ทำเนียบรัฐบาล--7 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมองค์การแรงงานระหว่างประ เทศ (ILO) สมัยที่ 81 ระหว่างวันที่ 7-24 มิถุนายน 2537 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ของคณะผู้ แทนไทย โดยมีนายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นหัวหน้า คณะ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ที่ประชุมได้ตราอนุสัญญา และข้อแนะว่าด้วยการทำงานบางเวลา นอกจากนี้ ได้มีมติเห็น ชอบในข้อมติว่าด้วยการเฉลิมฉลอง 75 ปี องค์การแรงงานระหว่างประเทศและแนวทางในอนาคต และ ข้อมติว่าด้วยบทบาทของ ILO ในการเตรียมการเพื่อการประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาสังคม ณ กรุงโค เปนเฮเกน เดนมาร์ก
2. กลุ่มประเทศอาเซียนได้เสนอข้อมติว่าด้วยการคัดค้านการนำข้อบททางสังคม (Social Clause) มาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปรากฏว่าที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และ ตกลงให้บรรจุข้อเสนอของอาเซียนที่ให้มีความยืดหยุ่นในการตราอนุสัญญา ILO โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ของปรเทศต่าง ๆ เป็นหลัก ไว้ในบทนำของข้อมติลำดับที่ 1
3. ผู้แทนไทย (นายนิคม จัทรวิทุร ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม) ได้ชี้แจงปัญหาการใช้แรงงานเด็กในที่ประชุมคณะกรรมการไตรภาคีว่าด้วยการปฏิบัติ ตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ดังนี้
3.1 รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการอย่างชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหานี้ มีการรณรงค์ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม โดยร่วมมือกับองค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชนในระดับตำบล หมู่บ้าน เพื่อ ป้องกัน และคุ้มครองเด็กให้ทำงานตามกฏหมาย
3.2 ปรับปรุงแก้ไขกฏหมายแรงงาน ซึ่งคาดว่าพระราชบัญญัติด้านแรงงาน ได้แก่ การคุ้มครองแรงงานการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานสวัสดิการสังคม ฯลฯ จะผ่านการพิจารณาของที่ ประชุมรัฐสภาในสมัยนี้
3.3 รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือกับ ILO ในทุกรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ บาลที่ชัดเจนว่าจะไม่มีการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฏหมาย และไม่มีโสเภณีเด็กอีกต่อไป ซึ่งกระทรวงแรง งานและสวัสดิการสังคมได้เร่งรัดปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างจริงจัง
4. คณะกรรมการไตรภาคีว่าด้วยการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ เชื่อว่า รัฐบาลไทยมีความสนใจเอาใจใส่ในปัญหาแรงงานเด็กเป็นลำดับแรก และขอให้ประเทศไทยดำเนินการ ทุกวิถีทางในการแก้ไขและทำให้การใช้แรงงานเด็กหมดไปโดยเร็วที่สุด โดยขอให้รายงานความคืบหน้า ให้ ILO ทราบด้วย
อนึ่ง คณะผู้แทนไทยเห็นควรจัดเตรียมข้อมูลด้านแรงงาน และสวัสดิการสังคมไว้ในเอกสารที่ จะนำเสนอในนามประเทศไทยต่อที่ประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาสังคม ณ กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก และเห็นควรทบทวนโครงสร้างองค์กรไตรภาคีของประเทศไทย คือ สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงาน แห่งชาติให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะองค์กรหลัก ในการประสานการนำระบบ ไตรภาคีมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีสถานะใน ระดับฝ่าย จึงเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณากำหนดโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสภาที่ ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้นภายในเวลา 3 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ธันวาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมองค์การแรงงานระหว่างประ เทศ (ILO) สมัยที่ 81 ระหว่างวันที่ 7-24 มิถุนายน 2537 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ของคณะผู้ แทนไทย โดยมีนายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นหัวหน้า คณะ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ที่ประชุมได้ตราอนุสัญญา และข้อแนะว่าด้วยการทำงานบางเวลา นอกจากนี้ ได้มีมติเห็น ชอบในข้อมติว่าด้วยการเฉลิมฉลอง 75 ปี องค์การแรงงานระหว่างประเทศและแนวทางในอนาคต และ ข้อมติว่าด้วยบทบาทของ ILO ในการเตรียมการเพื่อการประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาสังคม ณ กรุงโค เปนเฮเกน เดนมาร์ก
2. กลุ่มประเทศอาเซียนได้เสนอข้อมติว่าด้วยการคัดค้านการนำข้อบททางสังคม (Social Clause) มาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปรากฏว่าที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และ ตกลงให้บรรจุข้อเสนอของอาเซียนที่ให้มีความยืดหยุ่นในการตราอนุสัญญา ILO โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ของปรเทศต่าง ๆ เป็นหลัก ไว้ในบทนำของข้อมติลำดับที่ 1
3. ผู้แทนไทย (นายนิคม จัทรวิทุร ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม) ได้ชี้แจงปัญหาการใช้แรงงานเด็กในที่ประชุมคณะกรรมการไตรภาคีว่าด้วยการปฏิบัติ ตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ดังนี้
3.1 รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการอย่างชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหานี้ มีการรณรงค์ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม โดยร่วมมือกับองค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชนในระดับตำบล หมู่บ้าน เพื่อ ป้องกัน และคุ้มครองเด็กให้ทำงานตามกฏหมาย
3.2 ปรับปรุงแก้ไขกฏหมายแรงงาน ซึ่งคาดว่าพระราชบัญญัติด้านแรงงาน ได้แก่ การคุ้มครองแรงงานการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานสวัสดิการสังคม ฯลฯ จะผ่านการพิจารณาของที่ ประชุมรัฐสภาในสมัยนี้
3.3 รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือกับ ILO ในทุกรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ บาลที่ชัดเจนว่าจะไม่มีการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฏหมาย และไม่มีโสเภณีเด็กอีกต่อไป ซึ่งกระทรวงแรง งานและสวัสดิการสังคมได้เร่งรัดปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างจริงจัง
4. คณะกรรมการไตรภาคีว่าด้วยการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ เชื่อว่า รัฐบาลไทยมีความสนใจเอาใจใส่ในปัญหาแรงงานเด็กเป็นลำดับแรก และขอให้ประเทศไทยดำเนินการ ทุกวิถีทางในการแก้ไขและทำให้การใช้แรงงานเด็กหมดไปโดยเร็วที่สุด โดยขอให้รายงานความคืบหน้า ให้ ILO ทราบด้วย
อนึ่ง คณะผู้แทนไทยเห็นควรจัดเตรียมข้อมูลด้านแรงงาน และสวัสดิการสังคมไว้ในเอกสารที่ จะนำเสนอในนามประเทศไทยต่อที่ประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาสังคม ณ กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก และเห็นควรทบทวนโครงสร้างองค์กรไตรภาคีของประเทศไทย คือ สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงาน แห่งชาติให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะองค์กรหลัก ในการประสานการนำระบบ ไตรภาคีมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีสถานะใน ระดับฝ่าย จึงเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณากำหนดโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสภาที่ ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้นภายในเวลา 3 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ธันวาคม 2537--