ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไป ในตลาดทุนญี่ปุ่น รุ่นที่ 10 รุ่นที่ 11 และรุ่นที่ 12 ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 สิงหาคม 2537) อนุมัติในหลักการ และเงื่อนไขให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่ว ไปในตลาดทุนญี่ปุ่น (Samurai Bonds) รุ่นที่ 10 ระยะไถ่ถอน 3 ปี รุ่นที่ 11 ระยะไถ่ถอน 5 ปี และ รุ่นที่ 12 ระยะไถ่ถอน 7 ปี วงเงินรุ่นละ 10 พันล้านเยน โดยมี The Nomura Securities Co., Ltd. เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่าย The Bank of Tokyo, Ltd. เป็นหัวหน้าคณะธนาคารรับ จ่ายเงินสำหรับพันธบัตรรุ่นที่ 10 และรุ่นที่ 11 และ The Sakura Bank, Ltd. เป็นหัวหน้าคณะ ธนาคารรับจ่ายเงินสำหรับพันธบัตรรุ่นที่ 12 โดยกำหนดนำเงินที่ได้มาให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหา ชน) กู้ต่อเพื่อ Refinance เงินกู้เงินเยนรายเดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราตลาดในปัจจุบัน นั้น กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะผู้แทนเดินทางไปกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจารายละเอียดขั้นสุด ท้ายและทำความตกลงเกี่ยวกับการออกพันธบัตรดังกล่าว โดยได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัด จำหน่ายพันธบัตร (SubscriptionAgreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารรับจ่ายเงิน (Agreement with Commissioned Companies for Bondholders) ความตกลงว่าด้วย การเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (PayingAgentsAgreement)ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธ- บัตร(Recording Agency Agreement) และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2537
อนึ่ง การออกพันธบัตรในครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งในการดำเนินการกู้เงินโดยวิธี ออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขพันธบัตรได้ในอัตราที่มี Spread ต่ำลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะ 3 ปี ซึ่งมี Spread เป็นลบ และยังได้รับการตอบรับจาก นักลงทุนอย่างดียิ่ง ผลจากการ Refinance เงินกู้ต่างประเทศ โดยการออกพันธบัตรเงินเยนครั้งนี้ ซึ่ง มีต้นทุนเฉลี่ย (Effective Cost) ในอัตราร้อยละ 4.58 ต่อปี ในขณะที่เงินกู้เยนรายเดิมมีอัตราดอก เบี้ยโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.98 ต่อปี สำหรับอายุเงินกู้โดยเฉลี่ย 5 ปี เมื่อหักค่าธรรมเนียมในการขอชำระ หนี้คืนก่อนครบกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้วจะทำให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สามารถ ลดต้นทุนการกู้เงินได้ประมาณร้อยละ 1.7 ต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 2.550 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 637.50 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 พฤศจิกายน 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไป ในตลาดทุนญี่ปุ่น รุ่นที่ 10 รุ่นที่ 11 และรุ่นที่ 12 ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 สิงหาคม 2537) อนุมัติในหลักการ และเงื่อนไขให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่ว ไปในตลาดทุนญี่ปุ่น (Samurai Bonds) รุ่นที่ 10 ระยะไถ่ถอน 3 ปี รุ่นที่ 11 ระยะไถ่ถอน 5 ปี และ รุ่นที่ 12 ระยะไถ่ถอน 7 ปี วงเงินรุ่นละ 10 พันล้านเยน โดยมี The Nomura Securities Co., Ltd. เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่าย The Bank of Tokyo, Ltd. เป็นหัวหน้าคณะธนาคารรับ จ่ายเงินสำหรับพันธบัตรรุ่นที่ 10 และรุ่นที่ 11 และ The Sakura Bank, Ltd. เป็นหัวหน้าคณะ ธนาคารรับจ่ายเงินสำหรับพันธบัตรรุ่นที่ 12 โดยกำหนดนำเงินที่ได้มาให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหา ชน) กู้ต่อเพื่อ Refinance เงินกู้เงินเยนรายเดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราตลาดในปัจจุบัน นั้น กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะผู้แทนเดินทางไปกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจารายละเอียดขั้นสุด ท้ายและทำความตกลงเกี่ยวกับการออกพันธบัตรดังกล่าว โดยได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัด จำหน่ายพันธบัตร (SubscriptionAgreement) ความตกลงว่าด้วยการเป็นธนาคารรับจ่ายเงิน (Agreement with Commissioned Companies for Bondholders) ความตกลงว่าด้วย การเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (PayingAgentsAgreement)ความตกลงว่าด้วยการจดทะเบียนผู้ซื้อพันธ- บัตร(Recording Agency Agreement) และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2537
อนึ่ง การออกพันธบัตรในครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งในการดำเนินการกู้เงินโดยวิธี ออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขพันธบัตรได้ในอัตราที่มี Spread ต่ำลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะ 3 ปี ซึ่งมี Spread เป็นลบ และยังได้รับการตอบรับจาก นักลงทุนอย่างดียิ่ง ผลจากการ Refinance เงินกู้ต่างประเทศ โดยการออกพันธบัตรเงินเยนครั้งนี้ ซึ่ง มีต้นทุนเฉลี่ย (Effective Cost) ในอัตราร้อยละ 4.58 ต่อปี ในขณะที่เงินกู้เยนรายเดิมมีอัตราดอก เบี้ยโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.98 ต่อปี สำหรับอายุเงินกู้โดยเฉลี่ย 5 ปี เมื่อหักค่าธรรมเนียมในการขอชำระ หนี้คืนก่อนครบกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้วจะทำให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สามารถ ลดต้นทุนการกู้เงินได้ประมาณร้อยละ 1.7 ต่อปี ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 2.550 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 637.50 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 พฤศจิกายน 2537--