ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไปดำเนินการทางการทูตเพื่อให้มีการลงนามอย่างเป็นทางการ และมีการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างกันต่อไป ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
อนึ่ง ความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีระหว่างประเทศคู่สัญญาทำนองเดียวกับความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยเคยตกลงไว้แล้วกับประเทศอื่น ๆ และมีผลใช้บังคับมานานแล้ว (ขณะนี้มี 33 ประเทศ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังนี้
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาวะภาษีซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง
2. ทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน และเทคโนโลยีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
4. เป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการทูต
5. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศตามข้อกำหนดของความตกลงฯ นี้ จะเป็นการช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ และยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วยและในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งของไทยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีในประเทศคู่สัญญาก็จะมีผลให้ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมีเงินได้เพื่อเสียภาษีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
6. ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันมากยิ่งขึ้น
7. ช่วยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน ครู อาจารย์ นักวิจัย ระหว่างสถาบันการศึกษาของทั้งสองประเทศให้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากความตกลงฯ กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีให้แก่บุคคลดังกล่าวด้วย
8. การที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างกัน ทำให้การหลีกเลี่ยงภาษีอากรระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปได้ยากจึงช่วยให้ประเทศคู่สัญญาสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไปดำเนินการทางการทูตเพื่อให้มีการลงนามอย่างเป็นทางการ และมีการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างกันต่อไป ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
อนึ่ง ความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีระหว่างประเทศคู่สัญญาทำนองเดียวกับความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยเคยตกลงไว้แล้วกับประเทศอื่น ๆ และมีผลใช้บังคับมานานแล้ว (ขณะนี้มี 33 ประเทศ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังนี้
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาวะภาษีซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง
2. ทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน และเทคโนโลยีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
4. เป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการทูต
5. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศตามข้อกำหนดของความตกลงฯ นี้ จะเป็นการช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ และยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วยและในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งของไทยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีในประเทศคู่สัญญาก็จะมีผลให้ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมีเงินได้เพื่อเสียภาษีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
6. ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันมากยิ่งขึ้น
7. ช่วยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน ครู อาจารย์ นักวิจัย ระหว่างสถาบันการศึกษาของทั้งสองประเทศให้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากความตกลงฯ กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีให้แก่บุคคลดังกล่าวด้วย
8. การที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างกัน ทำให้การหลีกเลี่ยงภาษีอากรระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปได้ยากจึงช่วยให้ประเทศคู่สัญญาสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กันยายน 2541--