ทำเนียบรัฐบาล--24 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ตามเงื่อนไข IMF
ตามจดหมายแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 3 มี 7 มาตรการ ซึ่งคาดว่าจะได้รายได้เพิ่มให้กับรัฐบาลใน 7 เดือนที่เหลือของปีงบ
ประมาณ 2541 ดังนี้
1. เพิ่มภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาท ได้รายได้ 4,541 ล้านบาท
2. เพิ่มภาษีสรรพสามิตเบียร์ 3% จากอัตรา 50% เป็น 53% ได้รายได้ 1,079 ล้านบาท
3. เพิ่มภาษีสรรพสามิตจากไวน์ 5% โดยเพิ่มจากอัตรา 50% เป็น 55% ได้รายได้ 17.59 ล้านบาท
4. เพิ่มภาษีศุลกากรที่เก็บจากบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้รายได้ 780 ล้านบาท
5. การเพิ่มภาษีศุลกากรจากสินค้า 8 รายการ ได้รายได้ 482 ล้านบาท
6. การมอบให้กรมที่ดินเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์แทนกรมสรรพากร ได้รายได้770 ล้านบาท
7. การปรับเพิ่มอัตราภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ ได้รายได้ 1,450 ล้านบาท
รวมรายได้เพิ่มขึ้น 9,119.59 ล้านบาท
มาตรการที่ 1 - 5 ซึ่งเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร มีผลใช้บังคับ ณ เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่
25 กุมภาพันธ์ 2541 ส่วนมาตรการเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งกรมสรรพากรมอบอำนาจให้กรมที่ดินจัดเก็บให้ และมาตรการ
เกี่ยวกับภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์จะมีผลใช้บังคับเมื่อรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายแล้ว
การที่กระทรวงการคลังต้องเสนอมาตรการเพิ่มภาษีนั้น มีเหตุผลและความจำเป็นดังนี้ คือ
โดยที่ IMF ได้ผ่อนปรนให้ประเทศไทยไม่ต้องดำรงฐานะดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุล 1% ของ GDP ดังเดิมแต่ยอม
ให้ขาดดุลได้ 2% ของ GDP ในจำนวนนี้เป็นการขาดดุลของรัฐบาล 1.5% และเป็นการขาดดุลของรัฐวิสาหกิจ 0.5% ในการขาด
ดุลของรัฐบาล 1.5% นั้น งบประมาณขาดดุลได้ 1% และเงินนอกงบประมาณซึ่งได้แก่ เงินกู้ตามโครงการปกติและโครงการตาม IMF
program ซึ่งเป็นการกู้จากธนาคารโลกและ ADB ขาดดุลได้อีก 0.5%
เพื่อให้รัฐบาลขาดดุลได้ไม่เกิน 1.5% ของ GDP IMF ได้กำหนดให้ต้องเก็บภาษีเพิ่มอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท
สำหรับ 7 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2541 ทั้งนี้เพื่อ
1. เพื่อปรับโครงสร้างภาษีให้ก่อเกิดรายได้เพื่อจุนเจือรายได้บ้าง และเป็นการสร้างฐานสำหรับการจัดเก็บภาษีให้ได้
มากขึ้นในเวลาที่เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติต่อไป
2. เพื่อช่วยให้ไม่ต้องไปตัดรายจ่ายในรายการที่เป็นสวัสดิการสังคมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้หลักการใน
การกำหนดมาตรการภาษีเพื่อให้ได้รายได้เพิ่มเติมอีกจำนวน 10,000 ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังได้ยึดถือหลักการ 4 ประการ
ดังนี้
1. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่กระทบต่อประชาชนทั่วไปมากเกินไปนัก โดยเฉพาะจะต้องกระทบผู้มีรายได้น้อยน้อยที่สุด
2. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่ก่อเกิดความเสียหายให้กับเศรษฐกิจซึ่งบอบช้ำอยู่มากแล้ว โดยเฉพาะจะต้องไม่ทำให้
ราคาสินค้าทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเกินควร อันจะทำให้เกิดเงินเฟ้อมากจนเกินไป
3. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตไทยสูงขึ้นจนทำให้ประเทศไทยมีฐานะเชิงแข่งขันที่ด้อยลง
4. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่สวนทางกับแนวนโยบายเศรษฐกิจและแนวนโยบายภาษีอากรระยะยาวของประเทศไทย
