แท็ก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
ประกันสังคม
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--4 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อแก้ไขบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 วรรคหนึ่ง กำหนดให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 74 เพื่อปรับปรุงระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ เพื่อก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และเพิ่มเติมเงื่อนไขการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเมื่อผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย
4. เพิ่มมาตรา 74 ทวิ เพื่อกำหนดคุณสมบัติ จำนวนและอายุของบุตร รวมทั้งหลักเกณฑ์การมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีบิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตน
5. เพิ่มมาตรา 74 ตรี เพื่อกำหนดผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเมื่อผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
6. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76 เพื่อปรับปรุงระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ เพื่อก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และกำหนดทายาทผู้มีสิทธิ
7. เพิ่มมาตรา 76 ทวิ กำหนดให้งดการจ่ายเงินบำนาญชราภาพกรณีผู้รับบำนาญชราภาพได้กลับเป็นผู้ประกันตนอีก และหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพกรณีความเป็นผู้ประกันตนของบุคคลดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
8. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 กำหนดให้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
9. เพิ่มมาตรา 77 ทวิ กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพและประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพในเวลาเดียวกัน
10. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 สิงหาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อแก้ไขบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 วรรคหนึ่ง กำหนดให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 74 เพื่อปรับปรุงระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ เพื่อก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และเพิ่มเติมเงื่อนไขการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเมื่อผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย
4. เพิ่มมาตรา 74 ทวิ เพื่อกำหนดคุณสมบัติ จำนวนและอายุของบุตร รวมทั้งหลักเกณฑ์การมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีบิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตน
5. เพิ่มมาตรา 74 ตรี เพื่อกำหนดผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเมื่อผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
6. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76 เพื่อปรับปรุงระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ เพื่อก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และกำหนดทายาทผู้มีสิทธิ
7. เพิ่มมาตรา 76 ทวิ กำหนดให้งดการจ่ายเงินบำนาญชราภาพกรณีผู้รับบำนาญชราภาพได้กลับเป็นผู้ประกันตนอีก และหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพกรณีความเป็นผู้ประกันตนของบุคคลดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
8. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 กำหนดให้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
9. เพิ่มมาตรา 77 ทวิ กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพและประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพในเวลาเดียวกัน
10. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 สิงหาคม 2541--