ทำเนียบรัฐบาล--21 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบแนวทางและความคืบหน้าของการดำเนินงาน
ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชกำหนด "บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถา
บันการเงิน พ.ศ.2540" โดยมีที่มาจากความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ก่อตัวแรงขึ้น
จนเป็นเหตุให้ต้องมีการปิดสถาบันการเงินถึง 56 แห่ง
สำหรับรายละเอียดและความคืบหน้าของการดำเนินงานของ บบส. มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักของ บบส. ซึ่งพระราชกำหนดฯ ได้ระบุให้ บบส.เป็นองค์กรที่รับโอนและบริหาร
สินทรัพย์จากแหล่งที่มา 2 แห่ง ได้แก่
1) สินทรัพย์ทุกประเภทของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ และองค์การเพื่อการปฏิรูประบบ
สถาบันการเงิน (ปรส.) ได้นำสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเหล่านั้น มาประมูลขายเพื่อชำระหนี้
2) สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินใดๆ ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าถือหุ้นหรือบริหารและกองทุน
ฟื้นฟูฯ ตัดสินใจจำหน่ายให้แก่ บบส.
2. การดำเนินงานที่ผ่านมาของ บบส.
2.1 ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นปี 2541
1) กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน โดยได้รับความเห็นชอบตามมติที่
ประชุมคณะกรรมการ บบส.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยเรื่องต่างๆ เช่น การพนักงาน การแบ่งหน่วยงาน งบประมาณ
ฯลฯ ตลอดจนร่างระเบียบ และประกาศต่างๆ จนแล้วเสร็จ เพื่อให้การบริหารงาน บบส. ดำเนินไปอย่างมีความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย
3) ดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กร และกำหนดฝ่ายงานให้มีความสอดคล้องกับธุรกรรมและ
ปริมาณงานของ บบส. โดยมีการประมาณการสินทรัพย์ และปริมาณงาน เพื่อจัดทำแผนอัตรากำลังคน โครงสร้างฝ่าย
เรื่อยไปจนถึงตำแหน่งงานภายใน มีการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเตรียมจัดจ้างบุคคลภายนอกให้ดำเนินการบางส่วนที่
พิจารณาเห็นว่าสามารถควบคุมค่าใช้จ่าย และลดภาระการบริหารงานบุคคลได้
4) จัดทำขั้นตอนและคู่มือการปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดลักษณะงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
5) พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และรับข้อมูลต่างๆ เพื่อรองรับการดำเนินงานซึ่งมีความซับซ้อน
รวมทั้งงานที่ต้องจัดการอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เนื่องจากคาดการณ์ว่า บบส.จะต้องรับโอนบริหาร และจำหน่าย
สินทรัพย์มูลค่ากว่าแสนล้านบาท และเป็นจำนวนลูกหนี้หลายพันราย
2.2 ปี 2542
ภายหลังจากที่ได้มีการเตรียการมาระยะหนึ่ง ในช่วงปี 2542 ได้ประมูลสินทรัพย์ (Core
Assets) และสินทรัพย์รอง (Non-Core Assets) จาก ปรส. หลายครั้ง สรุปผลการประมูลตามลำดับเวลาได้
ดังนี้
ล้านบาท
วันที่เข้าประมูล ประเภทสินทรัพย์ มูลค่าสินทรัพย์ ราคาที่ซื้อมา ร้อยละ
สินทรัพย์หลัก
19 มีค.42 สินเชื่อธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ 185,364 31,110 17%
6 กค.42 สินเชื่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 999 152 15%
11 สค.42 สินเชื่อพาณิชย์และสินเชื่ออื่นๆ 2,56018 8373 33%
รวมสินทรัพย์หลัก 8,923 2,099 17%
สินทรัพย์รอง
30 เมย.42 หุ้นกู้ (4 รายการ) 1,940 1,027 52%
รวมสินทรัพย์ทั้งหมด 190,863 33,126 17%
3. รายละเอียดของสินทรัพย์ที่ซื้อมา
ในจำนวนสินทรัพย์หลักที่ บบส.ประมูลทั้งหมดนั้น สินทรัพย์ที่ประมูลได้ในวันที่ 19 มีนาคม 2542 มูลค่า
185,364 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์หลักกลุ่มแรกที่ บบส.รับโอนมาจาก ปรส. และเป็นสินทรัพย์กลุ่มที่มีมูลค่ามากกว่ากลุ่มอื่น
