แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงศึกษาธิการ
ร่างพระราชบัญญัติ
ช่างกลปทุมวัน
กรมอาชีวศึกษา
กาญจนาภิเษก
ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้เฉพาะวิทยาลัยช่างกลปทุมวันเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงแห่งเดียวเป็นโครงการนำร่อง โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นสถาบันอิสระภายใต้กรมอาชีวศึกษา และอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีกาญจนาภิเษกปทุมวัน พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่24 ธันวาคม 2539 คือ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม-แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาข้อดีและข้อเสียแล้วมีความเห็นว่าให้เฉพาะวิทยาลัยช่างกลปทุมวันเปิดการสอนในระดับปริญญาตรีได้โดยถือเป็นโครงการนำร่อง โดยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีเอกลักษณ์พิเศษ คือ ผลิตวิศวกรปฏิบัติและนักเทคโนโลยีเฉพาะทางเท่านั้น โดยให้มีโครงสร้างและการบริหารที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัวอยู่ในกรมอาชีวศึกษา ด้วยเหตุผลดังนี้
1. เพื่อให้นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา สามารถศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องทั้งหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับ ปวช. ปวส. ถึงขั้นปริญญาตรี ในเชิงปฏิบัติ
2. เพื่อรองรับนักศึกษายากจนในชนบท สังกัดกรมอาชีวศึกษาที่มีความสามารถให้มีโอกาสศึกษาต่อถึงระดับปริญญาตรีทางเทคโนโลยีและวิศวกรปฏิบัติได้
3. เพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนการสอน การเลื่อนไหลของบุคลากร อุปกรณ์ สื่อการสอน ฯลฯ ระหว่างวิทยาลัยต่าง ๆ ของกรมอาชีวศึกษากับสถาบันที่ตั้งใหม่
4. ทำให้กรมอาชีวศึกษาสามารถผลิตกำลังคนระดับกลางในภูมิภาคได้มากขึ้น เพราะมีแรงจูงใจสำหรับนักศึกษาที่ต้องการเป็นช่างปฏิบัติระดับปริญญา
5. เพื่อให้เกิดเครือข่ายข้อมูลระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในท้องถิ่นกับสถาบันแห่งใหม่นี้ เพื่อจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้ทั่วประเทศมากขึ้น
6. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูช่างปฏิบัติของวิทยาลัยต่าง ๆ ของกรมอาชีวศึกษา
7. การที่สถาบันนี้ต้องอยู่ในกรมอาชีวศึกษาเพื่อให้กรมอาชีวศึกษาเป็นพี่เลี้ยงให้สามารถดำเนินงานได้ในระยะเริ่มแรก
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. .... เดิมให้เป็นร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีกาญจนาภิเษกปทุมวัน พ.ศ. .... แทน ซึ่งมีหลักการคือ เพื่อยกฐานะวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน สังกัดกรมอาชีวศึกษา เป็นสถาบันเทคโนโลยีกาญจนาภิเษกปทุมวัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. ให้วิทยาลัยช่างกลปทุมวันเป็นสถาบันเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีและวิศวกรปฏิบัติทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
3. สถาบันโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันจะรับสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยอื่นเข้าสมทบในสถาบันก็ได้ และมีอำนาจให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรชั้นใดชั้นหนึ่งแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันสมบทนั้นได้
4. รายได้ที่สถาบันได้รับจากการดำเนินกิจการของสถาบันตามวัตถุประสงค์ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังหรือกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
5. ให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการบริหารงานของสถาบัน และจะมีรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีหรือมีทั้งรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบ ตามที่อธิการบดีมอบหมาย อธิการบดี นั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภาสถาบันโดยให้ดำรงตำแหน่งสี่ปีและจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ การถอดถอนอธิการบดีก่อนครบวาระต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงถอดถอน
6. การจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ให้ถือเป็นการจัดการศึกษาและหลักสูตรของสภาสถาบันตามพระราชบัญญัติ
7. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหลักสูตรการศึกษาที่สภาสถาบันรับรองว่าเทียบเท่าหลักสูตรของสถาบันก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาตามพระราชบัญญัตินี้
