ทำเนียบรัฐบาล--18 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เพื่อควบคุมการผสมสารเร่งการเจริญเติบโต หรือสารเร่งเนื้อแดงในอาหารสัตว์ของผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และได้ตกไปจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้ ได้พิจารณาเห็นว่ามีผู้เลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากนิยมผสมสารเร่งการเจริญเติบโตหรือสารเร่งเนื้อแดงเช่น สารเคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) และสารไซแมทเทอรอล (Cimaterol) ลงในอาหารสัตว์ ซึ่งสารดังกล่าวอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ที่ใช้บังคับในปัจจุบันให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจการปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของประเทศได้รับความเชื่อถือทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศยิ่งขึ้น ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญแก้ไขเพิ่มเติมพระราช-บัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 ดังนี้
1. เพื่อให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ได้กว้างขวางขึ้น
2. เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด
3. เพื่อให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งหรือประกาศของอธิบดีซึ่งห้ามมิให้ผลิต นำเข้า หรือขายอาหารสัตว์ที่ปรากฏผลการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นอาหารสัตว์ที่ไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 18 มีนาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เพื่อควบคุมการผสมสารเร่งการเจริญเติบโต หรือสารเร่งเนื้อแดงในอาหารสัตว์ของผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และได้ตกไปจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้ ได้พิจารณาเห็นว่ามีผู้เลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากนิยมผสมสารเร่งการเจริญเติบโตหรือสารเร่งเนื้อแดงเช่น สารเคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) และสารไซแมทเทอรอล (Cimaterol) ลงในอาหารสัตว์ ซึ่งสารดังกล่าวอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ที่ใช้บังคับในปัจจุบันให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจการปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของประเทศได้รับความเชื่อถือทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศยิ่งขึ้น ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญแก้ไขเพิ่มเติมพระราช-บัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 ดังนี้
1. เพื่อให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ได้กว้างขวางขึ้น
2. เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด
3. เพื่อให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งหรือประกาศของอธิบดีซึ่งห้ามมิให้ผลิต นำเข้า หรือขายอาหารสัตว์ที่ปรากฏผลการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นอาหารสัตว์ที่ไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 18 มีนาคม 2540--