(คิดเป็นร้อยละ 98 ของสินทรัพย์หลักทั้งหมดที่ บบส.ประมูลได้) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ ประกอบ
ด้วยลูกหนี้ทุกประเภทรวมกันอยู่ 2,980 ราย ทั้งนี้ บบส.ได้ดำเนินการแยกลูกหนี้ดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
1) ลูกหนี้รายใหญ่ เป็นลูกหนี้ประเภทบริษัท ที่มียอดหนี้จำนวนสูงมากๆ แบ่งเป็น 624 บริษัท รวมเป็น
กลุ่มลูกหนี้ได้ 66 กลุ่ม มียอดเงินต้นคงค้างรวมทั้งสิ้น 119,137 ล้านบาท
2) ลูกหนี้รายตัว เป็นลูกหนี้ทั่วๆ ไป ที่มียอดหนี้เฉลี่ยประมาณ 20-30 ล้านบาทขึ้นไป ประกอบด้วยลูกหนี้
ทั้งหมด 2,356 ราย มียอดเงินต้นคงค้างรวม 66,226 ล้านบาท
4. เป้าหมายและตารางการดำเนินงานสำหรับสินทรัพย์ที่ซื้อมา
4.1 เป้าหมายสิ้นปี 2542 ได้ข้อยุติกับลูกหนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา บบส. พยายามเร่งนัดเจรจาเบื้อง
ต้นกับกลุ่มลูกหนี้รายใหญ่จนครบทุกรายแล้ว โดยลูกหนี้ส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับแนวทางการประนอมหนี้ของ บบส. ซึ่งขณะนี้
อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล และหารือแผนการประนอมหนี้ในรายละเอียด คาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ การดำเนินงานดังกล่าว
จะเป็นรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัด และภายในสิ้นปี 2542 นี้ บบส.จะได้ข้อยุติว่าจะประนอมหนี้หรือดำเนินคดีกับลูกหนี้รายใด
บ้างอย่างไร และหลังจากนั้น จะเป็นการติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อยุตินั้นๆ ต่อไป
4.2 ขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ของ บบส. เพื่อให้กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ ของ บบส.เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ บบส.ได้กำหนดขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ไว้คร่าวๆ รวม 7 ขั้นตอน
ซึ่งหากได้รับความร่วมมือจากลูกหนี้ จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 45 วัน ซึ่ง บบส.พยายามเร่งการประนอมหนี้
ลูกหนี้รายใหญ่ทั้ง 66 กลุ่ม ให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมีความคืบหน้าไปแล้วหลายขั้นตอน คาด
ว่าจะได้ข้อยุติ และเริ่มทยอยลงนามในข้อตกลงประนอมหนี้ได้ในต้นเดือนตุลาคม 2542 นี้ ส่วนลูกหนี้รายตัว บบส.อยู่ระหว่าง
ทยอยดำเนินการประนอมหนี้กับลูกหนี้ไปพร้อมๆ กัน โดยคาดว่าจะเริ่มลงนามในข้อตกลงประนอมหนี้ หรือดำเนินคดีกับลูกหนี้ได้
ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2542 และคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือนธันวาคม 2542 นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 กันยายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบแนวทางและความคืบหน้าของการดำเนินงาน
ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชกำหนด "บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถา
บันการเงิน พ.ศ.2540" โดยมีที่มาจากความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ก่อตัวแรงขึ้น
จนเป็นเหตุให้ต้องมีการปิดสถาบันการเงินถึง 56 แห่ง
สำหรับรายละเอียดและความคืบหน้าของการดำเนินงานของ บบส. มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักของ บบส. ซึ่งพระราชกำหนดฯ ได้ระบุให้ บบส.เป็นองค์กรที่รับโอนและบริหาร
สินทรัพย์จากแหล่งที่มา 2 แห่ง ได้แก่
1) สินทรัพย์ทุกประเภทของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ และองค์การเพื่อการปฏิรูประบบ
สถาบันการเงิน (ปรส.) ได้นำสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเหล่านั้น มาประมูลขายเพื่อชำระหนี้
2) สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินใดๆ ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าถือหุ้นหรือบริหารและกองทุน
ฟื้นฟูฯ ตัดสินใจจำหน่ายให้แก่ บบส.
2. การดำเนินงานที่ผ่านมาของ บบส.