เช่น 1) ไม่ขัดกับแนวนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าตามความเหมาะสมของเศรษฐกิจไทยและตามที่ได้ผูกพันไว้กับ WTO 2) ไม่
กระทบการออมตามแนวนโยบายในการเร่งส่งเสริมการออมภายประเทศ 3) ไม่เพิ่มการบิดเบือนทางเศรษฐกิจ (Economic
Distortion) อันขัดกับหลักความเป็นกลางของภาษีอากร 4) เอื้อต่อการกระจายรายได้อันเป็นแนวนโยบายระยะยาวของการ
ภาษีอากรและการเศรษฐกิจ
รัฐบาลพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาษี เพราะเห็นว่าการเพิ่มภาษีจะเป็นภาระต่อประชาชน จึงได้ทำ
การเจรจากับ IMF ให้ผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้เงินจากเดิมซึ่งกำหนดให้รัฐบาลต้องดำรงการเกินดุลการคลังของรัฐบาลไว้ที่ 1% ของ
GDP ในที่สุด IMF ได้ยอมผ่อนปรนให้ประเทศไทยไม่ต้องรักษาดุลการคลังเกินดุลไว้ที่ 1% แต่ยอมให้ขาดดุลได้ 1.5% ของ GDP นอก
จากนั้น รัฐบาลยังได้ทำการกวดขันในเรื่องการใช้จ่าย โดยกระทรวงการคลังได้ขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้จ่ายอย่างประหยัด
ความจำเป็นต้องเพิ่มภาษีจึงลดน้อยลง จากที่รายได้ตกต่ำจากที่ประมาณการไว้เดิมถึง 97,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้เพิ่มภาษีเพียง
9,100 กว่าล้านบาทเท่านั้น การเพิ่มภาษีจำนวนน้อยนี้เป็นการสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของไทยในภาวะปัจจุบันและสอดคล้องกับ
เงื่อนไขของ IMF
สำหรับมาตรการเพิ่มภาษีศุลกากรที่เก็บจากการนำเข้าสินค้า 8 รายการ ซึ่งไม่จำเป็นต่อการครองชีพ หรือมีสิ่งอื่นทด
แทนได้ ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ ดังนี้
รายการสินค้า ประเภทพิกัด อัตราที่เรียกเก็บปัจจุบัน อัตราที่ปรับเพิ่ม
อัตราตาม อัตราตาม อัตราตาม อัตราตาม
ราคา (%) สภาพ ราคา(%) สภาพ
1. ผ้าขนสัตว์ 51.11 - 51.12 10 - 40 -
2. น้ำหอม 33.03 30 - 40 -
3. เครื่องสำอาง 33.04 30 - 40 -
4. กระเป๋าและเข็มขัดหนัง 42.02, 42.03 30 - 40 -
5. รองเท้าทำด้วยหนัง 64.03 - 64.04 30 - 40 -
และผ้าใบ 64.05 30 9 บาท/คู่ 40 12 บาท/คู่
6. เครื่องแก้วเลดคริสตัลที่ใช้บนโต๊ะ 70.13 30 1.35 บาท/ชิ้น 35 1.0 บาท/ชิ้น
อาหาร
7. เครื่องประดับคริสตัล 71.17 30 - 60 -
8. สูท เสื้อ กางเกง 62.03 - 62.04 30 - 60 -
กระโปรง และเนคไท 62.05 30 12 บาท/ตัว 60 24 บาท/ตัว
รวมเครื่องชั้นใน 62.06 30 - 60 -
62.07 30 6 บาท/ตัว 60 12 บาท/ตัว
62.08 30 6 บาท/ตัว 60 12 บาท/ตัว
62.09 - 62.12 30 - 60 - 62.13 30 2.4 บาท/ผืน 60 4.8บาท/ผืน
62.14 - 62.15 30 - 60 -
มาตรการมอบอำนาจให้กรมที่ดินเก็บภาษีเพื่อกรมสรรพากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากการขายอสังหาริมทรัพย์
เป็นทางค้าหรือหากำไร เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม นั้น ได้กำหนดให้เก็บภาษีเมื่อมีการจดทะเบียนการโอน
ปัจจุบันกรมสรรพากรเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือหากำไรในอัตราร้อยละ 3.3 (รวมภาษี
ท้องถิ่น) ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ขาย โดยผู้เสียภาษีต้องนำภาษีไปเสียเองที่สำนักงานสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มี
การโอน ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ขายมักไม่ได้ไปเสียภาษี และเมื่อกรมสรรพากรไปตรวจพบ ผู้เสียภาษีก็จะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งเป็น
ภาระต่อประชาชนผู้เสียภาษี
การมอบอำนาจให้กรมที่ดินจัดเก็บแทนโดยเก็บในวันที่มีการจดทะเบียนการโอนจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี
และจะทำให้เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น และผู้เสียภาษีก็จะไม่ถูกปรับและไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม
มาตรการปรับเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ (ภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเสียเป็นรายปี)
ภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ในอัตราต่ำ อัตรานี้ใช้มานานเกือบ 20 ปีแล้ว เมื่อปี 2534 อันเป็นปีที่มีการลดภาษีที่
เก็บจากการขายรถยนต์ ทั้งที่เป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าลงอย่างมาก คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีมติให้ลดภาษีที่เก็บจากการขายรถยนต์
และให้เพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ (ซึ่งเก็บเป็นรายปี) แทน แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ทำไม่สำเร็จในเรื่องการเพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์
รัฐบาลต่อ ๆ มาได้รับหลักการเรื่องการเพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์มาทำต่อ จนล่าสุดพระราชบัญญัติรถยนต์และพระราชบัญญัติขนส่งที่มุ่งปรับ
เพิ่มอัตราภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ได้ผ่านความเห็นชอบในรัฐบาลก่อน และขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจแก้ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
หากเร่งผ่านและเสนอไปสภาโดยเร็วก็จะทำให้มาตรการซึ่งเห็นชอบกันมาหลายปี หลายรัฐบาลแล้ว ได้รับการทำให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้
มาตรการนี้มีผลดีคือ จะเป็นการช่วยลดปัญหาจราจร เพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่น (ภาษีนี้เมื่อจัดเก็บแล้วเงินภาษีตกเป็นของท้องถิ่น)
และเป็นการปรับอัตราภาษีให้สอดคล้องกับค่าของเงินซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเกือบ 20 ปีมานี้ และเป็นการปรับภาษีให้เกิดความยุติธรรม
ในสังคม
สำหรับมาตรการเพิ่มภาษีสรรพามิตที่เก็บจากน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาท โดยเพิ่มจากอัตราลิตรละ 2.585 บาทหรือ 25%
เป็นลิตรละ 3.585 บาท หรือ 31% มีเหตุผลดังนี้ คือ
1. การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินจะทำให้ประชาชนมีการปรับตัวและใช้น้ำมันเบนซินด้วยความประหยัดในอนาคตอันเป็นการสงวน
รักษาพลังงาน และหากปริมาณการใช้ลดลงบ้างก็จะเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ
2. น้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถเกือบทั้งหมด ไม่ได้ใช้ในการอุตสาหกรรม การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซิน โดย
ไม่เพิ่มภาษีน้ำมันดีเซล จึงไม่กระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และการบริการ
3. จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาทจะมีผลกระทบ
ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจน้อยมาก คือทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเพียง 0.01% และแทบไม่มีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเลย
4. การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินในอัตราลิตรละ 1 บาท โดยไม่เพิ่มภาษีน้ำมันดีเซลนี้ จะไม่กระทบต่อสัดส่วนของผลผลิตน้ำมันดีเซล
กับเบนซินของโรงกลั่น เพราะจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันดีเซลแทนน้ำมันเบนซิน เพราะการเปลี่ยนดังกล่าวมีต้นทุนสูงกว่า ประโยชน์
ที่ได้รับจากส่วนแตกต่างของภาษี ณ ระดับนี้
5. การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาทนี้ จะไม่เป็นการเพิ่มการลักลอบน้ำมันหนีภาษีด้วย เพราะการลักลอบไม่มีในกรณีของ
น้ำมันเบนซิน มีเฉพาะกรณีน้ำมันดีเซล
6. อย่างไรก็ตาม การเพิ่มภาษีดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซินต้องจ่ายค่าน้ำมันสูงขึ้นลิตรละ 1.21 บาท(รวมภาษีท้องถิ่นและ VAT)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541--
