ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบผลการดำเนินงานโครงการทางด่วนสายแจ้ง วัฒนะ - บางพูน - บางไทร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีคำสั่งที่ 26/2538 สั่ง ณ วันที่ 7 ก.ย. 38 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินโครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ - บางพูน - บางไทร ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ และผู้ว่าการการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่
1) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการร่างขอบเขตของ โครงการและเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องมีในสัญญาร่วมงานหรือดำเนินการ
2) กำหนดหลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา
3) พิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ
4) พิจารณาดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามที่เห็นสมควร
2. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด ร่วมกับบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ จำกัด และบริษัท Mott MacDonald จำกัด เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำข้อกำหนดขอบเขตของโครงการในการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำ เนินโครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ - บางพูน - บางไทร และเพื่อทำการประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อ เสนอเข้าร่วมงานหรือดำเนินโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 38
3. คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินโครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ
- บางพูน - บางไทร ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 38 และวัน ที่ 14 ก.ย. 38 เพื่อพิจารณาร่างข้อกำหนดขอบเขตของโครงการในการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำ เนินโครงการฯ และร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินโครงการ ในขณะเดียวกันก็ได้ มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ระหว่างการทางพิ เศษแห่งประเทศไทย และ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เสนอสำนักงานอัยการสูงสุดพิ จารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับความผูกพันของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต่อบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาดังกล่าว
ขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาวินิจฉัยข้อหารือของการทางพิเศษแห่งประ เทศไทย
4. สำหรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่ให้การทางพิ เศษแห่งประเทศไทยพิจารณาว่าการใช้วิธีจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ในกรณีที่กระทรวง การคลังไม่ต้องค้ำประกันกับกรณีมีเงื่อนไขให้กระทรวงการคลังค้ำประกันนั้น จะมีวงเงินค่าก่อสร้าง แตกต่างกันหรือไม่เพียงใด วิธีใดจะเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อราชการนั้น การทางพิเศษแห่งประ เทศไทยพิจารณาแล้วสรุปความเห็นได้ ดังนี้
กรณีดำเนินโครงการโดยวิธีจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) โดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกันนั้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมของผู้รับจ้างดำเนินโครงการนี้ มีอัตราลดลงเป็นผล ให้ต้นทุนทางการเงิน (Financing Cost) ลดลง ซึ่งจะทำให้มูลค่าโครงการ (ไม่รวมค่าที่ดิน) เท่า กับ 19,400 ล้านบาท (กำหนดให้อัตราดอกเบี้ย = 11% และมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) เท่ากับ 13.25% โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 651 ล้านบาท เมื่อนำมาพิจารณาเปรียบ เทียบกับกรณีที่กระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกันนั้น จะเป็นผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น เนื่องจากผู้รับ จ้างดำเนินการโครงการจะต้องจัดหาเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ทำให้มูลค่าโครงการ (ไม่รวมค่าที่ ดิน) เพิ่มสูงขึ้นเป็น 19,728 บาท (กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 12%) และมีอัตราผลตอบแทน ทางการเงิน (FIRR) เท่ากับ 12.61% หรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 333 ล้านบาท ดังนั้น หากรัฐ บาลต้องการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการโดยวิธีที่เหมาะสมและเป็นประ โยชน์ต่อราชการสูงสุด ก็ควรพิจารณาให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเพราะจะทำให้มูลค่าโครง การลดลง และควรพิจารณาให้เงินอุดหนุนค่าดอกเบี้ยในระยะแรกของโครงการเพราะจะทำให้ผลตอบ แทนของโครงการอยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การลงทุน
เพื่อให้การดำเนินงานเรื่องนี้เร็วขึ้น คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจมอบให้รองนายกรัฐ มนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) พิจารณาสัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ที่การทางพิเศษแห่งประเทศ ไทยทำไว้กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุดให้คำปรึกษาใน เรื่องนี้ แล้วเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 2 ตุลาคม 2538--
