ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2538 - 2540 เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กและการพัฒนาแรงงานเด็ก ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก (ในภูมิภาค) ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 70 จังหวัด ยกเว้น 5 จังหวัดรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความต้องการแรงงานมาก ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
1.1 จัดตั้งอบรมอาสาสมัครแรงงานประจำหมู่บ้าน จำนวน 35,346 คน ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เด็กและผู้ปกครองในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาการไปทำงานและใช้แรงงานเด็ก สำรวจข้อมูลความต้องการในการฝึกอาชีพของเด็กที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่ได้เรียนต่อ
1.2 ประสานการฝึกทักษะวิชาชีพและทักษะฝีมือให้กับเด็ก จำนวน 7,838 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 42 ประกอบอาชีพส่วนตัว ร้อยละ 22 ช่วยให้มีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวไม่ต้องเป็นภาระของสังคมหรือหันไปสู่อาชีพให้บริการทางเพศ หรืออาชีพที่ไม่สุจริต
1.3 อบรมเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กที่กำลังจะจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 72,046 คน ให้ได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อจำเป็นต้องเข้าสู่ตลาดแรงงาน
1.4 อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้นำชุมชน จำนวน 15,105 คน ในการดูแลเด็กและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เด็กได้อย่างถูกต้อง
2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานเด็กในสถานประกอบการ ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
2.1 ส่งเสริมการศึกษาสายสามัญ ให้แรงงานเด็กในสถานประกอบการที่มีความรู้ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับความรู้สูงขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4,845 คน เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ทางวิชาการอันจะนำไปสู่กระบวนการปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.2 ส่งเสริมการศึกษาสายอาชีพ ให้แรงงานเด็กในสถานประกอบการฝึกอาชีพเพิ่มทักษะการทำงาน จำนวน 1,305 คน เหตุที่ดำเนินการได้น้อย เนื่องจากเด็กให้ความสนใจในการศึกษาสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ ช่วยให้แรงงานเด็กที่ผ่านการฝึกสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงาน และมีโอกาสที่จะประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
2.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของแรงงานเด็ก ดังนี้ 1) จัดตรวจสุขภาพ 2) จัดทัศนศึกษา 3) จัดค่ายพักแรม จำนวน 332 คน 4) จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2538 - 2540 เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กและการพัฒนาแรงงานเด็ก ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก (ในภูมิภาค) ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 70 จังหวัด ยกเว้น 5 จังหวัดรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความต้องการแรงงานมาก ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
1.1 จัดตั้งอบรมอาสาสมัครแรงงานประจำหมู่บ้าน จำนวน 35,346 คน ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เด็กและผู้ปกครองในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาการไปทำงานและใช้แรงงานเด็ก สำรวจข้อมูลความต้องการในการฝึกอาชีพของเด็กที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่ได้เรียนต่อ
1.2 ประสานการฝึกทักษะวิชาชีพและทักษะฝีมือให้กับเด็ก จำนวน 7,838 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 42 ประกอบอาชีพส่วนตัว ร้อยละ 22 ช่วยให้มีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวไม่ต้องเป็นภาระของสังคมหรือหันไปสู่อาชีพให้บริการทางเพศ หรืออาชีพที่ไม่สุจริต
1.3 อบรมเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กที่กำลังจะจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 72,046 คน ให้ได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อจำเป็นต้องเข้าสู่ตลาดแรงงาน
1.4 อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้นำชุมชน จำนวน 15,105 คน ในการดูแลเด็กและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เด็กได้อย่างถูกต้อง
2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานเด็กในสถานประกอบการ ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
2.1 ส่งเสริมการศึกษาสายสามัญ ให้แรงงานเด็กในสถานประกอบการที่มีความรู้ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับความรู้สูงขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4,845 คน เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ทางวิชาการอันจะนำไปสู่กระบวนการปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.2 ส่งเสริมการศึกษาสายอาชีพ ให้แรงงานเด็กในสถานประกอบการฝึกอาชีพเพิ่มทักษะการทำงาน จำนวน 1,305 คน เหตุที่ดำเนินการได้น้อย เนื่องจากเด็กให้ความสนใจในการศึกษาสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ ช่วยให้แรงงานเด็กที่ผ่านการฝึกสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงาน และมีโอกาสที่จะประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
2.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของแรงงานเด็ก ดังนี้ 1) จัดตรวจสุขภาพ 2) จัดทัศนศึกษา 3) จัดค่ายพักแรม จำนวน 332 คน 4) จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--