ทำเนียบรัฐบาล--8 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแผนการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) โดยเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินระบบสือสารผ่านดาวเทียมอิริเดียม กับบริษัท เซ้าท์อีส เอเซีย อิริเดียม จำกัด (SEAI) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ระบบสื่อสารดาวเทียมอิริเดียม เป็นระบบสื่อสารดาวเทียมวงโคจรต่ำเคลื่อนที่ (NonStationary Low Earth Orbit) มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ 98 ของพื้นผิวโลก มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
(1) ดาวเทียม จำนวน 66 ดวง ทำหน้าที่ในลักษณะของสถานีแม่ข่ายและระบบสื่อสัญญาณกับสถานีภาคพื้นดินลูกข่ายและระหว่างดาวเทียมด้วยกัน
(2) สถานีภาคพื้นดิน (Gateway) เป็นจุดเชื่อมต่อระบบอิริเดียมเข้ากับระบบโทรคมนาคมอื่น
(3) ลูกข่าย (Subscriber Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ใช้บริการจะนำติดตัวไปในที่ต่าง ๆ
2. การจัดสร้างระบบ
(1) ระบบอิริเดียม ประกอบด้วย ส่วนอวกาศ (Space Segment) ได้แก่ ดาวเทียม และส่วนภาคพื้นดิน (Ground Segment) ได้แก่ สถานีภาคพื้นดิน
(2) ผู้ลงทุนดำเนินงานระบบอิริเดียมส่วนอวกาศ บริษัท IRIDIUM INCORPORATION บริษัทสัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ลงทุนดำเนินงาน โดยมีผู้ถือหุ้นจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และมีแผนที่จะส่งดาวเทียมสู่วงโคจร จำนวน 66 ดวง โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2539 - 2541
(3) ผู้ลงทุนดำเนินการระบบอิริเดียมส่วนภาคพื้นดิน ผู้ถือหุ้นใน IRIDIUM INC. ตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป จะได้ดำเนินการสถานีพื้นดินและขายบริการ (Service) ในขอบเขตประเทศที่ได้รับสิทธิจาก IRIDIUM INC. หรือหากไม่ประสงค์จะลงทุนเอง ก็อาจมอบให้ผู้อื่นลงทุนแทนได้ โดยตกลงกับ IRIDIUM INC.
3. กำหนดเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นไป
4. รูปแบบการให้บริการ
(1) Satellite Air Time IRIDIUM INC. จะเป็นผู้ขาย Air Time ของดาวเทียมให้แก่สถานีภาคพื้นดินต่าง ๆ ทั่วโลก
(2) Service Distributor สถานีภาคพื้นดินจะทำหน้าที่เป็น Service Distributor โดยซื้อ Air time ดาวเทียมจาก IRIDIUM INC. มาจำหน่ายต่อให้ Service Provider ต่าง ๆ ต่อไป สำหรับ Service Distributor ในที่นี้ คือ บริษัทไทยแซ็ทเทิ่ลไล้ท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (TSC) รับสิทธิการจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินแต่ผู้เดียวในเขตภูมิภาคเอเซียตะวัน-ออกเฉียงใต้ ซึ่งในที่นี้บริษัท TSC ได้มอบสิทธิให้บริษัทเซ้าท์อิส เอเซียอิริเดียม จำกัด (SEAI) จัดตั้งสถานีภาคพื้นดินในประเทศไทย
(3) Service Provider คือ ผู้ที่ซื้อบริการ Air time มาจากสถานีภาคพื้นดินและนำมาใช้บริการกับผู้ใช้บริการโดยตรง ซึ่งในภูมิภาคนี้จะมี Serviec Provider รวม 7 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม
5. บริการพื้นฐานของระบบอิริเดียม ได้แก่
(1) บริการโทรศัพท์
(2) บริการโทรสารและบริการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
(3) บริการวิทยุคมนาคมติดตามตัว
(4) บริการค้นหาตำแหน่ง (Radio Determination Satellite Service - RDSS)
6. การเข้าร่วมลงทุนในบริษัท SEAI
กสท. จะเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท SEAI ในสัดส่วน 25 % ของทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงิน 100 ล้านบาท สำหรับวงเงินลงทุน ปี 2538 จำนวน 20 ล้านบาท เป็นหุ้นซึ่ง กสท. ไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น โดย กสท. สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารได้ตามจำนวนสัดส่วนการถือหุ้น แต่ไม่น้อยกว่า 2 คน ทั้งนี้ บริษัท SEAI ยินดีจะจัดสรรหุ้นให้แก่องค์กร หรือนิติบุคคลที่พนักงาน กสท. จัดตั้งขึ้นในสัดส่วน 5% ในราคาตามมูลค่าตราหุ้น
7. แผนการชำระเงิน
ในปีงบประมาณ 2538 จำนวน 20 ล้านบาท (เป็นหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น) ปีงบประมาณ 2539 จำนวน 30 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2540 จำนวน 50 ล้านบาท โดยจ่ายจากเงินรายได้ของ กสท.
