ทำเนียบรัฐบาล--23 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน สรุปได้ดังนี้
1. การจัดประชุมผู้นำองค์การนายจ้าง/องค์การลูกจ้างร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
1.1 ได้เชิญผู้แทนระดับสูงของสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้าง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัดิการสังคม ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอุตสาหกรรมรอบกรุงเทพมหานคร 9 จังหวัด โดยทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านแรงงานและบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยวิธีการที่นุ่มนวล ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ปรับปรุงแนวปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานที่อาจเกิดขึ้นในภาวะปัจจุบัน และเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีพิเศษขึ้นมา เพื่อประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 อนุมัติให้จัดตั้ง "คณะกรรมการไตรภาคีป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน" ขึ้น โดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นประธาน และกรรมการอื่น ประกอบด้วยผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง/สภาองค์การลูกจ้างทุกแห่ง และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการต่าง ๆ รวมทั้งเข้าร่วมการเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทแรงงานบริษัท เซนจูรี่ เท็กซ์ไทล์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ยุติลงได้ด้วยดี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2541
1.2 ดำเนินการจัดการประชุมในรูปไตรภาคี โดยเชิญผู้นำองค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้างและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร มาร่วมประชุมจังหวัดละ 1 ครั้ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานการประชุม และเป็นผู้ชี้แจงให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านแรงงานในภาวะปัจจุบัน รวมทั้งนโยบายและแนวทางในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาด้านแรงงาน โดยเน้นย้ำถึงการสร้างความเข้าใจและร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างผู้ประกอบการกับลูกจ้าง ภายใต้หลักการนำระบบทวิภาคีเพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และการนำแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตไปปฏิบัติ กรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาการดำเนินกิจการและจำเป็นต้องนำมาตรการลดค่าใช้จ่ายไปใช้จนส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง การประชุมทั้ง 3 ครั้ง ได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้นำองค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง ซึ่งถือเป็นตัวจักรสำคัญในการที่จะทำให้กระแสความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งในบทบาทฐานะเป็นคู่กรณีโดยตรงหรือบทบาทที่ปรึกษานายจ้าง/ลูกจ้าง
1.3 จัดประชุมผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการที่ลงทุนหรือบริหารโดยชาวต่างประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง 9 จังหวัด รวม 168 สถานประกอบการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ชี้แจงให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านแรงงานและแนวนโยบายในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาในภาวะปัจจุบัน โดยการใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ตามกรอบแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการประชุมได้ซักถามในประเด็นต่างๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงฯ ได้ร่วมกันตอบข้อซักถาม ผลจากการประชุมจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ ลูกจ้างและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะต่อตัวผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการได้เข้ารับทราบข้อเท็จจริงและแนวนโยบายในการป้องกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากปัญหาด้านแรงงานในสถานประกอบการที่ลุกลามขยายตัวเป็นปัญหาการชุมนุมเรียกร้อง จนมีการใช้วิธีการที่รุนแรงผิดกฎหมายที่เกิดขึ้น หลายครั้งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นชาวต่างประเทศขาดความเข้าใจในแนวทางและวิธีปฏิบัติ และมิได้เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม
2. การประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้จัดทำแถลงการณ์แจกจ่ายให้แก่ลูกจ้างและเจ้าของสถานประกอบการ รวมทั้งได้สั่งการหน่วยราชการในสังกัดและขอความร่วมมือองค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง ช่วยประชาสัมพันธ์ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
3. การปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแรงานสัมพันธ์ในประเทศไทย
ได้เชิญผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งไปร่วมประชุมกับผู้แทนของกระทรวงฯ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2539 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาจัดทำและร่วมลงนามในแนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต พ.ศ.2541 โดยสาระสำคัญเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างนำไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในสถานประกอบการที่ประสบปัญหาในการดำเนินกิจการจนต้องนำมาตรการลดค่าใช้จ่าย และส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างมาใช้ โดยจัดทำเป็นเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งนอกจากจะทำการแจกจ่ายให้แก่องค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง สถานประกอบการทั่วไปแล้ว ยังใช้เป็นประเด็นในการชี้แจงในการจัดประชุมสัมมนา ให้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ในโอกาสต่าง ๆ อีกด้วย
4. การประสานการปฏิบัติระหว่างส่วนราชการ
4.1 กรณีเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉพาะหน้าหรือมีความจำเป็นต้องมีการวินิจฉัย สั่งการอย่างทันท่วงที ให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบรรจง กันตวิรุฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.ชุมพล อัตถศาสตร์) และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ดำเนินการคลี่คลายสถานการณ์ให้เป็นไปโดยความสงบเรียบร้อย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ถือเป็นโยบายในการสั่งการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ชุมนุมด้านแรงงาน และได้กำชับหน่วยงานในสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ และประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเชิงรุก โดยเข้าถึงสาเหตุของปัญหาให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ชุมนุม หรือหากเกิดสถานการณ์ชุมนุมขึ้น ก็ให้พยายามทุกวิถีทางให้ปัญหายุติลงในพื้นที่
4.2 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยเข้าไปเสริมส่วนราชการเจ้าของเรื่อง กรณีเกิดปัญหาการชุมนุมประท้วง/เรียกร้องของราษฎรหรือกลุ่มพลังต่างๆ ต่อรัฐบาล เมื่อได้รับการประสานขอความร่วมมือ พร้อมทั้งได้มีหนังสือถึงกระทรวงทุกกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแจ้งให้ทราบถึงแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
5. ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องไม่มีปัญหาและอุปสรรคมากนัก นอกจากปัญหาจำกัดในเรื่องงบประมาณ และปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรจากผู้ประกอบการชาวต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน สรุปได้ดังนี้