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ตามเงื่อนไข IMF
ตามจดหมายแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 3 มี 7 มาตรการ ซึ่งคาดว่าจะได้รายได้เพิ่มให้กับรัฐบาลใน 7 เดือนที่เหลือของปีงบ
ประมาณ 2541 ดังนี้
1. เพิ่มภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาท ได้รายได้ 4,541 ล้านบาท
2. เพิ่มภาษีสรรพสามิตเบียร์ 3% จากอัตรา 50% เป็น 53% ได้รายได้ 1,079 ล้านบาท
3. เพิ่มภาษีสรรพสามิตจากไวน์ 5% โดยเพิ่มจากอัตรา 50% เป็น 55% ได้รายได้ 17.59 ล้านบาท
4. เพิ่มภาษีศุลกากรที่เก็บจากบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้รายได้ 780 ล้านบาท
5. การเพิ่มภาษีศุลกากรจากสินค้า 8 รายการ ได้รายได้ 482 ล้านบาท
6. การมอบให้กรมที่ดินเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์แทนกรมสรรพากร ได้รายได้770 ล้านบาท
7. การปรับเพิ่มอัตราภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ ได้รายได้ 1,450 ล้านบาท
รวมรายได้เพิ่มขึ้น 9,119.59 ล้านบาท
มาตรการที่ 1 - 5 ซึ่งเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร มีผลใช้บังคับ ณ เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่
25 กุมภาพันธ์ 2541 ส่วนมาตรการเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งกรมสรรพากรมอบอำนาจให้กรมที่ดินจัดเก็บให้ และมาตรการ
เกี่ยวกับภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์จะมีผลใช้บังคับเมื่อรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายแล้ว
การที่กระทรวงการคลังต้องเสนอมาตรการเพิ่มภาษีนั้น มีเหตุผลและความจำเป็นดังนี้ คือ
โดยที่ IMF ได้ผ่อนปรนให้ประเทศไทยไม่ต้องดำรงฐานะดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุล 1% ของ GDP ดังเดิมแต่ยอม
ให้ขาดดุลได้ 2% ของ GDP ในจำนวนนี้เป็นการขาดดุลของรัฐบาล 1.5% และเป็นการขาดดุลของรัฐวิสาหกิจ 0.5% ในการขาด
ดุลของรัฐบาล 1.5% นั้น งบประมาณขาดดุลได้ 1% และเงินนอกงบประมาณซึ่งได้แก่ เงินกู้ตามโครงการปกติและโครงการตาม IMF
program ซึ่งเป็นการกู้จากธนาคารโลกและ ADB ขาดดุลได้อีก 0.5%
เพื่อให้รัฐบาลขาดดุลได้ไม่เกิน 1.5% ของ GDP IMF ได้กำหนดให้ต้องเก็บภาษีเพิ่มอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท
สำหรับ 7 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2541 ทั้งนี้เพื่อ
1. เพื่อปรับโครงสร้างภาษีให้ก่อเกิดรายได้เพื่อจุนเจือรายได้บ้าง และเป็นการสร้างฐานสำหรับการจัดเก็บภาษีให้ได้
มากขึ้นในเวลาที่เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติต่อไป
2. เพื่อช่วยให้ไม่ต้องไปตัดรายจ่ายในรายการที่เป็นสวัสดิการสังคมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้หลักการใน
การกำหนดมาตรการภาษีเพื่อให้ได้รายได้เพิ่มเติมอีกจำนวน 10,000 ล้านบาท นั้น กระทรวงการคลังได้ยึดถือหลักการ 4 ประการ
ดังนี้
1. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่กระทบต่อประชาชนทั่วไปมากเกินไปนัก โดยเฉพาะจะต้องกระทบผู้มีรายได้น้อยน้อยที่สุด
2. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่ก่อเกิดความเสียหายให้กับเศรษฐกิจซึ่งบอบช้ำอยู่มากแล้ว โดยเฉพาะจะต้องไม่ทำให้
ราคาสินค้าทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเกินควร อันจะทำให้เกิดเงินเฟ้อมากจนเกินไป
3. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตไทยสูงขึ้นจนทำให้ประเทศไทยมีฐานะเชิงแข่งขันที่ด้อยลง
4. มาตรการที่เสนอจะต้องไม่สวนทางกับแนวนโยบายเศรษฐกิจและแนวนโยบายภาษีอากรระยะยาวของประเทศไทย