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาจัดทำแผนแม่บทในลักษณะแผนระยะยาวของระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ประมาณการความต้องการ การขยายการลงทุน การบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ ตลอดจนเป็นกรอบในการจัดทำโครงการลงทุนให้สอดคล้องกับการพัฒนาสาขาอื่น ๆ ทั้งนี้ แผนดังกล่าวให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
2. เห็นชอบด้วยกับการปรับปรุงข้อเสนอเพิ่มเติมในการเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมอิริเดียมกับบริษัทเซาท์อีส เอเซีย อิริเดียม จำกัด (SEAI) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประกันการเสี่ยงการลงทุน และการได้รับเงินค่าไถ่ถอนเงินลงทุนคืน เนื่องจากข้อเสนอเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้ กสท. มีความคล่องตัวในการร่วมทุน และจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 มีนาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแผนการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) โดยเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินระบบสือสารผ่านดาวเทียมอิริเดียม กับบริษัท เซ้าท์อีส เอเซีย อิริเดียม จำกัด (SEAI) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ระบบสื่อสารดาวเทียมอิริเดียม เป็นระบบสื่อสารดาวเทียมวงโคจรต่ำเคลื่อนที่ (NonStationary Low Earth Orbit) มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ 98 ของพื้นผิวโลก มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
(1) ดาวเทียม จำนวน 66 ดวง ทำหน้าที่ในลักษณะของสถานีแม่ข่ายและระบบสื่อสัญญาณกับสถานีภาคพื้นดินลูกข่ายและระหว่างดาวเทียมด้วยกัน
(2) สถานีภาคพื้นดิน (Gateway) เป็นจุดเชื่อมต่อระบบอิริเดียมเข้ากับระบบโทรคมนาคมอื่น
(3) ลูกข่าย (Subscriber Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ใช้บริการจะนำติดตัวไปในที่ต่าง ๆ
2. การจัดสร้างระบบ
(1) ระบบอิริเดียม ประกอบด้วย ส่วนอวกาศ (Space Segment) ได้แก่ ดาวเทียม และส่วนภาคพื้นดิน (Ground Segment) ได้แก่ สถานีภาคพื้นดิน
(2) ผู้ลงทุนดำเนินงานระบบอิริเดียมส่วนอวกาศ บริษัท IRIDIUM INCORPORATION บริษัทสัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ลงทุนดำเนินงาน โดยมีผู้ถือหุ้นจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และมีแผนที่จะส่งดาวเทียมสู่วงโคจร จำนวน 66 ดวง โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2539 - 2541
(3) ผู้ลงทุนดำเนินการระบบอิริเดียมส่วนภาคพื้นดิน ผู้ถือหุ้นใน IRIDIUM INC. ตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป จะได้ดำเนินการสถานีพื้นดินและขายบริการ (Service) ในขอบเขตประเทศที่ได้รับสิทธิจาก IRIDIUM INC. หรือหากไม่ประสงค์จะลงทุนเอง ก็อาจมอบให้ผู้อื่นลงทุนแทนได้ โดยตกลงกับ IRIDIUM INC.
3. กำหนดเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นไป
4. รูปแบบการให้บริการ
(1) Satellite Air Time IRIDIUM INC. จะเป็นผู้ขาย Air Time ของดาวเทียมให้แก่สถานีภาคพื้นดินต่าง ๆ ทั่วโลก
(2) Service Distributor สถานีภาคพื้นดินจะทำหน้าที่เป็น Service Distributor โดยซื้อ Air time ดาวเทียมจาก IRIDIUM INC. มาจำหน่ายต่อให้ Service Provider ต่าง ๆ ต่อไป สำหรับ Service Distributor ในที่นี้ คือ บริษัทไทยแซ็ทเทิ่ลไล้ท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (TSC) รับสิทธิการจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินแต่ผู้เดียวในเขตภูมิภาคเอเซียตะวัน-ออกเฉียงใต้ ซึ่งในที่นี้บริษัท TSC ได้มอบสิทธิให้บริษัทเซ้าท์อิส เอเซียอิริเดียม จำกัด (SEAI) จัดตั้งสถานีภาคพื้นดินในประเทศไทย
(3) Service Provider คือ ผู้ที่ซื้อบริการ Air time มาจากสถานีภาคพื้นดินและนำมาใช้บริการกับผู้ใช้บริการโดยตรง ซึ่งในภูมิภาคนี้จะมี Serviec Provider รวม 7 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม
5. บริการพื้นฐานของระบบอิริเดียม ได้แก่
(1) บริการโทรศัพท์
(2) บริการโทรสารและบริการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
(3) บริการวิทยุคมนาคมติดตามตัว
(4) บริการค้นหาตำแหน่ง (Radio Determination Satellite Service - RDSS)
6. การเข้าร่วมลงทุนในบริษัท SEAI
กสท. จะเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท SEAI ในสัดส่วน 25 % ของทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงิน 100 ล้านบาท สำหรับวงเงินลงทุน ปี 2538 จำนวน 20 ล้านบาท เป็นหุ้นซึ่ง กสท. ไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น โดย กสท. สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารได้ตามจำนวนสัดส่วนการถือหุ้น แต่ไม่น้อยกว่า 2 คน ทั้งนี้ บริษัท SEAI ยินดีจะจัดสรรหุ้นให้แก่องค์กร หรือนิติบุคคลที่พนักงาน กสท. จัดตั้งขึ้นในสัดส่วน 5% ในราคาตามมูลค่าตราหุ้น
7. แผนการชำระเงิน
ในปีงบประมาณ 2538 จำนวน 20 ล้านบาท (เป็นหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น) ปีงบประมาณ 2539 จำนวน 30 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2540 จำนวน 50 ล้านบาท โดยจ่ายจากเงินรายได้ของ กสท.
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาจัดทำแผนแม่บทในลักษณะแผนระยะยาวของระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ประมาณการความต้องการ การขยายการลงทุน การบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ ตลอดจนเป็นกรอบในการจัดทำโครงการลงทุนให้สอดคล้องกับการพัฒนาสาขาอื่น ๆ ทั้งนี้ แผนดังกล่าวให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
2. เห็นชอบด้วยกับการปรับปรุงข้อเสนอเพิ่มเติมในการเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งสถานีภาคพื้นดินระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมอิริเดียมกับบริษัทเซาท์อีส เอเซีย อิริเดียม จำกัด (SEAI) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประกันการเสี่ยงการลงทุน และการได้รับเงินค่าไถ่ถอนเงินลงทุนคืน เนื่องจากข้อเสนอเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้ กสท. มีความคล่องตัวในการร่วมทุน และจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 มีนาคม 2538--