ทำเนียบรัฐบาล--12 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการถนนรวมและกระจายการจราจรของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ด้านกายภาพ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ฯลฯ ที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการถนนรวมและกระจายการจราจรของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สามารถยอมรับได้ โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้รับความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1.1 ในช่วงดำเนินการก่อสร้าง เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่น ให้มีการสร้างรั้วทึบสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร และควบคุมให้มีการฉีดพรมน้ำอย่างสม่ำเสมอให้เพียงพอต่อการป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง
1.2 ให้มีการเพิ่มเติมมาตรการลดผลกระทบต่อทัศนียภาพของโครงการ โดยเฉพาะบริเวณวังสระปทุมและบริเวณมัสยิด
2. ผลกระทบทางด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านครัว เป็นผลกระทบที่มีความสำคัญมากที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนี้ ซึ่งมาตรการชดเชยและการช่วยเหลือที่เสนอไว้ในรายงานฯ สามารถยอมรับได้ แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีข้อสังเกต คือ การที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอจัดสร้างแฟลตบนพื้นที่ 8 ไร่ ในบริเวณพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในบริเวณชุมชนบ้านครัว สำหรับชาวชุมชนที่ไม่ประสงค์จะไปอยู่โครงการของการเคหะแห่งชาตินั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาการเวนคืนเพิ่มเติมและอาจทำให้ประชาชนในชุมชนไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้น รัฐจึงควรแก้ไขปัญหาโดยใช้ความประนีประนอม และลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มากที่สุด โดยการทางพิเศษแห่ง-ประเทศไทยจะต้องเสนอมาตรการลดผลกระทบ รวมทั้งแผนรองรับด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาต่อไป
3. ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอรายละเอียดมาตรการชดเชยและการช่วยเหลือประชาชนที่ถูกเวนคืน ตลอดจนมาตรการลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยใกล้เคียงโครงการ โดยให้เป็นที่ยอมรับได้ของประชาชนในชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 12 พฤศจิกายน 2539--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการถนนรวมและกระจายการจราจรของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ด้านกายภาพ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ฯลฯ ที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการถนนรวมและกระจายการจราจรของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สามารถยอมรับได้ โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้รับความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1.1 ในช่วงดำเนินการก่อสร้าง เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่น ให้มีการสร้างรั้วทึบสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร และควบคุมให้มีการฉีดพรมน้ำอย่างสม่ำเสมอให้เพียงพอต่อการป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง
1.2 ให้มีการเพิ่มเติมมาตรการลดผลกระทบต่อทัศนียภาพของโครงการ โดยเฉพาะบริเวณวังสระปทุมและบริเวณมัสยิด
2. ผลกระทบทางด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านครัว เป็นผลกระทบที่มีความสำคัญมากที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนี้ ซึ่งมาตรการชดเชยและการช่วยเหลือที่เสนอไว้ในรายงานฯ สามารถยอมรับได้ แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีข้อสังเกต คือ การที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอจัดสร้างแฟลตบนพื้นที่ 8 ไร่ ในบริเวณพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในบริเวณชุมชนบ้านครัว สำหรับชาวชุมชนที่ไม่ประสงค์จะไปอยู่โครงการของการเคหะแห่งชาตินั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาการเวนคืนเพิ่มเติมและอาจทำให้ประชาชนในชุมชนไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้น รัฐจึงควรแก้ไขปัญหาโดยใช้ความประนีประนอม และลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มากที่สุด โดยการทางพิเศษแห่ง-ประเทศไทยจะต้องเสนอมาตรการลดผลกระทบ รวมทั้งแผนรองรับด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาต่อไป
3. ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอรายละเอียดมาตรการชดเชยและการช่วยเหลือประชาชนที่ถูกเวนคืน ตลอดจนมาตรการลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยใกล้เคียงโครงการ โดยให้เป็นที่ยอมรับได้ของประชาชนในชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 12 พฤศจิกายน 2539--