ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนน้ำบาดาล แต่โดยที่ยังมีปัญหาข้อกฎหมายและรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำบาดาลได้ผลสมบูรณ์แบบ จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แล้วนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
1. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย (การประปานครหลวง การประปาภูมิภาค) รับไปพิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำประปาเหลือใช้ โดยให้มีการควบคุมปริมาณการใช้น้ำบาดาลไม่ให้เกิน 1.1 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน และให้มีการใช้น้ำประปามากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวงสามารถให้บริการน้ำประปาได้แล้ว
2. การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนจะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน ทั้งนี้ เพราะโดยปกตินั้นการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนกระทำได้โดยกฎหมาย แม้ว่าจะสามารถดำเนินการโดยการแปรญัตติในวาระที่ 2 ได้ แต่เรื่องนี้มิได้เสนอไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2543 ซึ่งได้ผ่านวาระที่ 1 ไปแล้ว การเสนอเรื่องนี้ในวาระที่ 2 โดยการแปรญัตติในขณะที่ยังไม่มีระเบียบของกระทรวงการคลังในเรื่องการเบิกจ่ายรองรับ รัฐสภาอาจไม่เห็นชอบ
3. การตั้งกองทุนหมุนเวียน นั้น โดยปกติเป็นการจัดตั้งงบประมาณให้เป็นปี ๆ ไป แต่ตามโครงการนี้เป็นการไม่ส่งรายได้เข้ารัฐ แต่ให้นำรายได้ส่งเข้ากองทุนไปเลย ซึ่งรัฐสภาอาจไม่เห็นชอบ เพราะรัฐสภาไม่มีโอกาสรับรู้รายได้ รายจ่าย ของรัฐในส่วนนี้
4. รูปแบบของกองทุนหมุนเวียนตามโครงการนี้น่าจะเป็นเรื่องชั่วคราว หลักการสำคัญคือ ต้องระงับการใช้น้ำบาดาลให้ได้ หลักการที่ว่าใครใช้น้ำบาดาลต้องเป็นผู้จ่าย PPP (Polluter Pay Principle) เมื่อมีการอัดน้ำลงไปใต้ดินคนใช้น้ำบาดาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น ๆ ดังนั้น จึงควรเพิ่มอัตราค่าน้ำบาดาลจนใกล้เคียงกับอัตราค่าน้ำประปาเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้น้ำเปลี่ยนมาใช้น้ำประปาทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กรกฎาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนน้ำบาดาล แต่โดยที่ยังมีปัญหาข้อกฎหมายและรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำบาดาลได้ผลสมบูรณ์แบบ จึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แล้วนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
1. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย (การประปานครหลวง การประปาภูมิภาค) รับไปพิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำประปาเหลือใช้ โดยให้มีการควบคุมปริมาณการใช้น้ำบาดาลไม่ให้เกิน 1.1 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน และให้มีการใช้น้ำประปามากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวงสามารถให้บริการน้ำประปาได้แล้ว
2. การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนจะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน ทั้งนี้ เพราะโดยปกตินั้นการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนกระทำได้โดยกฎหมาย แม้ว่าจะสามารถดำเนินการโดยการแปรญัตติในวาระที่ 2 ได้ แต่เรื่องนี้มิได้เสนอไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2543 ซึ่งได้ผ่านวาระที่ 1 ไปแล้ว การเสนอเรื่องนี้ในวาระที่ 2 โดยการแปรญัตติในขณะที่ยังไม่มีระเบียบของกระทรวงการคลังในเรื่องการเบิกจ่ายรองรับ รัฐสภาอาจไม่เห็นชอบ
3. การตั้งกองทุนหมุนเวียน นั้น โดยปกติเป็นการจัดตั้งงบประมาณให้เป็นปี ๆ ไป แต่ตามโครงการนี้เป็นการไม่ส่งรายได้เข้ารัฐ แต่ให้นำรายได้ส่งเข้ากองทุนไปเลย ซึ่งรัฐสภาอาจไม่เห็นชอบ เพราะรัฐสภาไม่มีโอกาสรับรู้รายได้ รายจ่าย ของรัฐในส่วนนี้
4. รูปแบบของกองทุนหมุนเวียนตามโครงการนี้น่าจะเป็นเรื่องชั่วคราว หลักการสำคัญคือ ต้องระงับการใช้น้ำบาดาลให้ได้ หลักการที่ว่าใครใช้น้ำบาดาลต้องเป็นผู้จ่าย PPP (Polluter Pay Principle) เมื่อมีการอัดน้ำลงไปใต้ดินคนใช้น้ำบาดาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น ๆ ดังนั้น จึงควรเพิ่มอัตราค่าน้ำบาดาลจนใกล้เคียงกับอัตราค่าน้ำประปาเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้น้ำเปลี่ยนมาใช้น้ำประปาทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กรกฎาคม 2542--