ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการศึกษา : ทางออกเพื่อพัฒนาประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการต่าง ๆ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย ธนาคารออมสิน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ-สังคม และสำนักงบประมาณ เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ
2. จากการประมวลและวิเคราะห์การดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว สรุปได้ว่าในปีงบประมาณ 2541 มีการดำเนินงานในโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วน จำนวน 3 มาตรการ คือ
2.1 การให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบ
1) ในด้านการเพิ่มขนาดกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาพร้อมลดหย่อนเงื่อนไขการกู้ยืมให้คล่องตัวและยืดหยุ่น ในปีงบประมาณ 2540 ของกระทรวงการคลังได้จัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ 16,900 ล้านบาท แต่ในปีงบประมาณ 2541 นี้สามารถจัดสรรให้ได้มากขึ้น โดยได้จัดสรรให้เป็นเงินรวม 18,000 ล้านบาท แยกเป็นส่วนสำหรับผู้กู้เก่า 12,000ล้านบาท และสำหรับผู้กู้ใหม่ 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีกระบวนการให้กู้ในปัจจุบันทั้งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยยังมีปัญหา-อุปสรรคบางประการ เช่นความจำกัดของเงินกองทุน ความไม่สมบูรณ์ของหลักฐาน เป็นต้น ทำให้การดำเนินงานกองทุนฯ ไม่สามารถสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ในด้านการนำเงินกองทุนพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์มาให้สถานศึกษาเอกชนกู้เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์การให้กู้ตามโครงการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของโรงเรียนเอกชนในสภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจัดทำขึ้น และธนาคารออมสินได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว
3) ในด้านการให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน โดยให้สถานศึกษาต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยผ่อนผันการชำระค่าเล่าเรียนให้แก่นักเรียน/นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ในส่วนของรัฐบาลเองยังได้อนุมัติให้นำเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย 1,000 ล้านบาท มาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ผู้ปกครองตกงาน/ยากจนด้วย
2.2 การให้ความช่วยเหลือผู้สำเร็จการศึกษา และผู้ว่างงาน โดยการส่งเสริมสนับสนุนโครงการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ยังหางานทำไม่ได้ ผู้ว่างงานหรือถูกปลดออกจากงาน และแรงงานที่ย้อนกลับเข้าสู่ภาคการเกษตร
1) หน่วยงานด้านการศึกษา เช่น กรมการศึกษานอกโรงเรียนและกรมอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการโดยการจัดการศึกษา ฝึกอบรมระยะสั้น และการแนะแนวอาชีพต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มสนใจ การจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะต่าง ๆ การส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัดให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวในภาวะวิกฤตแก่นักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เรียนในปีสุดท้าย นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดฝึกอบรมวิชาชีพแก่ประชาชน
2) หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงอื่น ๆ เช่น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม มีการจัดการฝึกอบรมเพื่อให้ทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และทักษะในการจัดการ/ประกอบอาชีพอิสระแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมแนะแนวในรูปต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมโอกาสการมีงานทำ เช่น ช่วยหางานให้ ช่วยประสานให้ชาวบ้านได้งานจากสถานประกอบการไปทำที่บ้านให้ยืมเงินทุนหรือวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
2.3 การให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบด้านการศึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากร รวมทั้งให้สถาบันการศึกษามีความคล่องตัวมากขึ้นในการปรับใช้งบประมาณของสถาบันการศึกษา ดังนี้
1) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการโดยกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ใช้วัสดุอุปกรณ์ และสาธารณูปโภค อย่างประหยัด อีกทั้งยังได้ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณด้วย
2) ทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากประหยัดการใช้วัสดุและสาธารณูปโภคแล้ว ยังมีการวางแผนและดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานในสังกัดให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤต โดยจะลดขั้นตอนการทำงาน และมีการพัฒนาและหมุนเวียนบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน อีกทั้งยังดำเนินการให้มีการใช้ทรัพยากรและงบประมาณอย่างคุ้มค่ามากขึ้น โดยการเปิดรับนักศึกษาในสาขาขาดแคลนเพิ่มขึ้น และการพยายามผลักดันให้มหาวิทยาลัย/สถาบันในสังกัดสามารถเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ไม่ใช่เงินเดือนเพื่อนำมาใช้จ่ายให้สอดคล้องกับแผนได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการศึกษา : ทางออกเพื่อพัฒนาประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการต่าง ๆ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย ธนาคารออมสิน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ-สังคม และสำนักงบประมาณ เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ
2. จากการประมวลและวิเคราะห์การดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว สรุปได้ว่าในปีงบประมาณ 2541 มีการดำเนินงานในโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วน จำนวน 3 มาตรการ คือ
2.1 การให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบ
1) ในด้านการเพิ่มขนาดกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาพร้อมลดหย่อนเงื่อนไขการกู้ยืมให้คล่องตัวและยืดหยุ่น ในปีงบประมาณ 2540 ของกระทรวงการคลังได้จัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ 16,900 ล้านบาท แต่ในปีงบประมาณ 2541 นี้สามารถจัดสรรให้ได้มากขึ้น โดยได้จัดสรรให้เป็นเงินรวม 18,000 ล้านบาท แยกเป็นส่วนสำหรับผู้กู้เก่า 12,000ล้านบาท และสำหรับผู้กู้ใหม่ 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีกระบวนการให้กู้ในปัจจุบันทั้งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยยังมีปัญหา-อุปสรรคบางประการ เช่นความจำกัดของเงินกองทุน ความไม่สมบูรณ์ของหลักฐาน เป็นต้น ทำให้การดำเนินงานกองทุนฯ ไม่สามารถสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ในด้านการนำเงินกองทุนพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์มาให้สถานศึกษาเอกชนกู้เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์การให้กู้ตามโครงการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของโรงเรียนเอกชนในสภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจัดทำขึ้น และธนาคารออมสินได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว
3) ในด้านการให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน โดยให้สถานศึกษาต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยผ่อนผันการชำระค่าเล่าเรียนให้แก่นักเรียน/นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ในส่วนของรัฐบาลเองยังได้อนุมัติให้นำเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย 1,000 ล้านบาท มาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ผู้ปกครองตกงาน/ยากจนด้วย
2.2 การให้ความช่วยเหลือผู้สำเร็จการศึกษา และผู้ว่างงาน โดยการส่งเสริมสนับสนุนโครงการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ยังหางานทำไม่ได้ ผู้ว่างงานหรือถูกปลดออกจากงาน และแรงงานที่ย้อนกลับเข้าสู่ภาคการเกษตร
1) หน่วยงานด้านการศึกษา เช่น กรมการศึกษานอกโรงเรียนและกรมอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการโดยการจัดการศึกษา ฝึกอบรมระยะสั้น และการแนะแนวอาชีพต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มสนใจ การจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะต่าง ๆ การส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัดให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวในภาวะวิกฤตแก่นักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เรียนในปีสุดท้าย นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดฝึกอบรมวิชาชีพแก่ประชาชน
2) หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงอื่น ๆ เช่น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม มีการจัดการฝึกอบรมเพื่อให้ทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และทักษะในการจัดการ/ประกอบอาชีพอิสระแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมแนะแนวในรูปต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมโอกาสการมีงานทำ เช่น ช่วยหางานให้ ช่วยประสานให้ชาวบ้านได้งานจากสถานประกอบการไปทำที่บ้านให้ยืมเงินทุนหรือวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
2.3 การให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบด้านการศึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากร รวมทั้งให้สถาบันการศึกษามีความคล่องตัวมากขึ้นในการปรับใช้งบประมาณของสถาบันการศึกษา ดังนี้
1) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการโดยกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ใช้วัสดุอุปกรณ์ และสาธารณูปโภค อย่างประหยัด อีกทั้งยังได้ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณด้วย
2) ทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากประหยัดการใช้วัสดุและสาธารณูปโภคแล้ว ยังมีการวางแผนและดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานในสังกัดให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤต โดยจะลดขั้นตอนการทำงาน และมีการพัฒนาและหมุนเวียนบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน อีกทั้งยังดำเนินการให้มีการใช้ทรัพยากรและงบประมาณอย่างคุ้มค่ามากขึ้น โดยการเปิดรับนักศึกษาในสาขาขาดแคลนเพิ่มขึ้น และการพยายามผลักดันให้มหาวิทยาลัย/สถาบันในสังกัดสามารถเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ไม่ใช่เงินเดือนเพื่อนำมาใช้จ่ายให้สอดคล้องกับแผนได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 กรกฎาคม 2541--