ทำเนียบรัฐบาล--6 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (สพอ.) รายงาน มติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ กพอ. 1/2540 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งมีมติในเรื่องสำคัญ ๆ และถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีดังต่อไปนี้
1. โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะ 2 และระยะ 3 มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายขีดความสามารถของท่าเรือมาบตาพุด สำหรับการขนส่งสินค้าทั่วไปควบคู่กับการขนส่งสินค้าเทกองและสินค้าเหลว และการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการลงทุน โดยให้รายงานเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป
2. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 เห็นชอบแนวทางการลงทุนตามสัดส่วนเงินลงทุนระหว่างรัฐบาลกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย 60 : 40 โดย 60% เป็นเงินที่ได้จากการงดนำรายได้ส่งรัฐ รวมกับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล และ 40% เป็นรายได้ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณและการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมกันพิจารณารายละเอียดการจัดสรรเงินลงทุนในแต่ละปีตามความเหมาะสมต่อไป
3. โครงการก่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
3.1 โครงการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่ เส้นทางสายฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และสายฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย เห็นชอบแนวทางการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก สายฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และสายฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินการ และทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการออกแบบและการก่อสร้างในปี 2541 อย่างเพียงพอตามความจำเป็นต่อไป
3.2 โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมาบตาพุด - ระยอง มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับประมาณการค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินสำหรับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ สายมาบตาพุด - ระยอง ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการดำเนินงานเวนคืนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
4. การพัฒนาโครงข่ายการเดินเรือชายฝั่ง : โครงการพัฒนาระบบควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณเกาะสีชัง
4.1 เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด แก้ไข และหรือผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนกิจการเดินเรือชายฝั่ง สำหรับภาคเอกชนที่มีความพร้อม ให้สามารถดำเนินการลงทุนที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
1) มอบหมายให้กรมศุลกากร เร่งรัดดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจการเดินเรือชายฝั่ง Ro - Ro Ferry
2) มอบหมายให้กรมเจ้าท่าดำเนินการ
- เร่งรัดพัฒนาท่าเรือชายฝั่งที่สำคัญ 5 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาจุดจอดเรือค้าชายฝั่งบริเวณเกาะสีชังและเร่งรัดแผนการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำที่มีท่าเรือชายฝั่ง
- เร่งรัดพิจารณาผ่อนปรนเรื่องการใช้บุคลากรประจำเรือชาวต่างชาติ การขอใบอนุญาตนำร่องพิเศษและการปรับสัดส่วนการลงทุนระหว่างชาวไทยและต่างชาติ
3) มอบหมายให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินการลดหย่อนภาระให้มากที่สุด สำหรับเรือลำเลียงเรือชายฝั่ง และเรือเฟอร์รี่แบบ RO - RO
4) มอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณาปรับปรุงขยายเส้นทางบริเวณท่าเรือจังหวัดสมุทรสาคร และทางเข้าท่าเรือ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.2 เห็นชอบในหลักการโครงการจัดระบบควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณเกาะสีชังโดยมอบหมายให้กรมเจ้าท่าประสานกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ใช้อุปกรณ์เรดาร์และหอบังคับการควบคุมการจราจรทางน้ำที่ติดตั้งดำเนินการอยู่แล้วที่แหลมฉบัง และปรับลดค่าใช้จ่ายลงทุนของโครงการ แล้วรายงานให้ที่ประชุมทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (สพอ.) รายงาน มติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ กพอ. 1/2540 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งมีมติในเรื่องสำคัญ ๆ และถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีดังต่อไปนี้
1. โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะ 2 และระยะ 3 มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายขีดความสามารถของท่าเรือมาบตาพุด สำหรับการขนส่งสินค้าทั่วไปควบคู่กับการขนส่งสินค้าเทกองและสินค้าเหลว และการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการลงทุน โดยให้รายงานเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป
2. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 เห็นชอบแนวทางการลงทุนตามสัดส่วนเงินลงทุนระหว่างรัฐบาลกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย 60 : 40 โดย 60% เป็นเงินที่ได้จากการงดนำรายได้ส่งรัฐ รวมกับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล และ 40% เป็นรายได้ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณและการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมกันพิจารณารายละเอียดการจัดสรรเงินลงทุนในแต่ละปีตามความเหมาะสมต่อไป
3. โครงการก่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
3.1 โครงการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่ เส้นทางสายฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และสายฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย เห็นชอบแนวทางการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก สายฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และสายฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินการ และทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการออกแบบและการก่อสร้างในปี 2541 อย่างเพียงพอตามความจำเป็นต่อไป
3.2 โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมาบตาพุด - ระยอง มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับประมาณการค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินสำหรับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ สายมาบตาพุด - ระยอง ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการดำเนินงานเวนคืนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
4. การพัฒนาโครงข่ายการเดินเรือชายฝั่ง : โครงการพัฒนาระบบควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณเกาะสีชัง
4.1 เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด แก้ไข และหรือผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนกิจการเดินเรือชายฝั่ง สำหรับภาคเอกชนที่มีความพร้อม ให้สามารถดำเนินการลงทุนที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
1) มอบหมายให้กรมศุลกากร เร่งรัดดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจการเดินเรือชายฝั่ง Ro - Ro Ferry
2) มอบหมายให้กรมเจ้าท่าดำเนินการ
- เร่งรัดพัฒนาท่าเรือชายฝั่งที่สำคัญ 5 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาจุดจอดเรือค้าชายฝั่งบริเวณเกาะสีชังและเร่งรัดแผนการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำที่มีท่าเรือชายฝั่ง
- เร่งรัดพิจารณาผ่อนปรนเรื่องการใช้บุคลากรประจำเรือชาวต่างชาติ การขอใบอนุญาตนำร่องพิเศษและการปรับสัดส่วนการลงทุนระหว่างชาวไทยและต่างชาติ
3) มอบหมายให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินการลดหย่อนภาระให้มากที่สุด สำหรับเรือลำเลียงเรือชายฝั่ง และเรือเฟอร์รี่แบบ RO - RO
4) มอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณาปรับปรุงขยายเส้นทางบริเวณท่าเรือจังหวัดสมุทรสาคร และทางเข้าท่าเรือ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.2 เห็นชอบในหลักการโครงการจัดระบบควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณเกาะสีชังโดยมอบหมายให้กรมเจ้าท่าประสานกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ใช้อุปกรณ์เรดาร์และหอบังคับการควบคุมการจราจรทางน้ำที่ติดตั้งดำเนินการอยู่แล้วที่แหลมฉบัง และปรับลดค่าใช้จ่ายลงทุนของโครงการ แล้วรายงานให้ที่ประชุมทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2540--