ทำเนียบรัฐบาล--5 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นองค์กรอิสระภายใต้มูลนิธิ มีการบริหารงานซึ่งไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ให้คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ มีจำนวนไม่เกิน21 คน ประกอบด้วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นรองประธานกรรมการผู้แทนที่ได้รับคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาร่วมเครือข่าย ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ และให้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือผู้ที่คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ เห็นชอบทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการจนกว่าจะได้มีการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลา จึงให้ผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณประจำปีตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยจัดสรรให้ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปผ่านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป สำหรับโครงการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรมและทบวงมหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรระดับชาติ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.1 จัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขึ้นในสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมทั่วประเทศ เพื่อเป็นแกนนำและเครือข่ายในการถ่ายทอดความรู้และให้บริการสนับสนุนต่าง ๆ แก่การพัฒนาและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งนี้ ในระยะแรกจะมีเครือข่ายสถาบันการศึกษา 7 แห่ง คือ 1) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) มหาวิทยาลัยนเรศวร 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 4) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 6) มหาวิทยาลัยบูรพา 7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1.2 เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วให้มีขีดความสามารถในการประกอบการ และสร้างผู้ประกอบการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และดำเนินกิจการอยู่ได้อย่างยั่งยืน
1.3 เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรที่ให้บริการต่าง ๆ แก่ SMEs โดยมีการดำเนินงานทางวิชาการรองรับอย่างครบวงจร
1.4 เพื่อพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานที่ให้การฝึกอบรม ปรึกษาแนะนำและบริการต่าง ๆ แก่ SMEs ครอบคลุมกว้างขวางทั่วประเทศ ในปริมาณและคุณภาพที่สามารถรองรับความต้องการของ SMEs ได้ ตลอดจนมีความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับองค์กรต่างประเทศในระดับภูมิภาค
2. บทบาทของสถาบันฯ และหน่วยงานเครือข่าย
2.1 สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะเป็นแกนนำในการสนับสนุนและประสานการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาและสถาบันเฉพาะทางต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเครือข่าย เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการและกิจการ SMEs
2.2 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ประกอบการและบุคลากรที่ให้บริการต่าง ๆ แก่ SMEs ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การเรียนทางไกล การศึกษาด้วยตนเองจากสื่อ
2.3 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งให้บริการปรึกษาแนะนำแก่ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจเพื่อการปรับปรุงยกระดับกิจการ การลงทุนและร่วมลงทุน การเชื่อมโยงธุรกิจ ตลอดจนการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจ SMEs โดยรวม
2.4 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ SMEs และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ SMEs เพื่อให้ SMEs และผู้ให้บริการแก่ SMEs ได้ เข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย เชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรและสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ และเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดความสามารถในการประกอบการของ SMEs อันจะเป็นหลักในการพิจารณาจัดความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่ SMEs แต่ละราย รวมทั้งการสนับสนุนด้านการเงิน
2.5 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งรับรองมาตรฐานวิชาชีพของบุคลากรที่ให้บริการแก่ SMEs หรือเป็นผู้ประเมิน SMEs
3. รูปแบบองค์กรและการบริหาร
สถาบันจะมีสถานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้มูลนิธิ และไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของราชการหรือรัฐวิสาหกิจและการดำเนินงานของสถาบันฯ จะอยู่ภายใต้โดยบายและการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งแต่งตั้งโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และมีผู้อำนวยการสถาบันฯ ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา สำนักงานใหญ่ของสถาบันฯ จะตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และจะมีมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ร่วมเครือข่ายตั้งแต่ระยะแรก โดยจะจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์เครือข่ายในภูมิภาาค ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเครือข่ายหรือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
4. แผนการดำเนินงานระยะเริ่มแรกของสถาบันฯ และเครือข่าย
จะเน้นเร่งรัดการดำเนินกิจกรรมบางส่วนที่สามารถส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 และจะดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้น
5. แผนการดำเนินงานระยะปานกลางและระยะยาว
จะมุ่งขยายเครือข่ายสู่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในระดับท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และหน่วยงานภาคเอกชน การวางระบบมาตรฐานวิชาชีพของผู้ให้บริการแก่ SMEs และผู้ประเมิน SMEs การจัดทำดัชนีชี้วัดขีดความสามารถของ SMEs การสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ และการศึกษาวิจัยทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคของ SMEs และการเชื่อมโยงการพัฒนา SMEs กับภาคการผลิตในสาขาอื่นเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
6. แหล่งงบดำเนินการ ประกอบด้วยแหล่งต่าง ๆ ได้แก่
6.1 งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจัดสรรให้ในรูปเงินอุดหนุนทั่วไปในแต่ละปีงบประมาณ
6.2 เงินช่วยเหลือจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะจัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (อยู่ในขั้นตอนการเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ) และอาจเข้ามาทดแทนการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินประจำปีได้บางส่วนหรือทั้งหมดในระยะยาว
6.3 เงินบริจาคจากภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปผ่านมูลนิธิ
6.4 เงินช่วยเหลือจากองค์กรต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศหรืออื่น ๆ
6.5 เงินรายได้ของสถาบันฯ จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบริการต่าง ๆ
