควรกำหนดห้ามมิให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการและรถยนต์ส่วน บุคคลติดฟิล์มกรองแสง ซึ่งเมื่อวัดรวมกับสีและแสงสะท้อนของกระจกแล้วก่อให้เกิดแสงสะท้อนเกินกว่า ร้อยละ 15
3.สมควรอนุญาตให้เจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถยนตร์อื่นเช่น รถพยาบาล หรือ รถยนต์ของบุคคลสำคัญที่มีความประสงค์จะติดฟิล์มกรองแสง หรือเครื่องหมาย หรือเอกสารอื่นใดที่แตก ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ให้ขออนุญาตได้เป็นการเฉพาะราย
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฏกระทรวงฉบับที่..(พ.ศ. ....) ออก ตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 (กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการวัสดุเพื่อบังหรือกรองแสง แดด(ฟิล์มกรองแสง)ติดไว้บนกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงที่เป็นส่วนประกอบของตัวถังรถ) และให้ส่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป โดยมีสาระสำคัญให้แก้ไขเพิ่มเติม กฏกระทรวงฉบับที่5 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อกำหนด ลักษณะขนาดหรือกำลังของเครื่องยนต์ และของรถสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์ บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นไปตามสาระสำคัญของรายงานดังกล่าวข้างต้น
เนื่องจากปัจจุบันเป็นเจ้าของรถจำนวนมากนิยมนำวัสดุเพื่อบังคับหรือกรองแสงแดดประเภท ต่างๆ มาติดไว้บนกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงที่เป็นส่วนประกอบของตัวถังรถ ซึ่งหากวัสดุดังกล่าวมีความ ทึบแสงมากเกินไปย่อมก่อให้เกิดอันตรายและไม่ปลอดภัยต่อการใช้รถและในกรณีที่มีการนำรถไปใช้ใน การกระทำความผิด ย่อมจะทำให้บุคคลภายนอกไม่สามารถมองหรือแลเห็นบุคคลภายในรถได้อย่างชัดเจน ประกอบกับวัสุดที่นำมาใช้บางชนิดเป็นชนิดที่สะท้อนแสง จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่รายอื่นได้ และ นำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 ธันวาคม 2537--