ทำเนียบรัฐบาล--22 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมได้รายงานผลการพิจารณาดำเนินการตามข้อสัง เกตของคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติโครงการขยายโทรศัพท์ 1.1 ล้านเลขหมาย ขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยสรุปได้ดังนี้
1. ตามข้อสังเกตเกี่ยวกับการชดเชยค่าขาดประโยชน์ กรณีบริษัทคู่สัญญาดำเนินการไม่แล้ว เสร็จตามกำหนดเวลาตามสัญญาซึ่งทำไว้กับบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TA) และบริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (TT&T) นั้น องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) รายงานว่า
1.1 ได้เจรจากับผู้แทนบริษัท TA เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2538 ให้บริษัทฯ เพิ่มอัตรา การชดเชยค่าขาดประโยชน์ในกรณีที่ส่งมอบไม่ทันตามแผนการติดตั้ง จากอัตรา 4.50 บาท/เลขหมาย /วัน เป็น 18.07 บาท/เลขหมาย/วันเช่นเดียวกับบริษัท TT&T ปรากฏผลการเจรจาบริษัทฯ ไม่สา มารถรับข้อเสนอดังกล่าวได้ โดยให้เหตุผลว่า อัตราการชดเชยค่าขาดประโยชน์ของสัญญาระหว่าง ทศท. กับบริษัททั้งสอง ถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานเดียวกัน คือ คำนวณจากรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อวันใน สัดส่วนที่ ทศท. จะได้รับ โดยที่รายได้เฉลี่ย และสัดส่วนที่ ทศท. จะได้รับจากเลขหมายในเขตนคร หลวงและในเขตภูมิภาค มีความแตกต่างกัน ทำให้อัตราการชดเชยค่าขาดประโยชน์ของบริษัททั้งสอง แตกต่างกันด้วย
1.2 ได้ลงนามในสัญญากับบริษัท TA เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2538 ทั้งนี้ เป็นการดำเนิน การเมื่อได้รับทราบนโยบายของกระทรวงคมนาคมแล้ว
2. ตามข้อสังเกตเรื่องการคุ้มครองการร่วมการงานและร่วมลงทุน ตามสัญญาซึ่งทำไว้ กับบริษัท TA และ TT&T นั้น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย รายงานว่า
2.1 ได้เจรจากับผู้แทนบริษัท TT&T ให้ยกเลิกการคุ้มครองการร่วมการงานและร่วมลงทุน ในทันทีที่มีการลงนามในสัญญา ปรากฏผลการเจรจา บริษัท TT&T ขอให้ใช้ข้อความในร่างสัญญาตามที่ ได้เห็นชอบร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโครงการขยายโทรศัพท์ 1.1 ล้านเลขหมาย คือ ให้สิทธิคุ้มครองการร่วมการงานและร่วมลงทุนสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งเป็นระยะเวลาเริ่มต้น ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 จะเอื้ออำนวยให้การขยายโทรศัพท์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอจนถึงปี 2541ตามกำหนดระยะเวลาคุ้มครองสิทธิในสัญญา เดิม สำหรับการขยายโทรศัพท์ 8 แสนเลขหมาย ทศท. สามารถดำเนินงานได้ทันที
2.2 ได้ลงนามในสัญญากับบริษัท TT&T เมื่อ 21 กันยายน 2538 ทั้งนี้ เป็นการดำเนิน การเมื่อได้รับทราบนโยบายของกระทรวงคมนาคมแล้ว
3. ตามข้อสังเกตการกำหนดค่าใช้จ่ายที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะจ่ายให้บริษัทคู่ สัญญาสำหรับบริการเพิ่มเติมที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) อาจมอบให้บริษัทคู่สัญญาดำเนิน การในอัตราไม่เกินร้อยละ 7 นั้นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า
3.1 คณะกรรมการเพื่อพิจารณาโครงการ 1.1 ล้านเลขหมาย ได้เจรจากับบริษัทในประ เด็นนี้แล้ว ผลการเจรจาได้ข้อยุติว่า งานที่บริษัทรับดำเนินการโดยคิดค่าดำเนินการ บริษัทยินยอมลดค่า ดำเนินการจากอัตราไม่เกิน10% ตามสัญญาเดิม ลงเหลือในอัตราไม่เกิน 7% ซึ่งมีผลทั้งสัญญาเดิมและ สัญญาใหม่
