ทำเนียบรัฐบาล--9 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานความเคลื่อนไหวสถานการณ์ภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 5 โดยสรุปดังนี้
1. สภาพฝน มีฝนตกทั่วไปทุกภาค
2. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและการระบายน้ำ สภาพน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2541 รวมประมาณ 3.282 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ระบายน้ำมากกว่าแผนที่กำหนดไว้ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยังคงระบายน้ำตามแผนการใช้น้ำที่กำหนด
3. การทำนาปรังและการปลูกพืชฤดูแล้ง
3.1 ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งตัดยอดข้อมูลเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2541 มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 10.29 ล้านไร่แยกเป็นข้าวนาปรัง 6.87 ล้านไร่ และพืชไร่ - พืชผัก 3.42 ล้านไร่
3.2 สถานการณ์พืชฤดูแล้งในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด (พื้นที่ล่อแหลมต่อการขาดน้ำ)
1) เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานต่าง ๆ ได้เพาะปลูกไปแล้วประมาณ 3.92 ล้านไร่มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
2) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ 2 แห่ง คือ พื้นที่ที่ใช้นำจากเขื่อนอุบลรัตน์(จังหวัดขอนแก่น, มหาสารคาม) และเขื่อนลำพระเพลิง (จังหวัดนครราชสีมา) โดยในเขตจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ปลูกพืชไร่ - พืชผักสูงจากเป้าหมาย จังหวัดมหาสารคามมีการปลูกข้าวนาปรังสูงกว่าเป้าหมาย ปลูกพืชไร่ - พืชผักสูงกว่าเป้าหมาย และจังหวัดนครราชสีมามีการปลูกข้าวนาปรังสูงกว่าเป้าหมาย ปลูกพืชไร่ - พืชผักสูงกว่าเป้าหมาย
4. การสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 เมษายน 2541 กรมชลประทานได้ให้การช่วยเหลือการปลูกพืชฤดูแล้ง การอุปโภค - บริโภค และการช่วยเหลือชาวสวนผลไม้ในภาคตะวันออก โดยการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถยนต์บรรทุกน้ำแล้ว
5. การตรวจวัดน้ำเค็ม (เกณฑ์ปกติสำหรับการใช้น้ำในการเกษตร 2 กรัมต่อลิตร) แม่น้ำบางปะกง ตรวจวัดที่ด้านนอกประตูระบายน้ำบางขนาก จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้ระดับความเค็ม 24.71 กรัม/ลิตร มีระดับความเค็มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความเค็มยังคงหนุนขึ้นสูงถึงอำเภอศรีมหาโพธิ์ และหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองปราจีนบุรี วัดระดับความเค็มได้ 13.92กรัม/ลิตร สำหรับความเค็มด้านในคลองต่อเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงจะมีระดับความเค็มต่ำกว่ามาก ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภค - บริโภค และการเพาะปลูกได้
6. การทำฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินการเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ โดยสรุปมีฝนตกทั่วทุกภาค
7. เรื่องอื่น ๆ
7.1 การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในช่วงที่ผ่านมาถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานการระบาดเพิ่มเติม ส่วนการระบาดที่ผ่านมายังสามารถควบคุมให้อยู่ในสภาวะปกติ
7.2 การร้องขอฝนหลวง ได้มีหลายจังหวัดขอความช่วยเหลือ และในขณะนี้สำนักฝนหลวงกำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
7.3 การตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา สรุปได้ดังนี้
1) สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างต่ำกว่าค่ามาตรฐาน โดยพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่บริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า เขตราษฎร์บูรณะ และสะพานกรุงธนฯ
2) สภาพน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณจุดสูบน้ำเพื่อผลิตประปา 4 แห่ง โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานความเคลื่อนไหวสถานการณ์ภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 5 โดยสรุปดังนี้
1. สภาพฝน มีฝนตกทั่วไปทุกภาค
2. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและการระบายน้ำ สภาพน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2541 รวมประมาณ 3.282 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ระบายน้ำมากกว่าแผนที่กำหนดไว้ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยังคงระบายน้ำตามแผนการใช้น้ำที่กำหนด
3. การทำนาปรังและการปลูกพืชฤดูแล้ง
3.1 ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งตัดยอดข้อมูลเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2541 มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 10.29 ล้านไร่แยกเป็นข้าวนาปรัง 6.87 ล้านไร่ และพืชไร่ - พืชผัก 3.42 ล้านไร่
3.2 สถานการณ์พืชฤดูแล้งในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด (พื้นที่ล่อแหลมต่อการขาดน้ำ)
1) เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (22 จังหวัด) ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานต่าง ๆ ได้เพาะปลูกไปแล้วประมาณ 3.92 ล้านไร่มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
2) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ 2 แห่ง คือ พื้นที่ที่ใช้นำจากเขื่อนอุบลรัตน์(จังหวัดขอนแก่น, มหาสารคาม) และเขื่อนลำพระเพลิง (จังหวัดนครราชสีมา) โดยในเขตจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ปลูกพืชไร่ - พืชผักสูงจากเป้าหมาย จังหวัดมหาสารคามมีการปลูกข้าวนาปรังสูงกว่าเป้าหมาย ปลูกพืชไร่ - พืชผักสูงกว่าเป้าหมาย และจังหวัดนครราชสีมามีการปลูกข้าวนาปรังสูงกว่าเป้าหมาย ปลูกพืชไร่ - พืชผักสูงกว่าเป้าหมาย
4. การสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 เมษายน 2541 กรมชลประทานได้ให้การช่วยเหลือการปลูกพืชฤดูแล้ง การอุปโภค - บริโภค และการช่วยเหลือชาวสวนผลไม้ในภาคตะวันออก โดยการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถยนต์บรรทุกน้ำแล้ว
5. การตรวจวัดน้ำเค็ม (เกณฑ์ปกติสำหรับการใช้น้ำในการเกษตร 2 กรัมต่อลิตร) แม่น้ำบางปะกง ตรวจวัดที่ด้านนอกประตูระบายน้ำบางขนาก จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้ระดับความเค็ม 24.71 กรัม/ลิตร มีระดับความเค็มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความเค็มยังคงหนุนขึ้นสูงถึงอำเภอศรีมหาโพธิ์ และหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองปราจีนบุรี วัดระดับความเค็มได้ 13.92กรัม/ลิตร สำหรับความเค็มด้านในคลองต่อเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงจะมีระดับความเค็มต่ำกว่ามาก ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภค - บริโภค และการเพาะปลูกได้
6. การทำฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินการเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ โดยสรุปมีฝนตกทั่วทุกภาค
7. เรื่องอื่น ๆ
7.1 การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในช่วงที่ผ่านมาถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานการระบาดเพิ่มเติม ส่วนการระบาดที่ผ่านมายังสามารถควบคุมให้อยู่ในสภาวะปกติ
7.2 การร้องขอฝนหลวง ได้มีหลายจังหวัดขอความช่วยเหลือ และในขณะนี้สำนักฝนหลวงกำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
7.3 การตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา สรุปได้ดังนี้
1) สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างต่ำกว่าค่ามาตรฐาน โดยพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่บริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า เขตราษฎร์บูรณะ และสะพานกรุงธนฯ
2) สภาพน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณจุดสูบน้ำเพื่อผลิตประปา 4 แห่ง โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 มิถุนายน 2541--