1. การจัดประชุมผู้นำองค์การนายจ้าง/องค์การลูกจ้างร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
1.1 ได้เชิญผู้แทนระดับสูงของสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้าง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัดิการสังคม ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอุตสาหกรรมรอบกรุงเทพมหานคร 9 จังหวัด โดยทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านแรงงานและบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยวิธีการที่นุ่มนวล ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ปรับปรุงแนวปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานที่อาจเกิดขึ้นในภาวะปัจจุบัน และเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีพิเศษขึ้นมา เพื่อประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 อนุมัติให้จัดตั้ง "คณะกรรมการไตรภาคีป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน" ขึ้น โดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นประธาน และกรรมการอื่น ประกอบด้วยผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง/สภาองค์การลูกจ้างทุกแห่ง และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการต่าง ๆ รวมทั้งเข้าร่วมการเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทแรงงานบริษัท เซนจูรี่ เท็กซ์ไทล์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ยุติลงได้ด้วยดี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2541
1.2 ดำเนินการจัดการประชุมในรูปไตรภาคี โดยเชิญผู้นำองค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้างและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร มาร่วมประชุมจังหวัดละ 1 ครั้ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานการประชุม และเป็นผู้ชี้แจงให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านแรงงานในภาวะปัจจุบัน รวมทั้งนโยบายและแนวทางในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาด้านแรงงาน โดยเน้นย้ำถึงการสร้างความเข้าใจและร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างผู้ประกอบการกับลูกจ้าง ภายใต้หลักการนำระบบทวิภาคีเพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และการนำแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตไปปฏิบัติ กรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาการดำเนินกิจการและจำเป็นต้องนำมาตรการลดค่าใช้จ่ายไปใช้จนส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง การประชุมทั้ง 3 ครั้ง ได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้นำองค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง ซึ่งถือเป็นตัวจักรสำคัญในการที่จะทำให้กระแสความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งในบทบาทฐานะเป็นคู่กรณีโดยตรงหรือบทบาทที่ปรึกษานายจ้าง/ลูกจ้าง
1.3 จัดประชุมผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการที่ลงทุนหรือบริหารโดยชาวต่างประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง 9 จังหวัด รวม 168 สถานประกอบการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ชี้แจงให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านแรงงานและแนวนโยบายในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาในภาวะปัจจุบัน โดยการใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ตามกรอบแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการประชุมได้ซักถามในประเด็นต่างๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงฯ ได้ร่วมกันตอบข้อซักถาม ผลจากการประชุมจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ ลูกจ้างและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะต่อตัวผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการได้เข้ารับทราบข้อเท็จจริงและแนวนโยบายในการป้องกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากปัญหาด้านแรงงานในสถานประกอบการที่ลุกลามขยายตัวเป็นปัญหาการชุมนุมเรียกร้อง จนมีการใช้วิธีการที่รุนแรงผิดกฎหมายที่เกิดขึ้น หลายครั้งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นชาวต่างประเทศขาดความเข้าใจในแนวทางและวิธีปฏิบัติ และมิได้เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม
2. การประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้จัดทำแถลงการณ์แจกจ่ายให้แก่ลูกจ้างและเจ้าของสถานประกอบการ รวมทั้งได้สั่งการหน่วยราชการในสังกัดและขอความร่วมมือองค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง ช่วยประชาสัมพันธ์ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
3. การปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแรงานสัมพันธ์ในประเทศไทย
ได้เชิญผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งไปร่วมประชุมกับผู้แทนของกระทรวงฯ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2539 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาจัดทำและร่วมลงนามในแนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต พ.ศ.2541 โดยสาระสำคัญเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างนำไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในสถานประกอบการที่ประสบปัญหาในการดำเนินกิจการจนต้องนำมาตรการลดค่าใช้จ่าย และส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างมาใช้ โดยจัดทำเป็นเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งนอกจากจะทำการแจกจ่ายให้แก่องค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง สถานประกอบการทั่วไปแล้ว ยังใช้เป็นประเด็นในการชี้แจงในการจัดประชุมสัมมนา ให้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ในโอกาสต่าง ๆ อีกด้วย
4. การประสานการปฏิบัติระหว่างส่วนราชการ
4.1 กรณีเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉพาะหน้าหรือมีความจำเป็นต้องมีการวินิจฉัย สั่งการอย่างทันท่วงที ให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบรรจง กันตวิรุฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.ชุมพล อัตถศาสตร์) และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ดำเนินการคลี่คลายสถานการณ์ให้เป็นไปโดยความสงบเรียบร้อย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ถือเป็นโยบายในการสั่งการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ชุมนุมด้านแรงงาน และได้กำชับหน่วยงานในสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ และประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเชิงรุก โดยเข้าถึงสาเหตุของปัญหาให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ชุมนุม หรือหากเกิดสถานการณ์ชุมนุมขึ้น ก็ให้พยายามทุกวิถีทางให้ปัญหายุติลงในพื้นที่
4.2 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยเข้าไปเสริมส่วนราชการเจ้าของเรื่อง กรณีเกิดปัญหาการชุมนุมประท้วง/เรียกร้องของราษฎรหรือกลุ่มพลังต่างๆ ต่อรัฐบาล เมื่อได้รับการประสานขอความร่วมมือ พร้อมทั้งได้มีหนังสือถึงกระทรวงทุกกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแจ้งให้ทราบถึงแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
5. ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องไม่มีปัญหาและอุปสรรคมากนัก นอกจากปัญหาจำกัดในเรื่องงบประมาณ และปัญหาการไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรจากผู้ประกอบการชาวต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 มิถุนายน 2541--