ทำเนียบรัฐบาล--30 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ได้นำเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตภาคใต้เพิ่มขึ้นทุกปี และการผลิตไฟฟ้าในเขตภาคใต้ยังไม่เพียงพอ ประกอบกับมีข้อจำกัดของการเชื่อมโยงของระบบส่งไฟฟ้ากับภาคกลางหรือประเทศมาเลเซีย เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 สรุปสาระสำคัญโครงการฯ และความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดังนี้
1. โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และระบบส่งพลังไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศให้เพียงพอและมั่นคง โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าฐาน ซึ่งมีแผนงานโครงการ ดังนี้
- ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 300 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 600 เมกะวัตต์ พร้อมติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- ก่อสร้างสายส่ง 230 เควี กระบี่ - พังงา 2 และกระบี่ - ทุ่งสง วงจรคู่ ระยะทางประมาณ 98.5 กิโลเมตร และ 97 กิโลเมตร ตามลำดับ พร้อมปรับปรุงสถานีไฟฟ้ากระบี่ ก่อสร้างลานไกไฟฟ้ากระบี่ และสถานีไฟฟ้าย่อยพังงา 2
- ก่อสร้างท่าเทียบเรือ คลังน้ำมัน และอาคารสำนักงาน
สถานที่ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7,200 ไร่ ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (พ.ศ. 2540 - 2545) โดยมีวงเงินลงทุนรวม 17,650.49 ล้านบาท แยกเป็นเงินตราต่างประเทศ 9,071.18 ล้านบาท และเงินสมทบเงินบาท 8,579.31 ล้านบาท- 9 -
2. ความเห็นคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1 ควรให้ความเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ ดังกล่าว ทั้งนี้ เงินลงทุนในส่วนของเงินบาท ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ และ/หรือรายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2.2 เห็นควรให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ในส่วนของเงินตราต่างประเทศตามความเหมาะสมต่อไป
2.3 คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การดำเนินกิจกรรมของโครงการและโครงการอื่น ๆ ในบริเวณอำเภอเหนือคลองซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการ และโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ยังขาดการวางผังเมืองสำหรับการรองรับการพัฒนาในอนาคต จึงเห็นควรให้กรมการผังเมืองร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นจัดทำผังเมืองเพื่อกำหนดเขตกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ในอันที่จะรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 29 เมษายน 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ได้นำเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตภาคใต้เพิ่มขึ้นทุกปี และการผลิตไฟฟ้าในเขตภาคใต้ยังไม่เพียงพอ ประกอบกับมีข้อจำกัดของการเชื่อมโยงของระบบส่งไฟฟ้ากับภาคกลางหรือประเทศมาเลเซีย เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 สรุปสาระสำคัญโครงการฯ และความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดังนี้
1. โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และระบบส่งพลังไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศให้เพียงพอและมั่นคง โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าฐาน ซึ่งมีแผนงานโครงการ ดังนี้
- ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 300 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 600 เมกะวัตต์ พร้อมติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- ก่อสร้างสายส่ง 230 เควี กระบี่ - พังงา 2 และกระบี่ - ทุ่งสง วงจรคู่ ระยะทางประมาณ 98.5 กิโลเมตร และ 97 กิโลเมตร ตามลำดับ พร้อมปรับปรุงสถานีไฟฟ้ากระบี่ ก่อสร้างลานไกไฟฟ้ากระบี่ และสถานีไฟฟ้าย่อยพังงา 2
- ก่อสร้างท่าเทียบเรือ คลังน้ำมัน และอาคารสำนักงาน
สถานที่ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7,200 ไร่ ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (พ.ศ. 2540 - 2545) โดยมีวงเงินลงทุนรวม 17,650.49 ล้านบาท แยกเป็นเงินตราต่างประเทศ 9,071.18 ล้านบาท และเงินสมทบเงินบาท 8,579.31 ล้านบาท- 9 -
2. ความเห็นคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1 ควรให้ความเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ ดังกล่าว ทั้งนี้ เงินลงทุนในส่วนของเงินบาท ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ และ/หรือรายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2.2 เห็นควรให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ในส่วนของเงินตราต่างประเทศตามความเหมาะสมต่อไป
2.3 คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การดำเนินกิจกรรมของโครงการและโครงการอื่น ๆ ในบริเวณอำเภอเหนือคลองซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการ และโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ยังขาดการวางผังเมืองสำหรับการรองรับการพัฒนาในอนาคต จึงเห็นควรให้กรมการผังเมืองร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นจัดทำผังเมืองเพื่อกำหนดเขตกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ในอันที่จะรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 29 เมษายน 2540--