ทำเนียบรัฐบาล--15 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบข้อเสนอของทบวงมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. ร่างข้อตกลงระหว่างไทยกับศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจแก้ไขแล้ว
2. ร่างกฎบัตร (Charter) ของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ซึ่งผู้แทนสมาชิกก่อตั้งได้ร่วมลงนามแล้ว
3. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. .... ซึ่งผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
4. ทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้เสนอร่างข้อตกลงฯ ตามข้อ 1 และร่างกฎบัตรฯ ตามข้อ 2 เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ตามข้อ 3 เพื่ออนุวัติการไปยังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
อนึ่ง สาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1. ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) จัดทำขึ้นเพื่อขอให้รัฐบาลไทยให้สิทธิแก่ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ในฐานะเป็นศูนย์ฝึกอบรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งในประเทศไทยและรับรองฐานะเป็นนิติบุคคล อำนวยความสะดวกในเรื่องสิทธิ สิทธิประโยชน์ การยกเว้นจากข้อจำกัด เช่น เรื่องภาษีอากร ภาษีเงินได้ของชาวต่างประเทศ อาจารย์ชาวต่างประเทศ และนักศึกษาที่มาศูนย์ฯ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การออกวีซ่า เป็นต้น ตามที่จำเป็นในการฝึกอบรม
2. กฎบัตรศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมระหว่างประเทศ โดยมีประเทศผู้ก่อตั้ง 7 ประเทศ ได้มาร่วมลงนามก่อตั้ง อันได้แก่ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพพม่า สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และให้การศึกษาเพื่อที่จะช่วยเหลือประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการจัดการป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องของตนให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สังคมส่วนรวม โดยคำนึงถึงมุมมองของวัฒนธรรม การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบประเพณีกับความรู้และสถาบันที่ทันสมัย รวมทั้งการปลูกฝังให้เข้าใจสิทธิและความรับผิดชอบที่มีต่อทรัพยากรป่าไม้ให้หยั่งลึกมากขึ้น และ
3. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. .... มุ่งเพื่อคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในประเทศไทย และให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงระหว่างรัฐบาลและศูนย์ เกี่ยวกับสำนักงานของศูนย์ฯ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ธันวาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบข้อเสนอของทบวงมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. ร่างข้อตกลงระหว่างไทยกับศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจแก้ไขแล้ว
2. ร่างกฎบัตร (Charter) ของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ซึ่งผู้แทนสมาชิกก่อตั้งได้ร่วมลงนามแล้ว
3. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. .... ซึ่งผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
4. ทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้เสนอร่างข้อตกลงฯ ตามข้อ 1 และร่างกฎบัตรฯ ตามข้อ 2 เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ตามข้อ 3 เพื่ออนุวัติการไปยังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
อนึ่ง สาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1. ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) จัดทำขึ้นเพื่อขอให้รัฐบาลไทยให้สิทธิแก่ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ในฐานะเป็นศูนย์ฝึกอบรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งในประเทศไทยและรับรองฐานะเป็นนิติบุคคล อำนวยความสะดวกในเรื่องสิทธิ สิทธิประโยชน์ การยกเว้นจากข้อจำกัด เช่น เรื่องภาษีอากร ภาษีเงินได้ของชาวต่างประเทศ อาจารย์ชาวต่างประเทศ และนักศึกษาที่มาศูนย์ฯ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การออกวีซ่า เป็นต้น ตามที่จำเป็นในการฝึกอบรม
2. กฎบัตรศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมระหว่างประเทศ โดยมีประเทศผู้ก่อตั้ง 7 ประเทศ ได้มาร่วมลงนามก่อตั้ง อันได้แก่ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพพม่า สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และให้การศึกษาเพื่อที่จะช่วยเหลือประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการจัดการป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องของตนให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สังคมส่วนรวม โดยคำนึงถึงมุมมองของวัฒนธรรม การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบประเพณีกับความรู้และสถาบันที่ทันสมัย รวมทั้งการปลูกฝังให้เข้าใจสิทธิและความรับผิดชอบที่มีต่อทรัพยากรป่าไม้ให้หยั่งลึกมากขึ้น และ
3. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. .... มุ่งเพื่อคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในประเทศไทย และให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงระหว่างรัฐบาลและศูนย์ เกี่ยวกับสำนักงานของศูนย์ฯ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ธันวาคม 2541--