ทำเนียบรัฐบาล--2 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอร่างกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ คือ
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .…) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 เป็นการจัดตั้งแผนกคดีล้มละลายในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายแยกต่างหากจากคดีทั่วไปในศาลนั้น
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .…) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 (เทียบตำแหน่ง) เป็นการกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในแผนกคดีล้มละลายที่จัดตั้งขึ้นในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 และเทียบตำแหน่งดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการตุลาการ ดังนี้
1) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีล้มละลาย เทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
2) ตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีล้มละลายในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เทียบกับตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
ทั้งนี้ เนื่องจากในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สภาพทางการเงินโดยรวมขาดความคล่องตัว อันอาจทำให้เกิดปัญหาในทางธุรกิจตามมาอย่างมากมาย ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดคดีล้มละลายมาสู่ศาลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีการจัดตั้งแผนกคดีล้มละลายขึ้นในศาลชั้นต้น คือ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ รวมทั้งศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายในทุกชั้นศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญในด้านกฎหมายล้มละลายโดยเฉพาะ จึงสมควรให้มีการจัดตั้งแผนกคดีล้มละลายขึ้นในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยเฉพาะสอดคล้องกันทุกชั้นศาล รวมทั้งเป็นการเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 2 กันยายน 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอร่างกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ คือ
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .…) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 เป็นการจัดตั้งแผนกคดีล้มละลายในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายแยกต่างหากจากคดีทั่วไปในศาลนั้น
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .…) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 (เทียบตำแหน่ง) เป็นการกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในแผนกคดีล้มละลายที่จัดตั้งขึ้นในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 และเทียบตำแหน่งดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการตุลาการ ดังนี้
1) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีล้มละลาย เทียบกับตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
2) ตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีล้มละลายในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เทียบกับตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
ทั้งนี้ เนื่องจากในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สภาพทางการเงินโดยรวมขาดความคล่องตัว อันอาจทำให้เกิดปัญหาในทางธุรกิจตามมาอย่างมากมาย ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดคดีล้มละลายมาสู่ศาลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีการจัดตั้งแผนกคดีล้มละลายขึ้นในศาลชั้นต้น คือ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ รวมทั้งศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายในทุกชั้นศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญในด้านกฎหมายล้มละลายโดยเฉพาะ จึงสมควรให้มีการจัดตั้งแผนกคดีล้มละลายขึ้นในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยเฉพาะสอดคล้องกันทุกชั้นศาล รวมทั้งเป็นการเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 2 กันยายน 2540--