3.2 ในอนาคตหาก ทศท. มีความจำเป็นต้องมอบงานให้บริษัทรับไปดำเนินการ บริษัทจะคิด ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นการร้องขอจาก ทศท. และค่าดำเนินการจะ เป็นเท่าใด ต้องเจรจาตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในทางปฏิบัติอาจเสียค่าดำเนินการไม่ถึง 7% ก็ได้
4. ตามข้อสังเกตเรื่องในส่วนที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) จะดำเนิน งานขยายโทรศัพท์แปดแสนเลขหมายนั้น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า
4.1 ทศท. ยืนยันว่าจะดำเนินการขยายโทรศัพท์ 8 แสนเลขหมายเอง และมีความเป็นไป ได้ที่จะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทันตามกำหนดภายในปี 2540 เนื่องจากมีความพร้อมทาง ด้านทรัพยากร บุคลากร และการเงิน ทั้งนี้ทศท. สามารถขยายอุปกรณ์เดิมที่มีอยู่ได้จำนวนหนึ่ง และก่อ สร้างปรับปรุงเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
4.2 สำหรับพื้นที่ดำเนินการ ทศท. มีเป้าหมายขยาย 6 แสนเลขหมายในเขตภูมิภาค และ 2แสนเลขหมายในเขตนครหลวง เนื่องจากในเขตภูมิภาคมีความต้องการโทรศัพท์สูงกว่าเขตนครหลวง
4.3 คณะกรรมการ ทศท. ได้ให้ความเห็นชอบให้ ทศท. ดำเนินการแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการดำเนินการเสนอโครงการตามขั้นตอนต่อไป
5. ตามข้อสังเกตของเรื่องการดำเนินการขยายเลขหมายโทรศัพท์ในระยะต่อไปควรเปิดดำ เนินการอย่างเสรีนั้น กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่ชัดเจนแล้วว่าจะดำเนินการเปิดเสรีธุรกิจโทรคม นาคม โดยได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็น ชอบด้วยแล้ว เมื่อวันที่ 28มีนาคม 2538 อย่างไรก็ตามในขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขทบทวนแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมขึ้นใหม่ ซึ่ง อยู่ในระหว่างการพิจารณา และคาดว่าจะเสนอร่างแผนแม่บทฯฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 21 พฤศจิกายน 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมได้รายงานผลการพิจารณาดำเนินการตามข้อสัง เกตของคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติโครงการขยายโทรศัพท์ 1.1 ล้านเลขหมาย ขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยสรุปได้ดังนี้
1. ตามข้อสังเกตเกี่ยวกับการชดเชยค่าขาดประโยชน์ กรณีบริษัทคู่สัญญาดำเนินการไม่แล้ว เสร็จตามกำหนดเวลาตามสัญญาซึ่งทำไว้กับบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TA) และบริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (TT&T) นั้น องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) รายงานว่า
1.1 ได้เจรจากับผู้แทนบริษัท TA เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2538 ให้บริษัทฯ เพิ่มอัตรา การชดเชยค่าขาดประโยชน์ในกรณีที่ส่งมอบไม่ทันตามแผนการติดตั้ง จากอัตรา 4.50 บาท/เลขหมาย /วัน เป็น 18.07 บาท/เลขหมาย/วันเช่นเดียวกับบริษัท TT&T ปรากฏผลการเจรจาบริษัทฯ ไม่สา มารถรับข้อเสนอดังกล่าวได้ โดยให้เหตุผลว่า อัตราการชดเชยค่าขาดประโยชน์ของสัญญาระหว่าง ทศท. กับบริษัททั้งสอง ถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานเดียวกัน คือ คำนวณจากรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อวันใน สัดส่วนที่ ทศท. จะได้รับ โดยที่รายได้เฉลี่ย และสัดส่วนที่ ทศท. จะได้รับจากเลขหมายในเขตนคร หลวงและในเขตภูมิภาค มีความแตกต่างกัน ทำให้อัตราการชดเชยค่าขาดประโยชน์ของบริษัททั้งสอง แตกต่างกันด้วย
1.2 ได้ลงนามในสัญญากับบริษัท TA เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2538 ทั้งนี้ เป็นการดำเนิน การเมื่อได้รับทราบนโยบายของกระทรวงคมนาคมแล้ว
2. ตามข้อสังเกตเรื่องการคุ้มครองการร่วมการงานและร่วมลงทุน ตามสัญญาซึ่งทำไว้ กับบริษัท TA และ TT&T นั้น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย รายงานว่า
