ทำเนียบรัฐบาล--4 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการแก้ปัญหาในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ขอบเขตความรับผิดชอบ
1.1 ระดับนโยบาย งานด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสียอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
1.2 ระดับปฏิบัติ
- ในหลักการ ควรให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการก่อสร้างและดูแลบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียของชุมชนให้มากที่สุด
- ให้หน่วยงานท้องถิ่นที่สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียด้วยตัวเองได้เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีกรมโยธาธิการ หรือองค์การจัดการน้ำเสีย เป็นที่ปรึกษา
- หน่วยงานท้องถิ่นที่ยังไม่พร้อมดำเนินการ สามารถเสนอขอให้กรมโยธาธิการ หรือองค์การจัดเก็บน้ำเสียดำเนินงานแทนได้ โดยใช้หลักแบ่งงานกันทำ ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านบุคลากร และขีดความสามารถในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยปฏิบัติ
- กรมควบคุมมลพิษ ควรเป็นหน่วยงานกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนงานที่กำหนดไว้ แทนที่จะเป็นหน่วยปฏิบัติเช่นในปัจจุบัน รวมทั้งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการให้บริการและอัตราค่าธรรมเนียม
2. สัดส่วนเงินลงทุนและการบริหารจัดการเมื่อโครงการแล้วเสร็จ
ในหลักการควรใช้หลัก ผู้สร้างปัญหามลพิษ จะต้องเป็นผู้รับภาระในการบำบัดและกำจัดมลพิษจึงควรรับผิดชอบเงินลงทุนค่าก่อสร้างและบำรุงรักษาร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาลกลาง หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชน โดยควรมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.1 ค่าก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ในหลักการหน่วยงานท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมรับภาระค่าก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียให้มากที่สุดเท่าที่ฐานะการเงินจะเอื้ออำนวย ซึ่งควรกำหนดสัดส่วนที่หน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถรับภาระได้ให้ชัดเจน และนำเสนอให้พิจารณาพร้อมกับการขออนุมัติโครงการ โดยในส่วนที่หน่วยงานท้องถิ่นรับผิดชอบนั้น อาจอยู่ในรูปการจัดหาที่ดินโครงการ
2.2 ค่าดูแลและบำรุงรักษา รับผิดชอบโดยหน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนผู้ใช้บริการโดยดำเนินการ ดังนี้
- หน่วยงานท้องถิ่นจัดเก็บค่าธรรมเนียมน้ำเสีย ซึ่งอย่างน้อยควรให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งอาจขอความร่วมมือจากการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรวมอยู่ในใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปา โดยมีกรมควบคุมมลพิษเป็นองค์กรกำกับดูแล
- โครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมน้ำเสีย ควรแตกต่างกันตามต้นทุนการให้บริการของแต่ละพื้นที่
- หน่วยงานท้องถิ่น ควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ และยินยอมที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมน้ำเสียเป็นการล่วงหน้า
3. การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น กรมโยธาธิการ หน่วยงานท้องถิ่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมเจ้าท่า กรมอนามัย และกรมควบคุมมลพิษ ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และกำหนดมาตรการจูงใจ ให้ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขบทลงโทษ ค่าปรับให้มีความเข้มงวดรัดกุม และอยู่ในอัตราสูงขึ้น
- กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานท้องถิ่นพิจารณากำหนดเขตปลอดการปลูกสร้างอาคารและเขตควบคุมอาคารริมฝั่งคลอง และแม่น้ำตามความเหมาะสม
4. การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ควรกำหนดแนวทางและรูปแบบการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในการก่อสร้างและหรือบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนของรัฐ โดยคำนึงถึงค่าบริการที่เรียกเก็บจากประชาชน และคุณภาพของบริการมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้แก่ภาครัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา) วันที่ 4 ตุลาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการแก้ปัญหาในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ขอบเขตความรับผิดชอบ
1.1 ระดับนโยบาย งานด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสียอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
1.2 ระดับปฏิบัติ
- ในหลักการ ควรให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการก่อสร้างและดูแลบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียของชุมชนให้มากที่สุด
- ให้หน่วยงานท้องถิ่นที่สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียด้วยตัวเองได้เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีกรมโยธาธิการ หรือองค์การจัดการน้ำเสีย เป็นที่ปรึกษา
- หน่วยงานท้องถิ่นที่ยังไม่พร้อมดำเนินการ สามารถเสนอขอให้กรมโยธาธิการ หรือองค์การจัดเก็บน้ำเสียดำเนินงานแทนได้ โดยใช้หลักแบ่งงานกันทำ ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านบุคลากร และขีดความสามารถในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยปฏิบัติ
- กรมควบคุมมลพิษ ควรเป็นหน่วยงานกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนงานที่กำหนดไว้ แทนที่จะเป็นหน่วยปฏิบัติเช่นในปัจจุบัน รวมทั้งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการให้บริการและอัตราค่าธรรมเนียม
2. สัดส่วนเงินลงทุนและการบริหารจัดการเมื่อโครงการแล้วเสร็จ
ในหลักการควรใช้หลัก ผู้สร้างปัญหามลพิษ จะต้องเป็นผู้รับภาระในการบำบัดและกำจัดมลพิษจึงควรรับผิดชอบเงินลงทุนค่าก่อสร้างและบำรุงรักษาร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาลกลาง หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชน โดยควรมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.1 ค่าก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ในหลักการหน่วยงานท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมรับภาระค่าก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียให้มากที่สุดเท่าที่ฐานะการเงินจะเอื้ออำนวย ซึ่งควรกำหนดสัดส่วนที่หน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถรับภาระได้ให้ชัดเจน และนำเสนอให้พิจารณาพร้อมกับการขออนุมัติโครงการ โดยในส่วนที่หน่วยงานท้องถิ่นรับผิดชอบนั้น อาจอยู่ในรูปการจัดหาที่ดินโครงการ
2.2 ค่าดูแลและบำรุงรักษา รับผิดชอบโดยหน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนผู้ใช้บริการโดยดำเนินการ ดังนี้
- หน่วยงานท้องถิ่นจัดเก็บค่าธรรมเนียมน้ำเสีย ซึ่งอย่างน้อยควรให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งอาจขอความร่วมมือจากการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรวมอยู่ในใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปา โดยมีกรมควบคุมมลพิษเป็นองค์กรกำกับดูแล
- โครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมน้ำเสีย ควรแตกต่างกันตามต้นทุนการให้บริการของแต่ละพื้นที่
- หน่วยงานท้องถิ่น ควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ และยินยอมที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมน้ำเสียเป็นการล่วงหน้า
3. การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น กรมโยธาธิการ หน่วยงานท้องถิ่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมเจ้าท่า กรมอนามัย และกรมควบคุมมลพิษ ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และกำหนดมาตรการจูงใจ ให้ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขบทลงโทษ ค่าปรับให้มีความเข้มงวดรัดกุม และอยู่ในอัตราสูงขึ้น
- กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานท้องถิ่นพิจารณากำหนดเขตปลอดการปลูกสร้างอาคารและเขตควบคุมอาคารริมฝั่งคลอง และแม่น้ำตามความเหมาะสม
4. การเพิ่มบทบาทภาคเอกชน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ควรกำหนดแนวทางและรูปแบบการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในการก่อสร้างและหรือบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนของรัฐ โดยคำนึงถึงค่าบริการที่เรียกเก็บจากประชาชน และคุณภาพของบริการมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้แก่ภาครัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา) วันที่ 4 ตุลาคม 2539--