ทำเนียบรัฐบาล--7 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ (โครงการบัตรสุขภาพ) จากภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก 500 บาทต่อบัตร เป็น 1,000 บาทต่อบัตร โดยงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการในระยะแรกมาจากเงินกู้จากธนาคารโลกภายใต้โครงการลงทุนเพื่อสังคม โดยมีเป้าหมายที่เพียง 3 ล้านบัตร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
1. กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ตามโครงการฯ นี้ สมาชิกบัตรประกันสุขภาพจะได้รับการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจากหน่วยบริการในโครงการโดยไม่ต้องเสียเงินอีก ยกเว้น ภาวะ หรือ โรค หรือ บริการที่ไม่ได้อยู่ในการคุ้มครองของบัตรประกันสุขภาพ ทำให้เกิดปัญหาการดำเนินโครงการในปัจจุบัน มีดังนี้
1.1 ความต้องการหลักประกันด้านสุขภาพ
ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ประชาชนที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งของตนเองและครอบครัวได้ จึงมีแนวโน้มว่าจะมีประชาชนสมัครใจที่จะซื้อบัตรประกันสุขภาพมากกว่าปีที่ผ่านมา
1.2 การขาดความมั่นคงทางด้านการเงิน สถานพยาบาลได้รับเงินชดเชยการจัดบริการที่ต่ำกว่าภาระค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก และต้องมีการนำเงินจากแหล่งอื่นมาชดเชย
1.3 การขาดการกระจายความเสี่ยงที่ดี
ในการซื้อบัตรจะเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงและมีโอกาสในการใช้บริการมาก ในขณะที่คนที่มีสุขภาพดีและมีโอกาสในการใช้บริการน้อย จะไม่มีแรงจูงใจในการซื้อ ดังนั้น บัตรสมาชิกที่เพิ่มขึ้นนั้น กลายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเข้ามามากขึ้น
1.4 การกำหนดราคาและงบประมาณที่รัฐสนับสนุนต่ำ
ค่าใช้จ่ายต่อบัตรที่ได้รับรายงานในปี 2539-2540 จะอยู่ที่ประมาณ 1,900 บาทต่อบัตร (ข้อมูลงานวิจัย ค่าใช้จ่ายปี 2538 เท่ากับ 1,871 บาท) ในขณะที่ราคาบัตรบวกกับที่รัฐบาลสมทบนั้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น
1.5 ต้นทุนการจัดบริการต่อบัตร
อัตราการใช้บริการต่อรายจะเท่ากับ 2.67 ครั้ง/ปี หรือ 10.47 ครั้ง/บัตร สำหรับบริการผู้ป่วยนอก และ 0.11 ครั้ง/คน/ปี หรือ 0.45 ครั้ง/บัตรสำหรับบริการผู้ป่วยใน และต้นทุนต่อบัตรเท่ากับ 2,137 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 เมษายน 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ (โครงการบัตรสุขภาพ) จากภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก 500 บาทต่อบัตร เป็น 1,000 บาทต่อบัตร โดยงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการในระยะแรกมาจากเงินกู้จากธนาคารโลกภายใต้โครงการลงทุนเพื่อสังคม โดยมีเป้าหมายที่เพียง 3 ล้านบัตร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
1. กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ตามโครงการฯ นี้ สมาชิกบัตรประกันสุขภาพจะได้รับการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจากหน่วยบริการในโครงการโดยไม่ต้องเสียเงินอีก ยกเว้น ภาวะ หรือ โรค หรือ บริการที่ไม่ได้อยู่ในการคุ้มครองของบัตรประกันสุขภาพ ทำให้เกิดปัญหาการดำเนินโครงการในปัจจุบัน มีดังนี้
1.1 ความต้องการหลักประกันด้านสุขภาพ
ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ประชาชนที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งของตนเองและครอบครัวได้ จึงมีแนวโน้มว่าจะมีประชาชนสมัครใจที่จะซื้อบัตรประกันสุขภาพมากกว่าปีที่ผ่านมา
1.2 การขาดความมั่นคงทางด้านการเงิน สถานพยาบาลได้รับเงินชดเชยการจัดบริการที่ต่ำกว่าภาระค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก และต้องมีการนำเงินจากแหล่งอื่นมาชดเชย
1.3 การขาดการกระจายความเสี่ยงที่ดี
ในการซื้อบัตรจะเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงและมีโอกาสในการใช้บริการมาก ในขณะที่คนที่มีสุขภาพดีและมีโอกาสในการใช้บริการน้อย จะไม่มีแรงจูงใจในการซื้อ ดังนั้น บัตรสมาชิกที่เพิ่มขึ้นนั้น กลายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเข้ามามากขึ้น
1.4 การกำหนดราคาและงบประมาณที่รัฐสนับสนุนต่ำ
ค่าใช้จ่ายต่อบัตรที่ได้รับรายงานในปี 2539-2540 จะอยู่ที่ประมาณ 1,900 บาทต่อบัตร (ข้อมูลงานวิจัย ค่าใช้จ่ายปี 2538 เท่ากับ 1,871 บาท) ในขณะที่ราคาบัตรบวกกับที่รัฐบาลสมทบนั้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น
1.5 ต้นทุนการจัดบริการต่อบัตร
อัตราการใช้บริการต่อรายจะเท่ากับ 2.67 ครั้ง/ปี หรือ 10.47 ครั้ง/บัตร สำหรับบริการผู้ป่วยนอก และ 0.11 ครั้ง/คน/ปี หรือ 0.45 ครั้ง/บัตรสำหรับบริการผู้ป่วยใน และต้นทุนต่อบัตรเท่ากับ 2,137 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 เมษายน 2541--