ทำเนียบรัฐบาล--1 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) ตามความเห็นและมติของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสื่อให้มีความสมดุลระหว่างภาครัฐ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและชุมชน และภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งมีการกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท พัฒนาผู้ผลิตสื่อให้มีจิตสำนึก มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถผลิตสื่อที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาคนและสังคม พัฒนาผู้รับและผู้ใช้สื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และปรับระบบบริหารจัดการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม เพื่อเปิดโอกาสให้ราชการส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน องค์กรเอกชน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
1.2 เป้าหมาย ครอบคลุมการพัฒนา 4 ด้าน คือ 1) ด้านวิทยุโทรทัศน์ 2) ด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) ด้านประชาชนผู้รับสื่อ และ 4) การควบคุมตรวจสอบ โดยกำหนดสัดส่วนเนื้อหาสาระของรายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์เพื่อการพัฒนาและสังคม เป็นรายการเพื่อการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น อย่างน้อยร้อยละ 50 กำหนดสัดส่วนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ โดยแบ่งเป็นภาครัฐซึ่งครอบคลุมภาคราชการรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และการปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 40 ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและชุมชนร้อยละ 20 ภาคธุรกิจเอกชนร้อยละ 40 และมีสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนระดับจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 สถานี รวมทั้งให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ชุมชนด้วย
1.3 ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา กำหนดไว้ 4 ยุทธศาสตร์คือ
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสื่อ โดยเน้นการแก้ปัญหาการกระจายตัวให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายของสื่อประเภทต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกันทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเนื้อหาสาระที่เสนอผ่านสื่อ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ผลิตสื่อให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และความเป็นอิสระในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณะภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีองค์กรวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานนำเสนอและจรรยาบรรณของผู้ผลิตสื่อ
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้รับและผู้ใช้สื่อ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ในลักษณะอื่น รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลจากการละเมิดของสื่อ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมให้มีการกำหนดขอบเขตการจัดสรรคลื่นและการลงทุนด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมให้ชัดเจน ทั้งในส่วนที่มีกฎหมายรองรับและส่วนที่เป็นการกำกับดูแลโดยองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงาน เพื่อยกเลิกระบบผูกขาดกิจการโทรคมนาคม และการเป็นเจ้าของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์โดยรัฐ ส่งเสริมองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อปฏิรูประบบสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมและสนับสนุนการระดมทุนเพื่อพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคนและสังคม
2. ความเห็นคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1 เพื่อให้แผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม มีผลในทางปฏิบัติ เห็นควรเร่งรัดการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรความถี่ตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พร้อมทั้งควรให้องค์กรดังกล่าวรับผิดชอบในการประสานงานการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บท
2.2 ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ควรคำนึงถึงการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขัน โดยอาศัยกลไกราคาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
3. มติคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มอบหมายให้สำนักงานฯ นำแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อชี้นำการจัดสรรทรัพยากรด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ให้เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชนและสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 มิถุนายน 2542--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) ตามความเห็นและมติของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ร่างแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสื่อให้มีความสมดุลระหว่างภาครัฐ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและชุมชน และภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งมีการกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท พัฒนาผู้ผลิตสื่อให้มีจิตสำนึก มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถผลิตสื่อที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาคนและสังคม พัฒนาผู้รับและผู้ใช้สื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และปรับระบบบริหารจัดการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม เพื่อเปิดโอกาสให้ราชการส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน องค์กรเอกชน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
1.2 เป้าหมาย ครอบคลุมการพัฒนา 4 ด้าน คือ 1) ด้านวิทยุโทรทัศน์ 2) ด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) ด้านประชาชนผู้รับสื่อ และ 4) การควบคุมตรวจสอบ โดยกำหนดสัดส่วนเนื้อหาสาระของรายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์เพื่อการพัฒนาและสังคม เป็นรายการเพื่อการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น อย่างน้อยร้อยละ 50 กำหนดสัดส่วนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ โดยแบ่งเป็นภาครัฐซึ่งครอบคลุมภาคราชการรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และการปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 40 ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและชุมชนร้อยละ 20 ภาคธุรกิจเอกชนร้อยละ 40 และมีสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนระดับจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 สถานี รวมทั้งให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ชุมชนด้วย
1.3 ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา กำหนดไว้ 4 ยุทธศาสตร์คือ
1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสื่อ โดยเน้นการแก้ปัญหาการกระจายตัวให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายของสื่อประเภทต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกันทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเนื้อหาสาระที่เสนอผ่านสื่อ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ผลิตสื่อให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และความเป็นอิสระในการนำเสนอข่าวสารต่อสาธารณะภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีองค์กรวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานนำเสนอและจรรยาบรรณของผู้ผลิตสื่อ
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้รับและผู้ใช้สื่อ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ในลักษณะอื่น รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลจากการละเมิดของสื่อ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมให้มีการกำหนดขอบเขตการจัดสรรคลื่นและการลงทุนด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมให้ชัดเจน ทั้งในส่วนที่มีกฎหมายรองรับและส่วนที่เป็นการกำกับดูแลโดยองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระและมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงาน เพื่อยกเลิกระบบผูกขาดกิจการโทรคมนาคม และการเป็นเจ้าของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์โดยรัฐ ส่งเสริมองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อปฏิรูประบบสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมและสนับสนุนการระดมทุนเพื่อพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคนและสังคม
2. ความเห็นคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1 เพื่อให้แผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม มีผลในทางปฏิบัติ เห็นควรเร่งรัดการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรความถี่ตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พร้อมทั้งควรให้องค์กรดังกล่าวรับผิดชอบในการประสานงานการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บท
2.2 ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ควรคำนึงถึงการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขัน โดยอาศัยกลไกราคาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
3. มติคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มอบหมายให้สำนักงานฯ นำแผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อชี้นำการจัดสรรทรัพยากรด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ให้เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชนและสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 มิถุนายน 2542--