ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและยกเว้นภาษีเงินได้กรณีบริษัทมหาชนจำกัด และหรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกัน) และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ร่างกฎกระทรวงมีผลใชับังคับพร้อมกับพระราชกฤษฎีกา
กระทรวงการคลังเสนอว่า การควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทำให้เกิดภาระภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีการโอนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกัน ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 และภาษีเงินได้สำหรับผู้ถือหุ้นจากผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทดังกล่าว ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ถือหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ขอให้พิจารณายกเว้นภาษีกรณีการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับแรกมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทมหาชนจำกัด และหรือบริษัทจำกัดภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทมหาชนจำกัด และหรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและยกเว้นภาษีเงินได้กรณีบริษัทมหาชนจำกัด และหรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกัน) และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ร่างกฎกระทรวงมีผลใชับังคับพร้อมกับพระราชกฤษฎีกา
กระทรวงการคลังเสนอว่า การควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทำให้เกิดภาระภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีการโอนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกัน ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 และภาษีเงินได้สำหรับผู้ถือหุ้นจากผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทดังกล่าว ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ถือหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ขอให้พิจารณายกเว้นภาษีกรณีการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับแรกมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันของบริษัทมหาชนจำกัด และหรือบริษัทจำกัดภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทมหาชนจำกัด และหรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการระหว่างกันภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2541--