ทำเนียบรัฐบาล--19 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบพิธีสารฉบับที่ห้า (Fifth Protocol to the General Agreement on Trade in Services) ตามความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ด้านการเงิน และมอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนาม ส่วนกำหนดการลงนามในพิธีสารเห็นควรให้กระทรวงการคลังและคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกร่วมกันพิจารณา เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ในการปิดรอบเจรจาฯ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 กระทรวงการคลังได้ยื่นตารางข้อผูกพันการค้าบริการด้านการเงินฉบับปรับปรุงต่อ WTO โดยในตารางฯ ได้มีการปรับปรุง ดังนี้
1.1 ถอน MFN Exemption (การยกเว้นการให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง) ออกจากตารางข้อผูกพันฉบับปี 2538 ภายใต้เงื่อนไขที่ทุกประเทศต้องถอน MFN Exemption ด้วย ทั้งนี้ การถอนข้อยกเว้นดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันแก่ประเทศคู่ค้าตามหลักการพื้นฐานของ WTO
1.2 ผูกพันสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสาขาเต็มรูปแบบของธนาคารต่างประเทศเดิม 14 ธนาคาร สาขาเต็มรูปแบบของธนาคารต่างประเทศที่ได้จากการปรับกิจการวิเทศธนกิจ 7 ธนาคาร และกิจการ BIBF และ PIBF ของธนาคารต่างประเทศ จำนวน 68 ราย
1.3 ผูกพันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถผ่อนผันให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นในสถาบันการเงินได้เกินกว่าอัตราที่กำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงฐานะของสถาบันการเงินนั้น โดยการผ่อนผันดังกล่าวจะมีระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และภายหลังจาก10 ปีแล้ว ผู้ถือหุ้นต่าชาติจะได้รับประกันสิทธิการถือหุ้นในจำนวนที่ถืออยู่
1.4 ปรับปรุงถ้อยคำด้านเทคนิคของตารางข้อผูกพันให้มีความเหมาะสมขึ้น
2. ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการด้านการเงินจะเสร็จสมบูรณ์ได้ จะต้องมีการลงนามในพิธีสารฉบับที่ห้า (Fifth Protocol to the General Agreement on Trade in Service) ซึ่งมีข้อกำหนด ดังนี้
2.1 ประเทศสมาชิกที่ยื่นข้อผูกพันไว้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 จะต้องลงนามในพิธีสารดังกล่าวภายในวันที่ 29 มกราคม 2542
2.2 ถ้า ณ วันที่ 29 มกราคม 2542 ประเทศสมาชิกที่ได้ยื่นตารางข้อผูกพันไว้ลงนามครบทุกประเทศ พิธีสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 30 วันหลังจากวันที่ 29 มกราคม 2542 คือ วันที่ 1 มีนาคม 2542
2.3 อย่างไรก็ตาม ถ้า ณ วันที่ 30 มกราคม 2542 ปรากฏว่า ประเทศสมาชิกที่ยื่นตารางข้อผูกพันยังลงนามไม่ครบทุกประเทศ ประเทศสมาชิกที่ลงนามแล้วจะต้องตัดสินใจภายใน 30 วัน ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
2.4 ในกรณีที่พิธีสารฉบับที่ห้าไม่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2542 ประเทศสมาชิกอาจตัดสินใจภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 ที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือถอนตารางข้อผูกพันทั้งหมดหรือบางส่วนได้ และสามารถที่จะระบุมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการทางการเงินที่ได้ยื่นไว้
อนึ่ง มีประเทศสมาชิกต่าง ๆ จำนวน 70 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้ยื่นข้อเสนอผูกพันเพื่อเปิดเสรีด้านการเงิน จำนวน56 ฉบับ (สหภาพยุโรปนับเป็น 1 ฉบับ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มกราคม 2542--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบพิธีสารฉบับที่ห้า (Fifth Protocol to the General Agreement on Trade in Services) ตามความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ด้านการเงิน และมอบหมายให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนาม ส่วนกำหนดการลงนามในพิธีสารเห็นควรให้กระทรวงการคลังและคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกร่วมกันพิจารณา เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ในการปิดรอบเจรจาฯ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 กระทรวงการคลังได้ยื่นตารางข้อผูกพันการค้าบริการด้านการเงินฉบับปรับปรุงต่อ WTO โดยในตารางฯ ได้มีการปรับปรุง ดังนี้
1.1 ถอน MFN Exemption (การยกเว้นการให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง) ออกจากตารางข้อผูกพันฉบับปี 2538 ภายใต้เงื่อนไขที่ทุกประเทศต้องถอน MFN Exemption ด้วย ทั้งนี้ การถอนข้อยกเว้นดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันแก่ประเทศคู่ค้าตามหลักการพื้นฐานของ WTO
1.2 ผูกพันสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสาขาเต็มรูปแบบของธนาคารต่างประเทศเดิม 14 ธนาคาร สาขาเต็มรูปแบบของธนาคารต่างประเทศที่ได้จากการปรับกิจการวิเทศธนกิจ 7 ธนาคาร และกิจการ BIBF และ PIBF ของธนาคารต่างประเทศ จำนวน 68 ราย
1.3 ผูกพันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถผ่อนผันให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นในสถาบันการเงินได้เกินกว่าอัตราที่กำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงฐานะของสถาบันการเงินนั้น โดยการผ่อนผันดังกล่าวจะมีระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และภายหลังจาก10 ปีแล้ว ผู้ถือหุ้นต่าชาติจะได้รับประกันสิทธิการถือหุ้นในจำนวนที่ถืออยู่
1.4 ปรับปรุงถ้อยคำด้านเทคนิคของตารางข้อผูกพันให้มีความเหมาะสมขึ้น
2. ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการด้านการเงินจะเสร็จสมบูรณ์ได้ จะต้องมีการลงนามในพิธีสารฉบับที่ห้า (Fifth Protocol to the General Agreement on Trade in Service) ซึ่งมีข้อกำหนด ดังนี้
2.1 ประเทศสมาชิกที่ยื่นข้อผูกพันไว้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 จะต้องลงนามในพิธีสารดังกล่าวภายในวันที่ 29 มกราคม 2542
2.2 ถ้า ณ วันที่ 29 มกราคม 2542 ประเทศสมาชิกที่ได้ยื่นตารางข้อผูกพันไว้ลงนามครบทุกประเทศ พิธีสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 30 วันหลังจากวันที่ 29 มกราคม 2542 คือ วันที่ 1 มีนาคม 2542
2.3 อย่างไรก็ตาม ถ้า ณ วันที่ 30 มกราคม 2542 ปรากฏว่า ประเทศสมาชิกที่ยื่นตารางข้อผูกพันยังลงนามไม่ครบทุกประเทศ ประเทศสมาชิกที่ลงนามแล้วจะต้องตัดสินใจภายใน 30 วัน ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
2.4 ในกรณีที่พิธีสารฉบับที่ห้าไม่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2542 ประเทศสมาชิกอาจตัดสินใจภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 ที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือถอนตารางข้อผูกพันทั้งหมดหรือบางส่วนได้ และสามารถที่จะระบุมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการทางการเงินที่ได้ยื่นไว้
อนึ่ง มีประเทศสมาชิกต่าง ๆ จำนวน 70 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้ยื่นข้อเสนอผูกพันเพื่อเปิดเสรีด้านการเงิน จำนวน56 ฉบับ (สหภาพยุโรปนับเป็น 1 ฉบับ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มกราคม 2542--