ทั้งนี้ จะไม่เน้นการลงทุนก่อสร้างขนาดใหญ่ แต่มุ่งจะใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำเนินการของสถาบันฯ ในช่วง 5 ปี (2542 - 2546) มีวงเงินประมาณ 2,100 ล้านบาท ทั้งนี้ ในระยะแรก (ไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 - 2543) จะได้รับการจัดสรรภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 -2543 ประมาณ 864.622 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 เมษายน 2542--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นองค์กรอิสระภายใต้มูลนิธิ มีการบริหารงานซึ่งไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ให้คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ มีจำนวนไม่เกิน21 คน ประกอบด้วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นรองประธานกรรมการผู้แทนที่ได้รับคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาร่วมเครือข่าย ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ และให้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือผู้ที่คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ เห็นชอบทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการจนกว่าจะได้มีการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลา จึงให้ผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณประจำปีตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยจัดสรรให้ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปผ่านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป สำหรับโครงการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรมและทบวงมหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรระดับชาติ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.1 จัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขึ้นในสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมทั่วประเทศ เพื่อเป็นแกนนำและเครือข่ายในการถ่ายทอดความรู้และให้บริการสนับสนุนต่าง ๆ แก่การพัฒนาและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งนี้ ในระยะแรกจะมีเครือข่ายสถาบันการศึกษา 7 แห่ง คือ 1) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) มหาวิทยาลัยนเรศวร 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 4) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 6) มหาวิทยาลัยบูรพา 7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1.2 เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วให้มีขีดความสามารถในการประกอบการ และสร้างผู้ประกอบการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และดำเนินกิจการอยู่ได้อย่างยั่งยืน
1.3 เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรที่ให้บริการต่าง ๆ แก่ SMEs โดยมีการดำเนินงานทางวิชาการรองรับอย่างครบวงจร
1.4 เพื่อพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานที่ให้การฝึกอบรม ปรึกษาแนะนำและบริการต่าง ๆ แก่ SMEs ครอบคลุมกว้างขวางทั่วประเทศ ในปริมาณและคุณภาพที่สามารถรองรับความต้องการของ SMEs ได้ ตลอดจนมีความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับองค์กรต่างประเทศในระดับภูมิภาค
2. บทบาทของสถาบันฯ และหน่วยงานเครือข่าย
2.1 สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะเป็นแกนนำในการสนับสนุนและประสานการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาและสถาบันเฉพาะทางต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเครือข่าย เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการและกิจการ SMEs
2.2 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ประกอบการและบุคลากรที่ให้บริการต่าง ๆ แก่ SMEs ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การเรียนทางไกล การศึกษาด้วยตนเองจากสื่อ
2.3 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งให้บริการปรึกษาแนะนำแก่ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจเพื่อการปรับปรุงยกระดับกิจการ การลงทุนและร่วมลงทุน การเชื่อมโยงธุรกิจ ตลอดจนการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจ SMEs โดยรวม
2.4 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ SMEs และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ SMEs เพื่อให้ SMEs และผู้ให้บริการแก่ SMEs ได้ เข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย เชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรและสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ และเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดความสามารถในการประกอบการของ SMEs อันจะเป็นหลักในการพิจารณาจัดความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่ SMEs แต่ละราย รวมทั้งการสนับสนุนด้านการเงิน
2.5 สถาบันฯ และสถาบันหรือศูนย์เครือข่าย จะเป็นแหล่งรับรองมาตรฐานวิชาชีพของบุคลากรที่ให้บริการแก่ SMEs หรือเป็นผู้ประเมิน SMEs
3. รูปแบบองค์กรและการบริหาร
สถาบันจะมีสถานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้มูลนิธิ และไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของราชการหรือรัฐวิสาหกิจและการดำเนินงานของสถาบันฯ จะอยู่ภายใต้โดยบายและการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งแต่งตั้งโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และมีผู้อำนวยการสถาบันฯ ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา สำนักงานใหญ่ของสถาบันฯ จะตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และจะมีมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ร่วมเครือข่ายตั้งแต่ระยะแรก โดยจะจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์เครือข่ายในภูมิภาาค ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเครือข่ายหรือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
4. แผนการดำเนินงานระยะเริ่มแรกของสถาบันฯ และเครือข่าย
จะเน้นเร่งรัดการดำเนินกิจกรรมบางส่วนที่สามารถส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 และจะดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้น
5. แผนการดำเนินงานระยะปานกลางและระยะยาว
จะมุ่งขยายเครือข่ายสู่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในระดับท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และหน่วยงานภาคเอกชน การวางระบบมาตรฐานวิชาชีพของผู้ให้บริการแก่ SMEs และผู้ประเมิน SMEs การจัดทำดัชนีชี้วัดขีดความสามารถของ SMEs การสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ และการศึกษาวิจัยทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคของ SMEs และการเชื่อมโยงการพัฒนา SMEs กับภาคการผลิตในสาขาอื่นเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
6. แหล่งงบดำเนินการ ประกอบด้วยแหล่งต่าง ๆ ได้แก่
6.1 งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจัดสรรให้ในรูปเงินอุดหนุนทั่วไปในแต่ละปีงบประมาณ
6.2 เงินช่วยเหลือจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะจัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (อยู่ในขั้นตอนการเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ) และอาจเข้ามาทดแทนการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินประจำปีได้บางส่วนหรือทั้งหมดในระยะยาว
6.3 เงินบริจาคจากภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปผ่านมูลนิธิ
6.4 เงินช่วยเหลือจากองค์กรต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศหรืออื่น ๆ
6.5 เงินรายได้ของสถาบันฯ จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบริการต่าง ๆ
ทั้งนี้ จะไม่เน้นการลงทุนก่อสร้างขนาดใหญ่ แต่มุ่งจะใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำเนินการของสถาบันฯ ในช่วง 5 ปี (2542 - 2546) มีวงเงินประมาณ 2,100 ล้านบาท ทั้งนี้ ในระยะแรก (ไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 - 2543) จะได้รับการจัดสรรภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 -2543 ประมาณ 864.622 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 เมษายน 2542--