2.1 ได้เจรจากับผู้แทนบริษัท TT&T ให้ยกเลิกการคุ้มครองการร่วมการงานและร่วมลงทุน ในทันทีที่มีการลงนามในสัญญา ปรากฏผลการเจรจา บริษัท TT&T ขอให้ใช้ข้อความในร่างสัญญาตามที่ ได้เห็นชอบร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโครงการขยายโทรศัพท์ 1.1 ล้านเลขหมาย คือ ให้สิทธิคุ้มครองการร่วมการงานและร่วมลงทุนสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งเป็นระยะเวลาเริ่มต้น ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 จะเอื้ออำนวยให้การขยายโทรศัพท์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอจนถึงปี 2541ตามกำหนดระยะเวลาคุ้มครองสิทธิในสัญญา เดิม สำหรับการขยายโทรศัพท์ 8 แสนเลขหมาย ทศท. สามารถดำเนินงานได้ทันที
2.2 ได้ลงนามในสัญญากับบริษัท TT&T เมื่อ 21 กันยายน 2538 ทั้งนี้ เป็นการดำเนิน การเมื่อได้รับทราบนโยบายของกระทรวงคมนาคมแล้ว
3. ตามข้อสังเกตการกำหนดค่าใช้จ่ายที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะจ่ายให้บริษัทคู่ สัญญาสำหรับบริการเพิ่มเติมที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) อาจมอบให้บริษัทคู่สัญญาดำเนิน การในอัตราไม่เกินร้อยละ 7 นั้นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า
3.1 คณะกรรมการเพื่อพิจารณาโครงการ 1.1 ล้านเลขหมาย ได้เจรจากับบริษัทในประ เด็นนี้แล้ว ผลการเจรจาได้ข้อยุติว่า งานที่บริษัทรับดำเนินการโดยคิดค่าดำเนินการ บริษัทยินยอมลดค่า ดำเนินการจากอัตราไม่เกิน10% ตามสัญญาเดิม ลงเหลือในอัตราไม่เกิน 7% ซึ่งมีผลทั้งสัญญาเดิมและ สัญญาใหม่
3.2 ในอนาคตหาก ทศท. มีความจำเป็นต้องมอบงานให้บริษัทรับไปดำเนินการ บริษัทจะคิด ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นการร้องขอจาก ทศท. และค่าดำเนินการจะ เป็นเท่าใด ต้องเจรจาตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในทางปฏิบัติอาจเสียค่าดำเนินการไม่ถึง 7% ก็ได้
4. ตามข้อสังเกตเรื่องในส่วนที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) จะดำเนิน งานขยายโทรศัพท์แปดแสนเลขหมายนั้น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า
4.1 ทศท. ยืนยันว่าจะดำเนินการขยายโทรศัพท์ 8 แสนเลขหมายเอง และมีความเป็นไป ได้ที่จะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทันตามกำหนดภายในปี 2540 เนื่องจากมีความพร้อมทาง ด้านทรัพยากร บุคลากร และการเงิน ทั้งนี้ทศท. สามารถขยายอุปกรณ์เดิมที่มีอยู่ได้จำนวนหนึ่ง และก่อ สร้างปรับปรุงเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
4.2 สำหรับพื้นที่ดำเนินการ ทศท. มีเป้าหมายขยาย 6 แสนเลขหมายในเขตภูมิภาค และ 2แสนเลขหมายในเขตนครหลวง เนื่องจากในเขตภูมิภาคมีความต้องการโทรศัพท์สูงกว่าเขตนครหลวง
4.3 คณะกรรมการ ทศท. ได้ให้ความเห็นชอบให้ ทศท. ดำเนินการแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการดำเนินการเสนอโครงการตามขั้นตอนต่อไป
5. ตามข้อสังเกตของเรื่องการดำเนินการขยายเลขหมายโทรศัพท์ในระยะต่อไปควรเปิดดำ เนินการอย่างเสรีนั้น กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่ชัดเจนแล้วว่าจะดำเนินการเปิดเสรีธุรกิจโทรคม นาคม โดยได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็น ชอบด้วยแล้ว เมื่อวันที่ 28มีนาคม 2538 อย่างไรก็ตามในขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขทบทวนแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมขึ้นใหม่ ซึ่ง อยู่ในระหว่างการพิจารณา และคาดว่าจะเสนอร่างแผนแม่บทฯฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 21 พฤศจิกายน 2538--