เช่น 1) ไม่ขัดกับแนวนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าตามความเหมาะสมของเศรษฐกิจไทยและตามที่ได้ผูกพันไว้กับ WTO 2) ไม่
กระทบการออมตามแนวนโยบายในการเร่งส่งเสริมการออมภายประเทศ 3) ไม่เพิ่มการบิดเบือนทางเศรษฐกิจ (Economic
Distortion) อันขัดกับหลักความเป็นกลางของภาษีอากร 4) เอื้อต่อการกระจายรายได้อันเป็นแนวนโยบายระยะยาวของการ
ภาษีอากรและการเศรษฐกิจ
รัฐบาลพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาษี เพราะเห็นว่าการเพิ่มภาษีจะเป็นภาระต่อประชาชน จึงได้ทำ
การเจรจากับ IMF ให้ผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้เงินจากเดิมซึ่งกำหนดให้รัฐบาลต้องดำรงการเกินดุลการคลังของรัฐบาลไว้ที่ 1% ของ
GDP ในที่สุด IMF ได้ยอมผ่อนปรนให้ประเทศไทยไม่ต้องรักษาดุลการคลังเกินดุลไว้ที่ 1% แต่ยอมให้ขาดดุลได้ 1.5% ของ GDP นอก
จากนั้น รัฐบาลยังได้ทำการกวดขันในเรื่องการใช้จ่าย โดยกระทรวงการคลังได้ขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้จ่ายอย่างประหยัด
ความจำเป็นต้องเพิ่มภาษีจึงลดน้อยลง จากที่รายได้ตกต่ำจากที่ประมาณการไว้เดิมถึง 97,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้เพิ่มภาษีเพียง
9,100 กว่าล้านบาทเท่านั้น การเพิ่มภาษีจำนวนน้อยนี้เป็นการสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของไทยในภาวะปัจจุบันและสอดคล้องกับ
เงื่อนไขของ IMF
สำหรับมาตรการเพิ่มภาษีศุลกากรที่เก็บจากการนำเข้าสินค้า 8 รายการ ซึ่งไม่จำเป็นต่อการครองชีพ หรือมีสิ่งอื่นทด
แทนได้ ประกอบด้วยรายการต่าง ๆ ดังนี้
รายการสินค้า ประเภทพิกัด อัตราที่เรียกเก็บปัจจุบัน อัตราที่ปรับเพิ่ม
อัตราตาม อัตราตาม อัตราตาม อัตราตาม
ราคา (%) สภาพ ราคา(%) สภาพ
1. ผ้าขนสัตว์ 51.11 - 51.12 10 - 40 -
2. น้ำหอม 33.03 30 - 40 -
3. เครื่องสำอาง 33.04 30 - 40 -
4. กระเป๋าและเข็มขัดหนัง 42.02, 42.03 30 - 40 -
5. รองเท้าทำด้วยหนัง 64.03 - 64.04 30 - 40 -
และผ้าใบ 64.05 30 9 บาท/คู่ 40 12 บาท/คู่
6. เครื่องแก้วเลดคริสตัลที่ใช้บนโต๊ะ 70.13 30 1.35 บาท/ชิ้น 35 1.0 บาท/ชิ้น
อาหาร
7. เครื่องประดับคริสตัล 71.17 30 - 60 -
8. สูท เสื้อ กางเกง 62.03 - 62.04 30 - 60 -
กระโปรง และเนคไท 62.05 30 12 บาท/ตัว 60 24 บาท/ตัว
รวมเครื่องชั้นใน 62.06 30 - 60 -
62.07 30 6 บาท/ตัว 60 12 บาท/ตัว
62.08 30 6 บาท/ตัว 60 12 บาท/ตัว
62.09 - 62.12 30 - 60 - 62.13 30 2.4 บาท/ผืน 60 4.8บาท/ผืน
62.14 - 62.15 30 - 60 -
มาตรการมอบอำนาจให้กรมที่ดินเก็บภาษีเพื่อกรมสรรพากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากการขายอสังหาริมทรัพย์
เป็นทางค้าหรือหากำไร เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม นั้น ได้กำหนดให้เก็บภาษีเมื่อมีการจดทะเบียนการโอน
ปัจจุบันกรมสรรพากรเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือหากำไรในอัตราร้อยละ 3.3 (รวมภาษี
ท้องถิ่น) ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ขาย โดยผู้เสียภาษีต้องนำภาษีไปเสียเองที่สำนักงานสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มี
การโอน ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ขายมักไม่ได้ไปเสียภาษี และเมื่อกรมสรรพากรไปตรวจพบ ผู้เสียภาษีก็จะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งเป็น
ภาระต่อประชาชนผู้เสียภาษี
การมอบอำนาจให้กรมที่ดินจัดเก็บแทนโดยเก็บในวันที่มีการจดทะเบียนการโอนจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี
และจะทำให้เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น และผู้เสียภาษีก็จะไม่ถูกปรับและไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม
มาตรการปรับเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ (ภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเสียเป็นรายปี)
ภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ในอัตราต่ำ อัตรานี้ใช้มานานเกือบ 20 ปีแล้ว เมื่อปี 2534 อันเป็นปีที่มีการลดภาษีที่
เก็บจากการขายรถยนต์ ทั้งที่เป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าลงอย่างมาก คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีมติให้ลดภาษีที่เก็บจากการขายรถยนต์
และให้เพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ (ซึ่งเก็บเป็นรายปี) แทน แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ทำไม่สำเร็จในเรื่องการเพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์
รัฐบาลต่อ ๆ มาได้รับหลักการเรื่องการเพิ่มภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์มาทำต่อ จนล่าสุดพระราชบัญญัติรถยนต์และพระราชบัญญัติขนส่งที่มุ่งปรับ
เพิ่มอัตราภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ได้ผ่านความเห็นชอบในรัฐบาลก่อน และขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจแก้ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
หากเร่งผ่านและเสนอไปสภาโดยเร็วก็จะทำให้มาตรการซึ่งเห็นชอบกันมาหลายปี หลายรัฐบาลแล้ว ได้รับการทำให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้
มาตรการนี้มีผลดีคือ จะเป็นการช่วยลดปัญหาจราจร เพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่น (ภาษีนี้เมื่อจัดเก็บแล้วเงินภาษีตกเป็นของท้องถิ่น)
และเป็นการปรับอัตราภาษีให้สอดคล้องกับค่าของเงินซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเกือบ 20 ปีมานี้ และเป็นการปรับภาษีให้เกิดความยุติธรรม
ในสังคม
สำหรับมาตรการเพิ่มภาษีสรรพามิตที่เก็บจากน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาท โดยเพิ่มจากอัตราลิตรละ 2.585 บาทหรือ 25%
เป็นลิตรละ 3.585 บาท หรือ 31% มีเหตุผลดังนี้ คือ
1. การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินจะทำให้ประชาชนมีการปรับตัวและใช้น้ำมันเบนซินด้วยความประหยัดในอนาคตอันเป็นการสงวน
รักษาพลังงาน และหากปริมาณการใช้ลดลงบ้างก็จะเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ
2. น้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถเกือบทั้งหมด ไม่ได้ใช้ในการอุตสาหกรรม การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซิน โดย
ไม่เพิ่มภาษีน้ำมันดีเซล จึงไม่กระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และการบริการ
3. จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาทจะมีผลกระทบ
ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจน้อยมาก คือทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเพียง 0.01% และแทบไม่มีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเลย
4. การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินในอัตราลิตรละ 1 บาท โดยไม่เพิ่มภาษีน้ำมันดีเซลนี้ จะไม่กระทบต่อสัดส่วนของผลผลิตน้ำมันดีเซล
กับเบนซินของโรงกลั่น เพราะจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันดีเซลแทนน้ำมันเบนซิน เพราะการเปลี่ยนดังกล่าวมีต้นทุนสูงกว่า ประโยชน์
ที่ได้รับจากส่วนแตกต่างของภาษี ณ ระดับนี้
5. การเพิ่มภาษีน้ำมันเบนซินลิตรละ 1 บาทนี้ จะไม่เป็นการเพิ่มการลักลอบน้ำมันหนีภาษีด้วย เพราะการลักลอบไม่มีในกรณีของ
น้ำมันเบนซิน มีเฉพาะกรณีน้ำมันดีเซล
6. อย่างไรก็ตาม การเพิ่มภาษีดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซินต้องจ่ายค่าน้ำมันสูงขึ้นลิตรละ 1.21 บาท(รวมภาษีท้องถิ่นและ VAT)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541--