ทำเนียบรัฐบาล--18 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการปกครองของเมืองพัทยาให้มีฐานะเทียบได้กับเทศบาลนคร เพื่อสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารยิ่งขึ้น โดยเทียบเคียงได้กับรูปแบบของเทศบาลนครด้วยการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ
1.1 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1.2 ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
1.3 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ เงินงบประมาณ ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างของเมืองพัทยาไปเป็นของเทศบาลนครพัทยา
2. ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ
2.1 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.2 เพิ่มเติมมาตรา 11 ทวิ ให้ท้องถิ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ และมีราษฎรตั้งแต่ ห้าหมื่นคนขึ้นไป จัดตั้งเป็นเทศบาลนครได้โดยไม่ต้องนำเกณฑ์เฉลี่ยความหนาแน่นของราษฎรตามมาตรา 11 มาใช้บังคับ (ปัจจุบันเทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นที่มีราษฎราตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป และราษฎรอยู่หนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าสามพันคนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร)
2.3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 56 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาลนครให้มีอำนาจครอบคลุมภารกิจเช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ที่เมืองพัทยามีอยู่เดิม
3. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครพัทยา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ
3.1 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 พ.ศ. .... ใช้บังคับ
3.2 จัดตั้งเทศบาลนครพัทยาขึ้นตามเขตพื้นที่ของเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีชื่อว่า "เทศบาลนครพัทยา"
ร่างพระราชบัญญัติ และร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ส่วนร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 ให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ในเรื่องนี้ ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการปกครองของเมืองพัทยาให้มีฐานะเทียบได้กับเทศบาลนคร เพื่อสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารยิ่งขึ้น โดยเทียบเคียงได้กับรูปแบบของเทศบาลนครด้วยการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ
1.1 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1.2 ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
1.3 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ เงินงบประมาณ ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างของเมืองพัทยาไปเป็นของเทศบาลนครพัทยา
2. ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ
2.1 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.2 เพิ่มเติมมาตรา 11 ทวิ ให้ท้องถิ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ และมีราษฎรตั้งแต่ ห้าหมื่นคนขึ้นไป จัดตั้งเป็นเทศบาลนครได้โดยไม่ต้องนำเกณฑ์เฉลี่ยความหนาแน่นของราษฎรตามมาตรา 11 มาใช้บังคับ (ปัจจุบันเทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นที่มีราษฎราตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป และราษฎรอยู่หนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าสามพันคนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร)
2.3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 56 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาลนครให้มีอำนาจครอบคลุมภารกิจเช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ที่เมืองพัทยามีอยู่เดิม
3. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครพัทยา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ คือ
3.1 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 พ.ศ. .... ใช้บังคับ
3.2 จัดตั้งเทศบาลนครพัทยาขึ้นตามเขตพื้นที่ของเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีชื่อว่า "เทศบาลนครพัทยา"
ร่างพระราชบัญญัติ และร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ส่วนร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 ให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ในเรื่องนี้ ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540--