ทำเนียบรัฐบาล--9 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยฯ ระยะที่ 6 (พ.ศ. 2542 - 2546) และอนุมัติให้เพิ่มทุนอุดหนุนการศึกษา สายวิทยาศาสตร์จากเดิม 10,000 บาท เป็น 20,000 บาท สายสังคมศาสตร์จากเดิม 8,000 บาท เป็น 15,000 บาท พร้อมทั้งสงวนอัตราให้แก่นักศึกษาตามโครงการเข้ารับราชการเมื่อสำเร็จการศึกษา ตลอดจนนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ แต่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสิทธิเข้ารับราชการเช่นเดียวกับนักศึกษาตามโครงการ โดยให้กระทรวงมหาดไทยเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น เป็นปี ๆ ต่อไป ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการโดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างต่อเนื่องจนจบโครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะ ๆ ตลอดจนศึกษาผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2514 - 2540) เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงโครงการต่อไป
เนื่องจากโครงการดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน รวม 5 ระยะ และสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. 2540 แต่กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าโครงการดังกล่าวยังมีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้อีกมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลเล็งเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องเร่งรัดการพัฒนาให้มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อที่จะพัฒนาภูมิภาคนี้ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งบุคลากรที่สำเร็จจากโครงการนี้จะเป็นผู้เชื่อมประสานความเข้าใจระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนกับประชาชนในพื้นที่ จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการดำเนินงาน โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง รวม 5 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) โดยให้คงจำนวนนักศึกษาไว้ 16 คนต่อปี จัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษาปีละ 16 ทุน และต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนอกจากนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ในการดำเนินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ควรมีการประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่าประสบผลสำเร็จตรงตามเป้าหมายหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคและข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขอย่างไร และควรดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไร (ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ)
2. ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่โครงการ ควรกำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันคือ คำนึงถึงปัญหาและความต้องการของชุมชน เป็นผู้มีความประพฤติดี ตลอดจนมีความรู้ความสามารถที่จะศึกษาได้จนจบหลักสูตร และเป็นผู้มีฐานะยากจน ควรได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง (กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
3. ในการสงวนอัตราเพื่อรับนักศึกษาผู้สำเร็จตามโครงการ ควรเน้นให้กลับไปทำงานในภูมิลำเนาเดิม และควรมีการตรวจสอบดูด้วยว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามโครงการยังคงรับราชการหรือปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่เพียงใด(กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน ก.พ.)
4. ควรกำหนดให้นักศึกษาตามโครงการเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ควรให้เลือกเรียนโดยอิสระ (ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน ก.พ.)
5. การดำเนินโครงการควรพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อนักศึกษาผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ทั้งนี้ ควรให้สิทธิแก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่อยู่ในโครงการ แต่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสิทธิเข้ารับราชการในพื้นที่เช่นเดียวกับนักศึกษาในโครงการด้วย (สำนักงาน ก.พ.)
6. ควรให้นักศึกษาตามโครงการนี้ศึกษาเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้จะเป็นประโยชน์และประหยัดมากกว่า(สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ)
7. การดำเนินโครงการต่ออีก 5 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) อาจจะมีผลให้ต้องจัดสรรงบประมาณเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาเป็นระยะเวลาประมาณ 9 ปี หรือมากกว่า (สำนักงาน ก.พ.)
8. หากไม่สามารถจัดหาทุนได้เพียงพอก็อาจให้นักศึกษากู้เงินตามโครงการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ (กระทรวงศึกษาธิการ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยฯ ระยะที่ 6 (พ.ศ. 2542 - 2546) และอนุมัติให้เพิ่มทุนอุดหนุนการศึกษา สายวิทยาศาสตร์จากเดิม 10,000 บาท เป็น 20,000 บาท สายสังคมศาสตร์จากเดิม 8,000 บาท เป็น 15,000 บาท พร้อมทั้งสงวนอัตราให้แก่นักศึกษาตามโครงการเข้ารับราชการเมื่อสำเร็จการศึกษา ตลอดจนนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ แต่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสิทธิเข้ารับราชการเช่นเดียวกับนักศึกษาตามโครงการ โดยให้กระทรวงมหาดไทยเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น เป็นปี ๆ ต่อไป ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการโดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอย่างต่อเนื่องจนจบโครงการ พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะ ๆ ตลอดจนศึกษาผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2514 - 2540) เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงโครงการต่อไป
เนื่องจากโครงการดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน รวม 5 ระยะ และสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. 2540 แต่กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าโครงการดังกล่าวยังมีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้อีกมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลเล็งเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องเร่งรัดการพัฒนาให้มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อที่จะพัฒนาภูมิภาคนี้ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งบุคลากรที่สำเร็จจากโครงการนี้จะเป็นผู้เชื่อมประสานความเข้าใจระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนกับประชาชนในพื้นที่ จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการดำเนินงาน โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง รวม 5 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) โดยให้คงจำนวนนักศึกษาไว้ 16 คนต่อปี จัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษาปีละ 16 ทุน และต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนอกจากนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ในการดำเนินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ควรมีการประเมินผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่าประสบผลสำเร็จตรงตามเป้าหมายหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคและข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขอย่างไร และควรดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไร (ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ)
2. ในการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่โครงการ ควรกำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันคือ คำนึงถึงปัญหาและความต้องการของชุมชน เป็นผู้มีความประพฤติดี ตลอดจนมีความรู้ความสามารถที่จะศึกษาได้จนจบหลักสูตร และเป็นผู้มีฐานะยากจน ควรได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง (กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
3. ในการสงวนอัตราเพื่อรับนักศึกษาผู้สำเร็จตามโครงการ ควรเน้นให้กลับไปทำงานในภูมิลำเนาเดิม และควรมีการตรวจสอบดูด้วยว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามโครงการยังคงรับราชการหรือปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่เพียงใด(กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน ก.พ.)
4. ควรกำหนดให้นักศึกษาตามโครงการเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ควรให้เลือกเรียนโดยอิสระ (ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน ก.พ.)
5. การดำเนินโครงการควรพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อนักศึกษาผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ทั้งนี้ ควรให้สิทธิแก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่อยู่ในโครงการ แต่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสิทธิเข้ารับราชการในพื้นที่เช่นเดียวกับนักศึกษาในโครงการด้วย (สำนักงาน ก.พ.)
6. ควรให้นักศึกษาตามโครงการนี้ศึกษาเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้จะเป็นประโยชน์และประหยัดมากกว่า(สำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ)
7. การดำเนินโครงการต่ออีก 5 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) อาจจะมีผลให้ต้องจัดสรรงบประมาณเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาเป็นระยะเวลาประมาณ 9 ปี หรือมากกว่า (สำนักงาน ก.พ.)
8. หากไม่สามารถจัดหาทุนได้เพียงพอก็อาจให้นักศึกษากู้เงินตามโครงการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ (กระทรวงศึกษาธิการ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มิถุนายน 2541--