ส่วนเรื่องชื่อของสถาบันนั้น จะได้พิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้เฉพาะวิทยาลัยช่างกลปทุมวันเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงแห่งเดียวเป็นโครงการนำร่อง โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นสถาบันอิสระภายใต้กรมอาชีวศึกษา และอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีกาญจนาภิเษกปทุมวัน พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่24 ธันวาคม 2539 คือ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม-แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาข้อดีและข้อเสียแล้วมีความเห็นว่าให้เฉพาะวิทยาลัยช่างกลปทุมวันเปิดการสอนในระดับปริญญาตรีได้โดยถือเป็นโครงการนำร่อง โดยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีเอกลักษณ์พิเศษ คือ ผลิตวิศวกรปฏิบัติและนักเทคโนโลยีเฉพาะทางเท่านั้น โดยให้มีโครงสร้างและการบริหารที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัวอยู่ในกรมอาชีวศึกษา ด้วยเหตุผลดังนี้
1. เพื่อให้นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา สามารถศึกษาต่ออย่างต่อเนื่องทั้งหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับ ปวช. ปวส. ถึงขั้นปริญญาตรี ในเชิงปฏิบัติ
2. เพื่อรองรับนักศึกษายากจนในชนบท สังกัดกรมอาชีวศึกษาที่มีความสามารถให้มีโอกาสศึกษาต่อถึงระดับปริญญาตรีทางเทคโนโลยีและวิศวกรปฏิบัติได้
3. เพื่อส่งเสริมด้านการจัดการเรียนการสอน การเลื่อนไหลของบุคลากร อุปกรณ์ สื่อการสอน ฯลฯ ระหว่างวิทยาลัยต่าง ๆ ของกรมอาชีวศึกษากับสถาบันที่ตั้งใหม่
4. ทำให้กรมอาชีวศึกษาสามารถผลิตกำลังคนระดับกลางในภูมิภาคได้มากขึ้น เพราะมีแรงจูงใจสำหรับนักศึกษาที่ต้องการเป็นช่างปฏิบัติระดับปริญญา
5. เพื่อให้เกิดเครือข่ายข้อมูลระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในท้องถิ่นกับสถาบันแห่งใหม่นี้ เพื่อจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้ทั่วประเทศมากขึ้น
6. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูช่างปฏิบัติของวิทยาลัยต่าง ๆ ของกรมอาชีวศึกษา
7. การที่สถาบันนี้ต้องอยู่ในกรมอาชีวศึกษาเพื่อให้กรมอาชีวศึกษาเป็นพี่เลี้ยงให้สามารถดำเนินงานได้ในระยะเริ่มแรก
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. .... เดิมให้เป็นร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีกาญจนาภิเษกปทุมวัน พ.ศ. .... แทน ซึ่งมีหลักการคือ เพื่อยกฐานะวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน สังกัดกรมอาชีวศึกษา เป็นสถาบันเทคโนโลยีกาญจนาภิเษกปทุมวัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. ให้วิทยาลัยช่างกลปทุมวันเป็นสถาบันเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีและวิศวกรปฏิบัติทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
3. สถาบันโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันจะรับสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยอื่นเข้าสมทบในสถาบันก็ได้ และมีอำนาจให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรชั้นใดชั้นหนึ่งแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันสมบทนั้นได้
4. รายได้ที่สถาบันได้รับจากการดำเนินกิจการของสถาบันตามวัตถุประสงค์ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังหรือกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
5. ให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการบริหารงานของสถาบัน และจะมีรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีหรือมีทั้งรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบ ตามที่อธิการบดีมอบหมาย อธิการบดี นั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภาสถาบันโดยให้ดำรงตำแหน่งสี่ปีและจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ การถอดถอนอธิการบดีก่อนครบวาระต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงถอดถอน
6. การจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ให้ถือเป็นการจัดการศึกษาและหลักสูตรของสภาสถาบันตามพระราชบัญญัติ
7. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหลักสูตรการศึกษาที่สภาสถาบันรับรองว่าเทียบเท่าหลักสูตรของสถาบันก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาตามพระราชบัญญัตินี้
ส่วนเรื่องชื่อของสถาบันนั้น จะได้พิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540--