ทำเนียบรัฐบาล--15 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เนื่องจากเห็นว่าการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กดำเนินการโดยหน่วยต่าง ๆ หลายหน่วยงานใน 6 กระทรวง และมีรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลาย จากการประเมินผลในเบื้องต้นพบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้เงินงบประมาณในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กทั่วประเทศไปแล้วมากกว่า 50,000 ล้านบาท และยังมีปัญหาที่ต้องเร่งรัดดำเนินการและควรได้รับการแก้ไขอีกหลายประการ ทั้งนี้ เพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กได้อย่างเต็มที่มากขึ้น คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจจึงมีมติ ดังนี้
1. ให้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงข้อมูลด้านแหล่งน้ำขนาดเล็กและน้ำใต้ดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อการกำหนดภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งน้ำ การบำรุงรักษา การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. สนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรบริหารส่วนตำบล องค์กรชุมชน และกลุ่มผู้ใช้น้ำให้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การเริ่มโครงการการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์ การขยายระบบการส่งน้ำและการส่งเสริมอาชีพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและการสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับผ่านกลไกของระบบ กนภ.
3. เนื่องจากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วนั้น เป็นโครงการที่ก่อสร้างตามข้อเสนอของราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยภาครัฐจ่ายเงินสมทบในการก่อสร้างร่วมกัน และมิได้มีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ราษฎร จึงให้กำหนดเป็นบรรทัดฐานสำหรับการคัดเลือกพื้นที่ และก่อสร้างแหล่งน้ำต่อไปในอนาคต โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรอีกต่อไป
4. มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กไปพิจารณากำหนดแนวทางในการเพิ่มสัดส่วนการใช้แรงงานคนในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กแหล่งใหม่ และในการบำรุงรักษาแหล่งน้ำที่ก่อสร้างไว้เดิม เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานและช่วยลดปัญหาการว่างงานในชนบท
5. มอบหมายให้มีหน่วยงานกลางรับไปประสานงานสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดรูแบบและมาตรฐานการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กต่อไปในอนาคต
การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นกิจกรรมสำคัญที่รัฐดำเนินการเพื่อช่วยเหลือราษฎรในชนบทอย่างต่อเนื่อง และเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยสร้างงานในชนบทได้ ซึ่งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ให้ประชาชนในชนบททุกครอบครัวมีน้ำสะอาด ถูกอนามัย สำหรับบริโภคและอุปโภคอย่างเพียงพอตลอดปี
2. ให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับกิจกรรมทางการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์ในระยะฝนทิ้งช่วง
3. ให้แหล่งน้ำทุกแห่งที่ก่อสร้างไว้แล้ว และที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่ ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างสูงสุดโดยมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีการบริหารและการวางแผนการใช้น้ำ และได้รับการดูแลรักษาโดยประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริงโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กซึ่งต้องผ่านขั้นตอนตามระบบ คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ได้รับการพิจารณาสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณให้นั้น จะมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น
1. เป็นโครงการที่มีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมทางเทคนิค
2. ราษฎรบริเวณพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ จะต้องมีความพร้อมในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำ จะต้องมีการวางแผนการใช้น้ำและเตรียมการจัดตั้งกองทุนพัฒนาแหล่งน้ำ เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ
3. เป็นโครงการที่ไม่มีปัญหาเรื่องที่ดิน กล่าวคือ
- ถ้าเป็นโครงการอ่างเก็บน้ำ ราษฎรที่เป็นเจ้าของที่ดินที่จะก่อสร้างและที่จะถูกน้ำท่วม จะต้องยินยอมยกที่ดินให้เพื่อใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยมีเอกสารยินยอมถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าเป็นโครงการขุดลอก หนองบึงธรรมชาติ จะต้องมีพื้นที่สำหรับทิ้งดินในบริเวณใกล้เคียง
- ถ้าเป็นโครงการเจาะบ่อน้ำบาดาล และบ่อน้ำตื้น จะต้องมีถนนให้รถบรรทุกเครื่องมือเจาะเข้าถึงพื้นที่ได้ (กรณีใช้รถจักร) และพื้นที่ที่เจาะจะต้องเป็นที่สาธารณะหรือเจ้าของที่ดินยกให้เป็นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยมีหลักฐานถูกต้องตามกฎหมาย
- ในกรณีที่เป็นโครงการที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ให้จังหวัดทำความตกลงการใช้ที่ดินกับกรมป่าไม้ให้เรียบร้อยก่อน
4. เป็นโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเวลา 1 ปี
ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในรูปแบบต่าง ๆ (เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ สระน้ำบ่อบาดาล ระบบประปาชนบท ระบบส่งน้ำและขุดลอกแหล่งน้ำ) ซึ่งดำเนินงานโดย 12 หน่วยงานใน 6 กระทรวง ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยให้ความสำคัญกับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อน้ำบาดาลและบ่อน้ำตื้น รวมทั้งแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อใช้ในกิจกรรมการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
2. กระทรวงมหาดไทย มี 3 หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ดังนี้ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมการปกครอง และกรมโยธาธิการ
3. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมประชาสงเคราะห์ มีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กภายใต้โครงการรวมน้ำใจถวายในหลวง ในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง โดยการสนับสนุนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรนี มีการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน และการสร้างระบบประปาชนบท
5. กระทรวงกลาโหม โดย กรป.กลาง มีการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล
6. กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย มีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เนื่องจากเห็นว่าการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กดำเนินการโดยหน่วยต่าง ๆ หลายหน่วยงานใน 6 กระทรวง และมีรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลาย จากการประเมินผลในเบื้องต้นพบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้เงินงบประมาณในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กทั่วประเทศไปแล้วมากกว่า 50,000 ล้านบาท และยังมีปัญหาที่ต้องเร่งรัดดำเนินการและควรได้รับการแก้ไขอีกหลายประการ ทั้งนี้ เพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กได้อย่างเต็มที่มากขึ้น คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจจึงมีมติ ดังนี้
1. ให้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงข้อมูลด้านแหล่งน้ำขนาดเล็กและน้ำใต้ดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อการกำหนดภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งน้ำ การบำรุงรักษา การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำ ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. สนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับองค์กรบริหารส่วนตำบล องค์กรชุมชน และกลุ่มผู้ใช้น้ำให้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การเริ่มโครงการการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์ การขยายระบบการส่งน้ำและการส่งเสริมอาชีพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและการสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับผ่านกลไกของระบบ กนภ.
