ทำเนียบรัฐบาล--26 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางจังหวัดภาคใต้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย รวม 3 ศูนย์ คือ
1) ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่ที่ห้องประชุมกรมการปกครอง 1 ชั้น 2 อาคารกรมการปกครอง มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ รองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นเลขานุการศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางรายงานสถานการณ์ และประสานการช่วยเหลือ ตลอดจนแก้ไขปัญหาเนื่องมาจากอุทกภัย
2) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 บ้านเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปะทิวประมาณ 30 กิโลเมตร มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ นายอำเภอปะทิว เป็นเลขานุการศูนย์ฯ ทำหน้าที่ประสานการช่วยเหลือที่ขนส่งมาทางบก และทางน้ำ
ในการดำเนินงานของส่วนอำนวยการเฉพาะกิจฯ จังหวัดชุมพรนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ส่งรถสื่อสารดาวเทียมไปประจำที่ศูนย์ดังกล่าว เพื่อเป็นศูนย์ประสานการติดต่อของทุกหน่วยที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 หมายเลขโทรศัพท์โดยตรงคือ 6294272-3 และหมายเลขโทรศัพท์ระบบสื่อสาร สป.มท 51793-4
นอกจากนี้ ยังมีรถอำนวยการกู้ภัยของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หมายเลขโทรศัพท์ 01-2102731 ประจำที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ นี้ด้วย
3) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ ณ สนามบินพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ หัวหน้าสำนักงานกองอำนวยการป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนภาค (ภาคใต้) ส่วนแยกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเลขานุการศูนย์ฯ ทำหน้าที่ประสานการช่วยเหลือที่ขนส่งมาทางอากาศ หมายเลขติดต่อ 01-6064291
2. กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดต่าง ๆ ทั้งในการอพยพประชาชนและการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ดังต่อไปนี้
2.1 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง
1) ได้จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 6 ลำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดชุมพร ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540
2) นำถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดชุมพร
3) ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงขอรับการสนับสนุนเครื่องปั่นไฟ จำนวน 10 เครื่อง ให้จังหวัดชุมพร
2.2 กระทรวงกลาโหม
1) ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองทัพเรือ สนับสนุนเรือท้องแบนพร้อมเครื่องติดท้าย จำนวน 10 ลำ เพื่อให้การสนับสนุนจังหวัดชุมพร
2) ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองทัพเรือจะจัดส่งเรือรบหลวง จำนวน 4 ลำ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประกอบด้วย
- 1. เรือหลวงสายบุรี พร้อมชุดปฏิบัติการ (มนุษย์กบ) จำนวน 5 ชุด เรือท้องแบน จำนวน 42 ลำ เรือยางจำนวน 5 ลำ พร้อมข้าวสารอาหารแห้ง จำนวน 1,000 ชุด
- 2. เรือหลวงจักรีนฤเบศร์ บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 4 ลำ เป็นเฮลิคอปเตอร์ ชนิดมีสลิงสำหรับขึ้นลงแนวดิ่ง จำนวน 2 ลำ และชนิดจอดลาน จำนวน 2 ลำและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมเวชภัณฑ์ จำนวน 3 ชุด ปฏิบัติการ
- 3. เรือหลวงศรีชัง บรรทุกเรือท้องแบน จำนวน 40 ลำ ข้าวสาร อาหารแห้ง จำนวน 3,000 ชุด และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมเวชภัณฑ์ จำนวน 1 ชุด
- 4. เรือรบหลวงสุรินทร์ พร้อมข้าวสารอาหารแห้ง และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อม เวชภัณฑ์ จำนวน 1 ชุด
3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลจากกรมทหารช่าง จังหวัดราชบุรี เพื่อสนับสนุนการเปิดเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ช่วง กม.ที่ 23-30 ตอนอำเภอกระบุรี-อำเภอเมืองระนอง ร่วมกับแขวงการทางระนอง
4) ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกให้การสนับสนุนจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยเหลือจังหวัดชุมพร ดังนี้
1) เรือท้องแบน 20 ลำ
2) เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ (Stand by ที่จังหวัดชุมพร)
3) รถยนต์บรรทุก 17 คัน
4) กำลังพล 200 นาย
2.3 กรมตำรวจ
1) ให้การสนับสนุนกำลัง กก.ตชด.41 จำนวน 238 นาย ชุดกู้ภัยจาก กก.สอ.ตชด.จำนวน 5 นาย เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 6 ลำ กำลังตำรวจภาค 8 จำนวน 200 นาย และหน่วยแพทย์จากกรมตำรวจไปให้การช่วยเหลือจากจังหวัดชุมพร
2) กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดน 14 อำเภอเมืองชุมพร ได้จัดกำลังพล 3 ชุดปฏิบัติการ จำนวน 36 นาย พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน รถยนต์บรรทุก 2 คัน และเรือท้องแบน 2 ลำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
3) กองร้อย ตชด.147 อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย 20 นาย ออกสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจัดกำลัง 12 นาย ออกค้นหาศพราษฎรซึ่งถูกน้ำพัดจมหาย บริเวณบ้านเขาแก้ว อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.4 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
1) ศูนย์สงเคราะห์ผู้ประสบภัย ภาคใต้ ตอนบน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การสนับสนุนเรือท้องแบนแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2) ศูนย์สงเคราะห์ผู้ประสบภัย ภาคกลาง กรมประชาสงเคราะห์ ให้การสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 5 ลำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2540
3) กรมประชาสงเคราะห์นำเครื่องอุปโภคบริโภคจากส่วนกลางไปสนับสนุนจังหวัดชุมพร ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540 และสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 20 ลำ และรถยนต์บรรทุก 2 คัน ให้จังหวัดชุมพร เรือท้องแบน 2 ลำ ให้จังหวัดกระบี่ เรือท้องแบน 3 ลำ รถยนต์บรรทุก 1 คัน ให้จังหวัดพัทลุง และเรือท้องแบน 8 ลำ รถยนต์บรรทุก 1 คัน ให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4) ประชาสงเคราะห์จังหวัด ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง พังงา ระนอง และสุราษฎร์ธานี ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วดังต่อไปนี้
- แจกจ่ายข้าวสารอาหารแห้ง คิดเป็นมูลค่า 5,042,055 บาท
- ค่าจัดการศพ/เงินสงเคราะห์ เป็นเงิน 12,000 บาท
2.5 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยศูนย์ปฏิบัติการ รพช. พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ส่งเครื่องจักรกลไปช่วยแขวงการทางจังหวัดระนอง และชุดปฏิบัติการจาก ร.25 พัน 2 กองร้อย ตชด. ที่ 415 และกองร้อย อส.จ.ระนองเปิดเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ตอนระนอง-ตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี ในช่วงกระบุรี-อำเภอเมืองระนอง ประมาณ กม.ที่ 23-30 ซึ่งเป็นเส้นทางสายเดียวที่สามารถใช้สัญจรระหว่างภาคกลางกับภาคใต้ได้ และได้เกิดดินภูเขาถล่มปิดเส้นทาง จำนวน 6 จุด ทำให้การคมนาคมจากกรุงเทพฯ สามารถไปได้เพียงอำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และการคมนาคมจากภาคใต้ตอนล่างขึ้นมาได้ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
2.6 แขวงการทางจังหวัดระนอง ได้จัดทำสะพานแบรี่ย์ ข้ามแม่น้ำหลังสวน บนทางหลวงหมายเลข 41 ท้องที่อำเภอหลังสวน แล้วเสร็จในคืนวันที่ 25 สิงหาคม 2540
2.7 กรมประมง จะจัดส่งเจ้าหน้าที่และวัสดุอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ไปยังศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดชุมพร ในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ดังนี้
1) เจ้าหน้าที่ 20 นาย
2) เรือยาว 5 ลำ
3) เรือไฟเบอร์ 19 ฟุต 1 ลำ
4) รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ 2 คัน
5) รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ 1 คัน
2.8 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ได้สนับสนุน น้ำดื่ม จำนวน 2,000 โหล โดยจัดส่งไปกับเรือหลวงสีชัง ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540 และในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 จะได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคไปตั้งศูนย์แจกแก่ผู้ประสบภัยที่จังหวัดชุมพร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 26 สิงหาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางจังหวัดภาคใต้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย รวม 3 ศูนย์ คือ
1) ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่ที่ห้องประชุมกรมการปกครอง 1 ชั้น 2 อาคารกรมการปกครอง มีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ รองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นเลขานุการศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางรายงานสถานการณ์ และประสานการช่วยเหลือ ตลอดจนแก้ไขปัญหาเนื่องมาจากอุทกภัย
2) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 บ้านเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปะทิวประมาณ 30 กิโลเมตร มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ นายอำเภอปะทิว เป็นเลขานุการศูนย์ฯ ทำหน้าที่ประสานการช่วยเหลือที่ขนส่งมาทางบก และทางน้ำ
ในการดำเนินงานของส่วนอำนวยการเฉพาะกิจฯ จังหวัดชุมพรนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ส่งรถสื่อสารดาวเทียมไปประจำที่ศูนย์ดังกล่าว เพื่อเป็นศูนย์ประสานการติดต่อของทุกหน่วยที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 หมายเลขโทรศัพท์โดยตรงคือ 6294272-3 และหมายเลขโทรศัพท์ระบบสื่อสาร สป.มท 51793-4
นอกจากนี้ ยังมีรถอำนวยการกู้ภัยของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หมายเลขโทรศัพท์ 01-2102731 ประจำที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ นี้ด้วย
3) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ ณ สนามบินพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรองอธิบดีกรมการปกครอง ฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ หัวหน้าสำนักงานกองอำนวยการป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนภาค (ภาคใต้) ส่วนแยกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเลขานุการศูนย์ฯ ทำหน้าที่ประสานการช่วยเหลือที่ขนส่งมาทางอากาศ หมายเลขติดต่อ 01-6064291
2. กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดต่าง ๆ ทั้งในการอพยพประชาชนและการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ดังต่อไปนี้
2.1 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง
1) ได้จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 6 ลำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดชุมพร ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540
2) นำถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดชุมพร
3) ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงขอรับการสนับสนุนเครื่องปั่นไฟ จำนวน 10 เครื่อง ให้จังหวัดชุมพร
2.2 กระทรวงกลาโหม
1) ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองทัพเรือ สนับสนุนเรือท้องแบนพร้อมเครื่องติดท้าย จำนวน 10 ลำ เพื่อให้การสนับสนุนจังหวัดชุมพร
2) ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองทัพเรือจะจัดส่งเรือรบหลวง จำนวน 4 ลำ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประกอบด้วย
- 1. เรือหลวงสายบุรี พร้อมชุดปฏิบัติการ (มนุษย์กบ) จำนวน 5 ชุด เรือท้องแบน จำนวน 42 ลำ เรือยางจำนวน 5 ลำ พร้อมข้าวสารอาหารแห้ง จำนวน 1,000 ชุด
- 2. เรือหลวงจักรีนฤเบศร์ บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 4 ลำ เป็นเฮลิคอปเตอร์ ชนิดมีสลิงสำหรับขึ้นลงแนวดิ่ง จำนวน 2 ลำ และชนิดจอดลาน จำนวน 2 ลำและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมเวชภัณฑ์ จำนวน 3 ชุด ปฏิบัติการ
- 3. เรือหลวงศรีชัง บรรทุกเรือท้องแบน จำนวน 40 ลำ ข้าวสาร อาหารแห้ง จำนวน 3,000 ชุด และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมเวชภัณฑ์ จำนวน 1 ชุด
- 4. เรือรบหลวงสุรินทร์ พร้อมข้าวสารอาหารแห้ง และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อม เวชภัณฑ์ จำนวน 1 ชุด
3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลจากกรมทหารช่าง จังหวัดราชบุรี เพื่อสนับสนุนการเปิดเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ช่วง กม.ที่ 23-30 ตอนอำเภอกระบุรี-อำเภอเมืองระนอง ร่วมกับแขวงการทางระนอง
4) ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกให้การสนับสนุนจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยเหลือจังหวัดชุมพร ดังนี้
1) เรือท้องแบน 20 ลำ
2) เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ (Stand by ที่จังหวัดชุมพร)
3) รถยนต์บรรทุก 17 คัน
4) กำลังพล 200 นาย
2.3 กรมตำรวจ
1) ให้การสนับสนุนกำลัง กก.ตชด.41 จำนวน 238 นาย ชุดกู้ภัยจาก กก.สอ.ตชด.จำนวน 5 นาย เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 6 ลำ กำลังตำรวจภาค 8 จำนวน 200 นาย และหน่วยแพทย์จากกรมตำรวจไปให้การช่วยเหลือจากจังหวัดชุมพร
2) กองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดน 14 อำเภอเมืองชุมพร ได้จัดกำลังพล 3 ชุดปฏิบัติการ จำนวน 36 นาย พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน รถยนต์บรรทุก 2 คัน และเรือท้องแบน 2 ลำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
3) กองร้อย ตชด.147 อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย 20 นาย ออกสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจัดกำลัง 12 นาย ออกค้นหาศพราษฎรซึ่งถูกน้ำพัดจมหาย บริเวณบ้านเขาแก้ว อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.4 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
1) ศูนย์สงเคราะห์ผู้ประสบภัย ภาคใต้ ตอนบน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การสนับสนุนเรือท้องแบนแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2) ศูนย์สงเคราะห์ผู้ประสบภัย ภาคกลาง กรมประชาสงเคราะห์ ให้การสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 5 ลำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2540
3) กรมประชาสงเคราะห์นำเครื่องอุปโภคบริโภคจากส่วนกลางไปสนับสนุนจังหวัดชุมพร ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540 และสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 20 ลำ และรถยนต์บรรทุก 2 คัน ให้จังหวัดชุมพร เรือท้องแบน 2 ลำ ให้จังหวัดกระบี่ เรือท้องแบน 3 ลำ รถยนต์บรรทุก 1 คัน ให้จังหวัดพัทลุง และเรือท้องแบน 8 ลำ รถยนต์บรรทุก 1 คัน ให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4) ประชาสงเคราะห์จังหวัด ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง พังงา ระนอง และสุราษฎร์ธานี ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วดังต่อไปนี้
- แจกจ่ายข้าวสารอาหารแห้ง คิดเป็นมูลค่า 5,042,055 บาท
- ค่าจัดการศพ/เงินสงเคราะห์ เป็นเงิน 12,000 บาท
2.5 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยศูนย์ปฏิบัติการ รพช. พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ส่งเครื่องจักรกลไปช่วยแขวงการทางจังหวัดระนอง และชุดปฏิบัติการจาก ร.25 พัน 2 กองร้อย ตชด. ที่ 415 และกองร้อย อส.จ.ระนองเปิดเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ตอนระนอง-ตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี ในช่วงกระบุรี-อำเภอเมืองระนอง ประมาณ กม.ที่ 23-30 ซึ่งเป็นเส้นทางสายเดียวที่สามารถใช้สัญจรระหว่างภาคกลางกับภาคใต้ได้ และได้เกิดดินภูเขาถล่มปิดเส้นทาง จำนวน 6 จุด ทำให้การคมนาคมจากกรุงเทพฯ สามารถไปได้เพียงอำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และการคมนาคมจากภาคใต้ตอนล่างขึ้นมาได้ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
2.6 แขวงการทางจังหวัดระนอง ได้จัดทำสะพานแบรี่ย์ ข้ามแม่น้ำหลังสวน บนทางหลวงหมายเลข 41 ท้องที่อำเภอหลังสวน แล้วเสร็จในคืนวันที่ 25 สิงหาคม 2540
2.7 กรมประมง จะจัดส่งเจ้าหน้าที่และวัสดุอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ไปยังศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดชุมพร ในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ดังนี้
1) เจ้าหน้าที่ 20 นาย
2) เรือยาว 5 ลำ
3) เรือไฟเบอร์ 19 ฟุต 1 ลำ
4) รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ 2 คัน
5) รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ 1 คัน
2.8 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ได้สนับสนุน น้ำดื่ม จำนวน 2,000 โหล โดยจัดส่งไปกับเรือหลวงสีชัง ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540 และในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 จะได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคไปตั้งศูนย์แจกแก่ผู้ประสบภัยที่จังหวัดชุมพร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 26 สิงหาคม 2540--