2.1 ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นปี 2541
1) กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน โดยได้รับความเห็นชอบตามมติที่
ประชุมคณะกรรมการ บบส.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยเรื่องต่างๆ เช่น การพนักงาน การแบ่งหน่วยงาน งบประมาณ
ฯลฯ ตลอดจนร่างระเบียบ และประกาศต่างๆ จนแล้วเสร็จ เพื่อให้การบริหารงาน บบส. ดำเนินไปอย่างมีความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย
3) ดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กร และกำหนดฝ่ายงานให้มีความสอดคล้องกับธุรกรรมและ
ปริมาณงานของ บบส. โดยมีการประมาณการสินทรัพย์ และปริมาณงาน เพื่อจัดทำแผนอัตรากำลังคน โครงสร้างฝ่าย
เรื่อยไปจนถึงตำแหน่งงานภายใน มีการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเตรียมจัดจ้างบุคคลภายนอกให้ดำเนินการบางส่วนที่
พิจารณาเห็นว่าสามารถควบคุมค่าใช้จ่าย และลดภาระการบริหารงานบุคคลได้
4) จัดทำขั้นตอนและคู่มือการปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดลักษณะงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
5) พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และรับข้อมูลต่างๆ เพื่อรองรับการดำเนินงานซึ่งมีความซับซ้อน
รวมทั้งงานที่ต้องจัดการอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เนื่องจากคาดการณ์ว่า บบส.จะต้องรับโอนบริหาร และจำหน่าย
สินทรัพย์มูลค่ากว่าแสนล้านบาท และเป็นจำนวนลูกหนี้หลายพันราย
2.2 ปี 2542
ภายหลังจากที่ได้มีการเตรียการมาระยะหนึ่ง ในช่วงปี 2542 ได้ประมูลสินทรัพย์ (Core
Assets) และสินทรัพย์รอง (Non-Core Assets) จาก ปรส. หลายครั้ง สรุปผลการประมูลตามลำดับเวลาได้
ดังนี้
ล้านบาท
วันที่เข้าประมูล ประเภทสินทรัพย์ มูลค่าสินทรัพย์ ราคาที่ซื้อมา ร้อยละ
สินทรัพย์หลัก
19 มีค.42 สินเชื่อธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ 185,364 31,110 17%
6 กค.42 สินเชื่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 999 152 15%
11 สค.42 สินเชื่อพาณิชย์และสินเชื่ออื่นๆ 2,56018 8373 33%
รวมสินทรัพย์หลัก 8,923 2,099 17%
สินทรัพย์รอง
30 เมย.42 หุ้นกู้ (4 รายการ) 1,940 1,027 52%
รวมสินทรัพย์ทั้งหมด 190,863 33,126 17%
3. รายละเอียดของสินทรัพย์ที่ซื้อมา
ในจำนวนสินทรัพย์หลักที่ บบส.ประมูลทั้งหมดนั้น สินทรัพย์ที่ประมูลได้ในวันที่ 19 มีนาคม 2542 มูลค่า
185,364 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์หลักกลุ่มแรกที่ บบส.รับโอนมาจาก ปรส. และเป็นสินทรัพย์กลุ่มที่มีมูลค่ามากกว่ากลุ่มอื่น
(คิดเป็นร้อยละ 98 ของสินทรัพย์หลักทั้งหมดที่ บบส.ประมูลได้) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ ประกอบ
ด้วยลูกหนี้ทุกประเภทรวมกันอยู่ 2,980 ราย ทั้งนี้ บบส.ได้ดำเนินการแยกลูกหนี้ดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
1) ลูกหนี้รายใหญ่ เป็นลูกหนี้ประเภทบริษัท ที่มียอดหนี้จำนวนสูงมากๆ แบ่งเป็น 624 บริษัท รวมเป็น
กลุ่มลูกหนี้ได้ 66 กลุ่ม มียอดเงินต้นคงค้างรวมทั้งสิ้น 119,137 ล้านบาท
2) ลูกหนี้รายตัว เป็นลูกหนี้ทั่วๆ ไป ที่มียอดหนี้เฉลี่ยประมาณ 20-30 ล้านบาทขึ้นไป ประกอบด้วยลูกหนี้
ทั้งหมด 2,356 ราย มียอดเงินต้นคงค้างรวม 66,226 ล้านบาท
4. เป้าหมายและตารางการดำเนินงานสำหรับสินทรัพย์ที่ซื้อมา
4.1 เป้าหมายสิ้นปี 2542 ได้ข้อยุติกับลูกหนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา บบส. พยายามเร่งนัดเจรจาเบื้อง
ต้นกับกลุ่มลูกหนี้รายใหญ่จนครบทุกรายแล้ว โดยลูกหนี้ส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับแนวทางการประนอมหนี้ของ บบส. ซึ่งขณะนี้
อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล และหารือแผนการประนอมหนี้ในรายละเอียด คาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ การดำเนินงานดังกล่าว
จะเป็นรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัด และภายในสิ้นปี 2542 นี้ บบส.จะได้ข้อยุติว่าจะประนอมหนี้หรือดำเนินคดีกับลูกหนี้รายใด
บ้างอย่างไร และหลังจากนั้น จะเป็นการติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อยุตินั้นๆ ต่อไป
4.2 ขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ของ บบส. เพื่อให้กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ ของ บบส.เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ บบส.ได้กำหนดขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ไว้คร่าวๆ รวม 7 ขั้นตอน
ซึ่งหากได้รับความร่วมมือจากลูกหนี้ จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 45 วัน ซึ่ง บบส.พยายามเร่งการประนอมหนี้
ลูกหนี้รายใหญ่ทั้ง 66 กลุ่ม ให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมีความคืบหน้าไปแล้วหลายขั้นตอน คาด
ว่าจะได้ข้อยุติ และเริ่มทยอยลงนามในข้อตกลงประนอมหนี้ได้ในต้นเดือนตุลาคม 2542 นี้ ส่วนลูกหนี้รายตัว บบส.อยู่ระหว่าง
ทยอยดำเนินการประนอมหนี้กับลูกหนี้ไปพร้อมๆ กัน โดยคาดว่าจะเริ่มลงนามในข้อตกลงประนอมหนี้ หรือดำเนินคดีกับลูกหนี้ได้
ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2542 และคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือนธันวาคม 2542 นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 กันยายน 2542--