คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างสนธิระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเปรูว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามสนธิสัญญาดังกล่าวในช่วงการเยือนเปรูอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2548 และหากมีการแก้ไขในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญให้กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายประสานกับทางเปรูโดยตรงต่อไป
ทั้งนี้ ร่างสนธิสัญญาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. รัฐภาคีสนธิสัญญาฯ ตกลงที่จะใช้มาตรการที่กว้างขวางที่สุด เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องทางอาญาไม่ว่าการกระทำ ซึ่งเป็นมูลกรณีของความช่วยเหลือนั้นจะเป็นความผิดในรัฐผู้รับคำร้องขอหรือไม่
2. สนธิสัญญานี้จะไม่ใช้บังคับกับการดำเนินการตามหมายจับหรือแก่ความผิดทางทหาร
3. รัฐผู้รับคำร้องขออาจปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือได้ใน 2 กรณีดังนี้
3.1 ในกรณีที่มีผลกระทบต่ออธิปไตย ความมั่นคง หรือผลประโยชน์สาธารณะที่สำคัญยิ่งอื่น ๆ ของรัฐผู้รับคำร้องขอหรือความปลอดภัยของบุคคลใด
3.2 คำร้องขอนั้นเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางการเมือง
4. รัฐผู้รับคำร้องขออาจเลื่อนการให้ความช่วยเหลือ ถ้าการปฏิบัติตามคำร้องขอจะเป็นการแทรกแซงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี หรือกระบวนการทางอาญา ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในรัฐผู้รับคำร้องขอ
5. คำร้องขอความช่วยเหลือตามสนธิสัญญานี้จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของแต่ละฝ่าย สำหรับประเทศไทยได้แก่ อัยการสูงสุดหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด และสำหรับประเทศเปรูได้แก่สำนักงานอัยการสูงสุด (โดยอัยการสูงสุด เป็นผู้ลงนามในคำร้องขอ) สำหรับประเทศไทย คำร้องขอให้จัดทำโดยผู้ประสานงานกลางแห่งราชอาณาจักรไทยและส่งไปยังผู้ประสานงานกลางแห่งสาธารณรัฐเปรูผ่านช่องทางการทูตสำหรับประเทศเปรู คำร้องขอให้จัดทำโดยผู้ประสานงานกลางแห่งสาธารณรัฐเปรูและส่งไปยังผู้ประสานงานกลางแห่งประเทศไทยโดยตรง
6. รัฐผู้รับคำร้องขอจะไม่ปฏิเสธการปฏิบัติตามคำร้องขอโดยยกเหตุเรื่องความลับทางธนาคาร
7. สนธิสัญญานี้จะใช้กับคำร้องขอที่มีขึ้นหลังสนธิสัญญามีผลใช้บังคับถึงแม้ว่าการกระทำหรือการงดเว้นกระทำจะเกิดขึ้นก่อนวันนั้น
8. สนธิสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ลงนาม
9. รัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสนธิสัญญานี้เมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้รัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบ การบอกเลิกจะมีผลหกเดือนหลังจากวันที่แจ้งนั้น
ในส่วนของประเทศไทย สนธิสัญญานี้มีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายรองรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ ร่างสนธิสัญญาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. รัฐภาคีสนธิสัญญาฯ ตกลงที่จะใช้มาตรการที่กว้างขวางที่สุด เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องทางอาญาไม่ว่าการกระทำ ซึ่งเป็นมูลกรณีของความช่วยเหลือนั้นจะเป็นความผิดในรัฐผู้รับคำร้องขอหรือไม่
2. สนธิสัญญานี้จะไม่ใช้บังคับกับการดำเนินการตามหมายจับหรือแก่ความผิดทางทหาร
3. รัฐผู้รับคำร้องขออาจปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือได้ใน 2 กรณีดังนี้
3.1 ในกรณีที่มีผลกระทบต่ออธิปไตย ความมั่นคง หรือผลประโยชน์สาธารณะที่สำคัญยิ่งอื่น ๆ ของรัฐผู้รับคำร้องขอหรือความปลอดภัยของบุคคลใด
3.2 คำร้องขอนั้นเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางการเมือง
4. รัฐผู้รับคำร้องขออาจเลื่อนการให้ความช่วยเหลือ ถ้าการปฏิบัติตามคำร้องขอจะเป็นการแทรกแซงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี หรือกระบวนการทางอาญา ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในรัฐผู้รับคำร้องขอ
5. คำร้องขอความช่วยเหลือตามสนธิสัญญานี้จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของแต่ละฝ่าย สำหรับประเทศไทยได้แก่ อัยการสูงสุดหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด และสำหรับประเทศเปรูได้แก่สำนักงานอัยการสูงสุด (โดยอัยการสูงสุด เป็นผู้ลงนามในคำร้องขอ) สำหรับประเทศไทย คำร้องขอให้จัดทำโดยผู้ประสานงานกลางแห่งราชอาณาจักรไทยและส่งไปยังผู้ประสานงานกลางแห่งสาธารณรัฐเปรูผ่านช่องทางการทูตสำหรับประเทศเปรู คำร้องขอให้จัดทำโดยผู้ประสานงานกลางแห่งสาธารณรัฐเปรูและส่งไปยังผู้ประสานงานกลางแห่งประเทศไทยโดยตรง
6. รัฐผู้รับคำร้องขอจะไม่ปฏิเสธการปฏิบัติตามคำร้องขอโดยยกเหตุเรื่องความลับทางธนาคาร
7. สนธิสัญญานี้จะใช้กับคำร้องขอที่มีขึ้นหลังสนธิสัญญามีผลใช้บังคับถึงแม้ว่าการกระทำหรือการงดเว้นกระทำจะเกิดขึ้นก่อนวันนั้น
8. สนธิสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ลงนาม
9. รัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสนธิสัญญานี้เมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้รัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบ การบอกเลิกจะมีผลหกเดือนหลังจากวันที่แจ้งนั้น
ในส่วนของประเทศไทย สนธิสัญญานี้มีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายรองรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--