3. เนื่องจากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วนั้น เป็นโครงการที่ก่อสร้างตามข้อเสนอของราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยภาครัฐจ่ายเงินสมทบในการก่อสร้างร่วมกัน และมิได้มีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ราษฎร จึงให้กำหนดเป็นบรรทัดฐานสำหรับการคัดเลือกพื้นที่ และก่อสร้างแหล่งน้ำต่อไปในอนาคต โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรอีกต่อไป
4. มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กไปพิจารณากำหนดแนวทางในการเพิ่มสัดส่วนการใช้แรงงานคนในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กแหล่งใหม่ และในการบำรุงรักษาแหล่งน้ำที่ก่อสร้างไว้เดิม เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานและช่วยลดปัญหาการว่างงานในชนบท
5. มอบหมายให้มีหน่วยงานกลางรับไปประสานงานสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดรูแบบและมาตรฐานการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กต่อไปในอนาคต
การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นกิจกรรมสำคัญที่รัฐดำเนินการเพื่อช่วยเหลือราษฎรในชนบทอย่างต่อเนื่อง และเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยสร้างงานในชนบทได้ ซึ่งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ให้ประชาชนในชนบททุกครอบครัวมีน้ำสะอาด ถูกอนามัย สำหรับบริโภคและอุปโภคอย่างเพียงพอตลอดปี
2. ให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับกิจกรรมทางการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์ในระยะฝนทิ้งช่วง
3. ให้แหล่งน้ำทุกแห่งที่ก่อสร้างไว้แล้ว และที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่ ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างสูงสุดโดยมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีการบริหารและการวางแผนการใช้น้ำ และได้รับการดูแลรักษาโดยประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริงโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กซึ่งต้องผ่านขั้นตอนตามระบบ คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ได้รับการพิจารณาสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณให้นั้น จะมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น
1. เป็นโครงการที่มีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมทางเทคนิค
2. ราษฎรบริเวณพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ จะต้องมีความพร้อมในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำ จะต้องมีการวางแผนการใช้น้ำและเตรียมการจัดตั้งกองทุนพัฒนาแหล่งน้ำ เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ
3. เป็นโครงการที่ไม่มีปัญหาเรื่องที่ดิน กล่าวคือ
- ถ้าเป็นโครงการอ่างเก็บน้ำ ราษฎรที่เป็นเจ้าของที่ดินที่จะก่อสร้างและที่จะถูกน้ำท่วม จะต้องยินยอมยกที่ดินให้เพื่อใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยมีเอกสารยินยอมถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าเป็นโครงการขุดลอก หนองบึงธรรมชาติ จะต้องมีพื้นที่สำหรับทิ้งดินในบริเวณใกล้เคียง
- ถ้าเป็นโครงการเจาะบ่อน้ำบาดาล และบ่อน้ำตื้น จะต้องมีถนนให้รถบรรทุกเครื่องมือเจาะเข้าถึงพื้นที่ได้ (กรณีใช้รถจักร) และพื้นที่ที่เจาะจะต้องเป็นที่สาธารณะหรือเจ้าของที่ดินยกให้เป็นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยมีหลักฐานถูกต้องตามกฎหมาย
- ในกรณีที่เป็นโครงการที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ให้จังหวัดทำความตกลงการใช้ที่ดินกับกรมป่าไม้ให้เรียบร้อยก่อน
4. เป็นโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเวลา 1 ปี
ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในรูปแบบต่าง ๆ (เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ สระน้ำบ่อบาดาล ระบบประปาชนบท ระบบส่งน้ำและขุดลอกแหล่งน้ำ) ซึ่งดำเนินงานโดย 12 หน่วยงานใน 6 กระทรวง ดังนี้
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยให้ความสำคัญกับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อน้ำบาดาลและบ่อน้ำตื้น รวมทั้งแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อใช้ในกิจกรรมการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
2. กระทรวงมหาดไทย มี 3 หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ดังนี้ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมการปกครอง และกรมโยธาธิการ
3. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมประชาสงเคราะห์ มีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กภายใต้โครงการรวมน้ำใจถวายในหลวง ในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง โดยการสนับสนุนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรนี มีการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน และการสร้างระบบประปาชนบท
5. กระทรวงกลาโหม โดย กรป.กลาง มีการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล
6. กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย มีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2541--