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบผลการดำเนินงานโครงการทางด่วนสายแจ้ง วัฒนะ - บางพูน - บางไทร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีคำสั่งที่ 26/2538 สั่ง ณ วันที่ 7 ก.ย. 38 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินโครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ - บางพูน - บางไทร ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ และผู้ว่าการการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่
1) พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการร่างขอบเขตของ โครงการและเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องมีในสัญญาร่วมงานหรือดำเนินการ
2) กำหนดหลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา
3) พิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ
4) พิจารณาดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามที่เห็นสมควร
2. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด ร่วมกับบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ จำกัด และบริษัท Mott MacDonald จำกัด เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำข้อกำหนดขอบเขตของโครงการในการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำ เนินโครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ - บางพูน - บางไทร และเพื่อทำการประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อ เสนอเข้าร่วมงานหรือดำเนินโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 38
3. คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินโครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ
- บางพูน - บางไทร ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 38 และวัน ที่ 14 ก.ย. 38 เพื่อพิจารณาร่างข้อกำหนดขอบเขตของโครงการในการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำ เนินโครงการฯ และร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินโครงการ ในขณะเดียวกันก็ได้ มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ระหว่างการทางพิ เศษแห่งประเทศไทย และ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เสนอสำนักงานอัยการสูงสุดพิ จารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับความผูกพันของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต่อบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาดังกล่าว
ขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาวินิจฉัยข้อหารือของการทางพิเศษแห่งประ เทศไทย
4. สำหรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่ให้การทางพิ เศษแห่งประเทศไทยพิจารณาว่าการใช้วิธีจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ในกรณีที่กระทรวง การคลังไม่ต้องค้ำประกันกับกรณีมีเงื่อนไขให้กระทรวงการคลังค้ำประกันนั้น จะมีวงเงินค่าก่อสร้าง แตกต่างกันหรือไม่เพียงใด วิธีใดจะเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อราชการนั้น การทางพิเศษแห่งประ เทศไทยพิจารณาแล้วสรุปความเห็นได้ ดังนี้
กรณีดำเนินโครงการโดยวิธีจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) โดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกันนั้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมของผู้รับจ้างดำเนินโครงการนี้ มีอัตราลดลงเป็นผล ให้ต้นทุนทางการเงิน (Financing Cost) ลดลง ซึ่งจะทำให้มูลค่าโครงการ (ไม่รวมค่าที่ดิน) เท่า กับ 19,400 ล้านบาท (กำหนดให้อัตราดอกเบี้ย = 11% และมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) เท่ากับ 13.25% โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 651 ล้านบาท เมื่อนำมาพิจารณาเปรียบ เทียบกับกรณีที่กระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกันนั้น จะเป็นผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น เนื่องจากผู้รับ จ้างดำเนินการโครงการจะต้องจัดหาเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ทำให้มูลค่าโครงการ (ไม่รวมค่าที่ ดิน) เพิ่มสูงขึ้นเป็น 19,728 บาท (กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 12%) และมีอัตราผลตอบแทน ทางการเงิน (FIRR) เท่ากับ 12.61% หรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 333 ล้านบาท ดังนั้น หากรัฐ บาลต้องการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการโดยวิธีที่เหมาะสมและเป็นประ โยชน์ต่อราชการสูงสุด ก็ควรพิจารณาให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเพราะจะทำให้มูลค่าโครง การลดลง และควรพิจารณาให้เงินอุดหนุนค่าดอกเบี้ยในระยะแรกของโครงการเพราะจะทำให้ผลตอบ แทนของโครงการอยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การลงทุน
เพื่อให้การดำเนินงานเรื่องนี้เร็วขึ้น คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจมอบให้รองนายกรัฐ มนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) พิจารณาสัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ที่การทางพิเศษแห่งประเทศ ไทยทำไว้กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุดให้คำปรึกษาใน เรื่องนี้ แล้วเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 2 ตุลาคม 2538--